รูปแบบสื่อมัลติมีเดียเพื่อการสร้างสรรค์ศิลปะนิทรรศการ
Main Article Content
Abstract
ในปัจจุบันไม่อาจจะปฏิเสธได้ว่าเทคโนโลยีเข้ามาเป็นปัจจัยสำคัญส่วนหนึ่งในการดำรงชีวิตมนุษย์ การเข้ามาของเทคโนโลยีนั้น ไม่เว้นแม้แวดวงของการเรียนการสอน ศิลปะวิชาการ ที่เห็นได้ชัดเช่นในรูปนิทรรศการ เพื่อสามารถบอกเรื่องราวให้กระชับเข้าใจกระจ่างภายในระยะเวลารวดเร็วในการชม เป็นเครื่องสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตนเอง นิทรรศการที่ดีนั้นต้องรู้แนวทางและหลักการองค์ประกอบต่างๆ เพื่อออกแบบนิทรรศการ ซึ่งนิทรรศการที่ดีจะให้ความรู้ความเข้าใจ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านอารมณ์และความรู้สึกการเปลี่ยนแปลงเจตคติ หรือการตระหนักเห็นคุณค่าเช่นเดียวกันกับนิทรรศการศิลปะ ซึ่งจะจัดแสดงผลงานในด้านทัศนศิลป์ จิตรกรรม ประติมากรรม สื่อผสมงานหรืองานด้านออกแบบ สื่อมัลติมีเดียถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในงานหรือนำไปต่อยอดในลักษณะจัดแสดงโดยใช้เทคโนโลยี เพื่อสร้างความงาม และบทบาทสื่อมัลติมีเดียด้านอุปกรณ์และสถานที่ ทั้ง 2 ส่วนมีการผสมผสานกันอย่างกลมกลืน เป็นไปเพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้กับงานศิลปะและสุนทรียภาพ ความประทับใจสร้างความบันเทิง ให้แก่ผู้ชม ซึ่งในบทความวิชาการนี้ได้นำเสนอรูปแบบสื่อมัลติมีเดียเพื่อการสร้างสรรค์ศิลปะนิทรรศการ โดยมุ่งอธิบายประเด็น 1) ความสำคัญสื่อมัลติมีเดียในนิทรรศการศิลปะ 2) สื่อมัลติมีเดียใช้เพื่อด้านข้อมูลหรือเรื่องราว 3) สื่อมัลติมีเดียใช้เพื่อด้านอุปกรณ์ 4) หลักการออกแบบนิทรรศการศิลปะ 5) การเตรียมงานและการผลิตสื่อในการจัดทำนิทรรศการศิลปะ 6) ตัวอย่างภาพแสดงการจัดนิทรรศการศิลปะ ซึ่งเป็นข้อมูลที่สามารถนำแนวคิดต่างใช้เพื่อการเผยแพร่และสร้างสรรค์ผลงานในการจัดนิทรรศการด้านต่างๆ ได้
At present, it cannot be denied that technologies are important factors among human lives. The advent of technologies have played influential roles in communications and information. Also, it is beneficial in the field of instruction and academic circles as well as support the arrival of technologies in the development of economy, instructions, art and academics. It can be obviously seen in a form of art exhibition which can tell the whole story clearly and concisely in a quick glance. Thus, it is a self-learning support that meets individual differences of audiences. Therefore, to hold a good exhibition in any field, it is a great way to initially know principles and elements to design an exhibition. A good exhibition will be able to provide knowledge, understanding, behavioral and emotional adjustment, attitude changes or awareness of values. Likewise, art exhibitions also exhibit visual arts, painting, sculptures, mixed media or design works. Multimedia will be used as a part of an exhibition or used in form of presentation using technology to create aesthetics and support creation of works. Also, it will combine elements of images, light, colors and sound in two common characteristics as follows: 1) the roles of multimedia using as elements of information or work pieces and 2) the role of multimedia in part of devices and places. These two characteristics will be blended harmoniously in order to complete artistic works and aesthetics as well as make an impression and entertainment to audiences. This research presents a form of multimedia for creation of an art exhibition by focusing on following issues: 1) Importance of multimedia in an art exhibition 2) Multimedia using in part of information or stories or 3) Multimedia using for devices 4) Design principles of an art exhibition 5) Preparation and media production in an art exhibition 6) Photo samples of an art exhibition.
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
จักรกฤษณ์ หมั่นวิชาและคณะ. (2559). การประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยี QR Code ในพิพิธภัณฑ์เมืองหาดใหญ่Applications QR Code Technology in the Museum of Hatyai city. วารสารการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 7. 9-108I-P.
พัชรินทร์ เพิ่มฉลาด. (2557). การใช้สื่อจัดแสดงมัลติมีเดียในงานนิทรรศการ. เอกสารประกอบการบรรยายหัวข้อมัลติมีเดียในนิทรรศการ. คณะศิลปกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.
วรรณพร ชูจิตารมย์ (2559). การนำเทคโนโลยี AR มาใช้ในการสร้างภาพ. อาร์เอสยู วิสดอม ทีวี (RSU WisdomTV) ทีวีแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต, [Online]. http://www.rsutv. สืบค้น 29 ธันวาคม 2559.
แสงสุริยา วราห์คำ. (2555). หลักการจัดนิทรรศการ. [Online]. http://sanghnung. blogspot.com. สืบค้น 12 กันยายน 2559.
Biennale di Venezia. (2015) 56th International Art Exhibition All the World’s Futures, Litopat. Verona for Marsilio Editoris. p.a., in Venice First edition May. [August 2015]
Biennale di Venezia. (2015). Asenale [Online] Available: http://biennaledivene ziaarte.blogspot .com. [August 2015]
Drawing in space – a maze, 2013, threads, black-light, [Online]. Available: http://www.beingintheworld.net/artist/jeongmoon-choi
Interface and innovation (2012). Multimedia. [Online] Available : https://claireyross. WordPress. com /2012. [October 2016]
Kutlug Ataman. (2015). Venice Art Biennale. [Online]. Available: www.images.blip.tv [August 2015]
Museum Arts Dallas. (2014). Oncor Peppers Ghost Exhibit [Online]. Avalable : https://www.You tube.com /Watch=WsVW2uNL16I. [August t2015]
Research and promotion. (2015). Identity. [Online] Available: www.header di sezione La Biennale EN.com. [August 2016]
T. Sookpatdhee. (2015). Looking Through Media and Multimedia in La Biennale 2015 Contemporary Art Exhibition toward Inspiration of Aesthetics of Exhibition,International e-learning conference the 11 on Humanities and Social Sciences, Khonkaen University, Thailand.
Den Haag. (2016). Wonderkamers/Gemeentemuseum [Online]. Available: http://entertainment designer.com /news/museum [May 2016]