แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของกำนันผู้ใหญ่บ้าน ในเขตพื้นที่ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ภาณุพงศ์ ศิริ
มาลิษา โกมลฐิติ
ธนิสา แดงสี
นันทวัฒน์ เม่นมงกุฎ
วรพงศ์ แสงผัด

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของของกำนันผู้ใหญ่บ้านในเขตพื้นที่ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของของกำนันผู้ใหญ่บ้านในเขตพื้นที่ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด อาชีพและขนาดของชุมชน กลุ่มตัวอย่างการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนในเขตพื้นที่ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 381 คน โดยดำเนินการสุ่มแบบ แบ่งชั้นภูมิ ตามขนาดของชุมชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .93 วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t และ การทดสอบค่า F

ผลการวิจัยพบว่า(1)  ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของกำนันผู้ใหญ่บ้านในเขตพื้นที่ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ทั้งด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมคติ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา และด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล อยู่ในระดับปานกลาง และ โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง  )  ความคิดเห็นของประชาชนในเขตพื้นที่พบว่า (2) มีเพศ ระดับการศึกษาสูงสุด และขนาดของชุมชนต่างกันมีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของกำนันผู้ใหญ่บ้าน ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมคติ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา และด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล และโดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ (3) สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน กับผลการศึกษาเชิงปริมาณ ทั้งภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงรายด้านทั้ง 4 ด้านและโดยภาพรวม การวิจัยครั้งนี้มีข้อแนะนำที่ได้จากการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ บทบาทของกำนันผู้ใหญ่บ้านที่ควรพัฒนาและปรับปรุงให้ดีขึ้น คือ   การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เพื่อบรรลุเป้าหมาย ที่ก่อเกิดประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ

 

 

This study aimed to investigate levels of transformational leadership of subdistrict headmen and village headmen in Bang Sai district in Phra Nakhon Si Ayutthaya province in various aspects such as ideal influences, enhancement of inspirations, intellectual motivations, and consideration of individual. The study examined attitudes of people towards transformational leadership of these leaders. The mixed-method was used. Findings reveal that transformational leadership levels of subdistrict headmen and village headmen in Bang Sai district in Phra Nakhon Si Ayutthaya province was in the medium level. The study suggested an enhancement and improvement of the roles of subdistrict headmen and village headmen. The priority should be given to good governance for achievement of government’s missions and objectives, people’s happiness, and efficiency and worthiness of government’s missions. Other recommendations are a reduction of unnecessary work flows, an improvement of government’s missions to provide better services and meet people’s needs as well as an ongoing job evaluation of leaders.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

ภาณุพงศ์ ศิริ

ปลัดอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

มาลิษา โกมลฐิติ

ผู้อำนวยการหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

ธนิสา แดงสี

อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

นันทวัฒน์ เม่นมงกุฎ

อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

วรพงศ์ แสงผัด

อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

References

กล้วยไม้ ธิพรพรรณ. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลประจำการกับการดำเนินงานของพยาบาลประจำการในโครงการพัฒนา และรับรองคุณภาพในโรงพยาบาล โรงพยาบาลศูนย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต : มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2545.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. “ขอคิดอย่างสร้างสรรค์”, ขอคิดอย่างสร้างสรรค์. http://www.oknation.net/blog/kriengsak. 9 พฤษภาคม, 2545

. “ธรรมรัฐภาคเมือง : บทบาทภาคีเมือง”, รัฐสภาสาร. 46 (9) : 1-13 ; กันยายน, 2541.

งานนโยบายและแผน ที่ว่าการอำเภอบางไทร. แผนพัฒนาอำเภอบางไทร 2557. พระนครศรีอยุธยา : ที่ว่าการอำเภอบางไทร, 2557.

ดรุณี ขันขวา. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารในอำเภอหนองเรือ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่นเขต 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต : มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2551.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. การวัดเจตคติ. อุบลราชธานี : วิทยาออฟเซทการพิมพ์, 2549.

. ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4. อุบลราชธานี : วิทยาออฟเซทการพิมพ์, 2549.

นันทนา บุรีจันทร์. ปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่มีต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาข่อนแก่น เขต 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต : มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2551.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น, 2545.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. การสร้างธรรมาภิบาล (Good Governance) ในสังคมไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2544.

ประเสริฐ สมพงษ์ธรรม. การวิเคราะห์ภาวะผู้นำของศึกษาธิการจังหวัดที่สัมพันธ์กับประสิทธิผลองค์การ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538.

ปริญญา ตันสกุล. ศาสตร์แห่งผู้นำ : หลักธรรม 7 ต้นของคนเป็นผู้นำ. กรุงเทพฯ : จิตจักรวาล, 2550.

พรนพ พุกกะพันธุ์. จริยธรรมทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือ ดร.พรนพ, 2545.

ไพศาล แสนยศบุญเรือง. พฤติกรรมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่สัมพันธ์กับความเป็นผู้บริหารมืออาชีพของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต : มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2549.

มนตรี กนกวารี. รัฐธรรมนูญกับการสร้างธรรมรัฐในองค์กรอิสระ. กรุงเทพฯ : สำนักงาน ศาลรัฐธรรมนูญ, 2547.

รัตติกรณ์ จงวิศาล. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership). กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2544.

. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2545.

รุ่งฤดี พันธุ์ประเสริฐ. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้คุณลักษณะนวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพภาวะผู้นำทางความคิดกับการยอมรับนวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพบริการของหน่วยงานของหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลทั่วไป. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรบัณฑิต : มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2547.

สุกานดา ตนีปยางกูร. วิเคราะห์การใช้ลักษณะภาวะผู้นำ 4 แบบ กับการสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพในโรงเรียน. งานวิจัยภาควิชาบริหารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2542.

สุจิตรา บุณยรัตพันธ์. รายงานการวิจัยประชาชนและธรรมาภิบาล : การสำรวจทัศนคติของคนไทยในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2549.

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. ภาวะผู้นำ : ทฤษฎีและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : บุ๊คลิ๊งค์, 2545.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. ภาวะผู้นำและความขัดแย้ง. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2536.

โสภณ ภูเก้าล้วน. “การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์”, การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. http://www.gotoknow.org/blog/sopone 1. 15 พฤษภาคม, 2550.