อิทธิพลของสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงาน ผ่านความผูกพันต่อองค์การของลูกจ้างสำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

Main Article Content

วรชัย สิงหฤกษ์
วิโรจน์ เจษฏาลักษณ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาอิทธิพลของสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีต่อความผูกพันต่อองค์การของลูกจ้างสำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงานของลูกจ้างสำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของความผูกพันต่อองค์การที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงานของลูกจ้างสำนักพิมพ์ของ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และ (4) เพื่อศึกษาความเป็นตัวแปรกลางของความผูกพันต่อองค์การที่มีอิทธิพลระหว่างสภาพแวดล้อมในการทำงานและประสิทธิภาพการทำงาน ซึ่งการศึกษาวิจัยนี้เป็นรูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากลูกจ้างของสำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า การสนับสนุนจากองค์การการรับรู้ประสิทธิผลความสัมพันธ์และความก้าวหน้าในงานอาชีพ มีอิทธิพลเชิงบวกกับความผูกพันต่อองค์การ อีกทั้งการสนับสนุนจากองค์การและความก้าวหน้าในงานอาชีพมีอิทธิพลเชิงบวกกับประสิทธิภาพในการทำงาน เช่นกัน และได้มีการอภิปรายผล สรุปผล รวมทั้งมีข้อเสนอแนะการวิจัยในอนาคตด้วย

 

 

The Objectives of the study were to (1) To study the influence of the environment in the work on the organizational commitment of the employee of the University Press Sukhothai Thamathirat Open University (2) To study the influence of the environment on the work performance of employees at the University Press Sukhothai Thamathirat Open University (3) The working behaviors of these employees of the University Press Sukhothai Thamathirat Open University and (4) To study the mediator of the organizational commitment to influence the environment and work performance of employees at the University Press Sukhothai Thamathirat Open University.This research is a form of quantitative research. by collecting information from employees of the Press Sukhothai Thamathirat Open university 120. The instrument was a questionnaire Data were analyzed using Descriptive statistics include percentage, average, standard deviation:  And inferential statistics such as multiple regression analysis. The results showed that organizational support. Recognition productive relationship and advance in careers a positive influence on organizational commitment. The organizational support and career advance mention a positive influence on the performance as well, and there has been discussion of the results as well as suggestions for future research

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

วรชัย สิงหฤกษ์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

วิโรจน์ เจษฏาลักษณ์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

References

คะนองยุทธ์ กาญจนกุญ และคณะ 2542. เอกสารการสอนชุดเออร์กอนอมิคส์และจิตวิทยาในการทำงาน. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เปรมจิตร คล้ายเพ็ชร. (2548).“การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ ความยุติธรรมองค์กรที่มีต่อความผูกพันองค์การและความตั้งใจลาออก” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ยุวดี ศิริยทรัพย์. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การความยุติธรรมในองค์การและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของบุคลากรมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ กรณีศึกษา: มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยมหิดล.

รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2548). การจูงใจและการเสริมแรงพฤติกรรมองค์การ. (พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ธรรมสาร

สมิดานันท์ ศรีวาสโนดม และ ณกมล จันทร์สม. (2557). “ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในวิชาชีพของพยาบาลทหารบก กรณีศึกษาเฉพาะโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า”วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยรังสิต.

สุวัฒน์ วัฒนวงศ์. (2547). ประเภทของแรงจูงใจจิตวิทยาเพื่อการฝึกอบรมผู้ใหญ่. (พิมพ์ครั้งที่ 2 ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2544). ทฤษฎีองค์การประสิทธิภาพ, รวมบทความสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา,(กรุงเทพมหานคร :ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พจน์ พจนพาณิชย์กุล. (2556).การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานของบุคคล สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม2558 จากhttps://sites.google.com/site/potarticle/02

เพ็ญวดี ไมยวงษ์. (2553). ความก้าวหน้าในสายอาชีพ.สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2558, จากhttp://elib.coj.go.th/Ebook/ data/ojoc/v.1/doc/071.ppt

Arthur,M.B.,Khapova,S.N.,& Wilderom,C.P.M.(2005).Career success in aboundary less career world. Journal of Organizational Behavior, 26, 177-202.

Baruch, B. (1968). New ways in discipline. New York: Randon House

Eisenberger, R., Huntington, R., Hutchison, S., & Sowa, D. (1986). Perceived Organization Support. Journal of Applied Psychology, 71, 500 – 507.

Mitchell, Terrence R., and Larson, Jane R., Jr. (1987) People in Organization: An Introduction to Organization Behavior 3 rd. Singapore: MaGraw-Hill International Editions,

Robbins, S. P. (2005) Organizational behavior: Concepts, controversies, and applications (11th ed.) Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall

Steers, R., Richard, M., & Porter, W (1979) Motivation and work behavior. (2nd ed.) NewYork: McGraw-Hill