ตัวแปรที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในงานประกันคุณภาพของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับ และวิเคราะห์ตัวแปรที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในงานประกันคุณภาพของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ อาจารย์ และบุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จำนวน 242 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เกี่ยวกับตัวแปรที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในงานประกันคุณภาพ ของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีค่าความเที่ยง 0.86 - 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
การมีส่วนร่วมในงานประกันคุณภาพ ของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.56) และตัวแปรที่ส่งผลต่อต่อการมีส่วนร่วมในงานประกันคุณภาพ ของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประกอบด้วย บรรยากาศองค์การ (X1) แรงจูงใจในการทำงาน(X3) และเจตคติต่อการมีส่วนร่วม (X2) ตามลำดับ โดยมีสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ คือ
Y’ = 0.113 + 0.595 X1 + 0.199X3 + 0.161X2
ส่วน สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ
Z’y = 0.569Z1 + 0.196Z3 + 0.165Z2
The objective of this research was to analyze variables affecting on participation in quality assurance of Valaya Alongkorn Rajabhat University personnel. The sample group consisted of 242 instructors and supporting personnel. The Questionnaire on Variables Affecting on participation in quality assurance of Valaya Alongkorn Rajabhat University Personnel with 5 rating scales were used for data collection. The reliability of the questionnaire were from 0.86 - 0.98. The statistics used in data analysis were mean, standard deviation and stepwise multiple regression analysis.
The research findings were as follows:
The participation in quality assurance of Valaya Alongkorn Rajabhat University personnel, in overall was at high level ( =3.56). The variables affecting on participation in quality assurance of Valaya Alongkorn Rajabhat University personnel were consisted of 3 factors: organization climate (X1) motivation of work (X3) and attitude of participating (X2)
The predicted equation in terms of raw scores were:
Y’ = 0.113 + 0.595 X1 + 0.199X3 + 0.161X2
The predicted equation in terms of standard scores were:
Z’y = 0.569Z1 + 0.196Z3 + 0.165Z2
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2546). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
นงราม เศรษฐพานิช และสุวิมล ว่องวาณิช. (2545). การประกันคุณภาพการศึกษา. หน้า 219-261. ใน ประมวลสาระชุดวิชาการประเมินและการจัดการโครงการประเมิน สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ หน่วยที่ 6-10. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
มานิต บุญประเสริฐ. (2550). รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาภาวะผู้นำในระดับอุดมศึกษา. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. กรุงเทพฯ.
ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 119 ตอนที่ 74 ก. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. (19 ธันวาคม 2545)
สุวิมล ติรกานันท์. (2546). การใช้สถิติในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ : แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Cronbach, L.J. (1990). Essentials of Psychological Testing. 5th ed. New York : Harper Collins.
Davis, Keith & Jonh W. Newstrom. (1989). Human Behavior at Work: Organization Behavior. (8th ed). New York: McGraw-Hill.
Kaiser, Harry M. & Chung, Chongin. (2000). Distribution of generic advertising across
Participating firms. In American Journal of Agricultural Economic. 82: 659-64. (invited paper).
Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Journal of Educational and Psychological Measurement. 30(3): 607–609.
Murgatroyd, S & Morgan, C. (1993). Total Quality Management and The School. Buckingham: Open University.