การพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่สอดคล้องกับท้องถิ่นภาคตะวันออก

Main Article Content

ศิริวัฒน์ จิระเดชประไพ
จำรูญ บริสุทธิ์
ประนอม สุขสวัสดิ์ สุขสวัสดิ์
ยุพิน หงษ์วะชิน
สุวัฒน์ เรืองศิลป์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่สอดคล้องกับท้องถิ่นภาคตะวันออก 2) เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่สอดคล้องกับท้องถิ่นภาคตะวันออก การศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 65 ข้อ และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์กับผู้บริหารการศึกษา ผู้อำนวยการโรงเรียน ศึกษานิเทศก์และครูผู้สอน จำนวน 12 คน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กลุ่มตัวอย่างในภาคตะวันออก 8 จังหวัด คือ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ระยอง จันทบุรี และตราด การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม สอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 450 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)

ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า 1) สภาพปัญหาและปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่สอดคล้องกับท้องถิ่นภาคตะวันออก ด้านชุมชนหรือผู้ปกครอง = 3.07, SD = 0.45 ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ผู้ปกครองเข้าร่วมกิจกรรมกับทางโรงเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3.61 ด้านครู/ผู้บริหาร = 3.29, SD = 0.51 ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ครูจัดกิจกรรมส่งเสริมให้เด็กกล้าแสดงออกมีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3.81 ด้านผู้เรียน = 2.55, SD = 0.53 ความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง ครูให้ความรักและความเมตตาแก่เด็กมีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3.84 ด้านสื่อ/เทคโนโลยีการศึกษา = 3.08, SD = 0.49 ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก มีการใช้เทคโนโลยี เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนอยู่เสมอมีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3.42 ด้านระบบการศึกษา = 3.05, SD = 0.66  ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก การมีส่วนร่วมในชุมชนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3.44 ด้านคุณธรรมและจริยธรรม = 3.48, SD = 0.69 ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ครูเป็นแบบอย่างที่ดีต่อนักเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3.83

            ผลการวิจัยเชิงคุณภาพใช้พบว่า สภาพปัญหาและปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่สอดคล้องกับท้องถิ่นภาคตะวันออก ได้แก่ด้านชุมชนหรือผู้ปกครอง คือรายได้ของผู้ปกครองไม่เพียงพอ/มีหนี้สิน ภาระด้านอาชีพทำให้ไม่มีเวลาดูแลบุตรหลาน และการเข้าถึงชุมชนและองค์กรเนื่องจากต้องไปทำงานเพื่อหาเลี้ยงชีพ ด้านครูหรือผู้บริหาร คือครูหรือผู้บริหารมีภาระงานมากเกินไป/มีการอบรมบ่อย ครูไม่มีเวลาสอนเด็กเนื่องจากการทำงานส่วนตัวและการทำผลงาน และครูไม่ครบวิชาที่สอน/สอนไม่ตรงสาขาวิชา ด้านเด็กนักเรียน คือเด็กขาดความอบอุ่น/ขาดความผูกพันในครอบครัว ผู้ปกครองอายุน้อย/อบรมสั่งสอนดูแลลูกไม่ได้ และความด้อยสมรรถนะทางด้านสติปัญญาของผู้ปกครองเหล่านั้นทำให้เกิดการเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ด้านการใช้เทคโนโลยี คือความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยเด็กรู้เท่าไม่ถึงการณ์จากการเล่นเกม การเข้าถึงข้อมูลหรือเกมที่ทำให้เกิดการพัฒนาตนเอง และขาดการวิเคราะห์และแยกแยะข้อมูลจากเทคโนโลยีจากการไม่สกัดกั้นหรือกลั่นกรอง ด้านระบบการศึกษา คือนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ/การศึกษาของไทยเปลี่ยนแปลงบ่อยทำให้ไม่มีจุดยืน การเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาให้ใหญ่ขึ้นทำให้ระบบข้างล่างเกิดปัญหา และขาดแคลนการผลิตครู/ครูเฉพาะวิชา/ครูที่มีความเชี่ยวชาญ และด้านคุณธรรมและจริยธรรม คือผู้บริหาร ครู นักเรียนขาดคุณธรรมและจริยธรรม การเหินห่างศาสนา และสังคมขาดความสุข 2) แนวทางหรือวิธีการพัฒนาในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่สอดคล้องกับท้องถิ่นภาคตะวันออก ได้แก่ด้านชุมชนหรือผู้ปกครอง คือการสร้างองค์กรให้เป็นที่ศรัทธาของชุมชนหรือค่านิยมใหม่ โรงเรียนเพิ่มกิจกรรมกับชุมชนหรือสร้างความร่วมมือ และจัดส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้ชุมชนหรือผู้ปกครอง ด้านครูหรือผู้บริหาร คือพัฒนาผู้บริหารและครูให้เป็นระบบ ส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกให้เป็นครูมืออาชีพ/โดยเน้นเรื่องจรรยาบรรณ/ความรับผิดชอบ/รักในอาชีพ และจัดครูให้ครบทุกวิชาที่สอน ด้านเด็กนักเรียน คือผู้ปกครองให้ความเอาใจใส่และส่งเสริมให้บุตรหลานของตนมีส่วนร่วมในกิจกรรมของโรงเรียนและชุมชนมากขึ้น นอกจากนี้โรงเรียนควรมีการจัดอบรมคุณธรรมให้กับนักเรียนมากขึ้นด้วย ด้านการใช้เทคโนโลยี คือสร้างความตระหนัก/แนะนำ/ส่งเสริมให้เด็กใช้หลากหลายรูปแบบที่มีประโยชน์ ให้ความรู้/จัดอบรมให้เห็นประโยชน์และโทษของเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และกำกับดูแล/กำหนดระยะเวลาการใช้ ด้านระบบการศึกษา คือการสร้างระบบการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเด็ก/กำหนดเป้าหมายหรือจุดหมายจากบนลงล่างชัดเจน จัดให้มีการสัมมนา/ให้ความรู้ในการพัฒนาระบบการศึกษา และปรับหลักสูตรให้ตรงกับบริบทของท้องถิ่น ด้านคุณธรรมและจริยธรรม คือนำพุทธศาสนามาสอนให้ฝึกปฏิบัติเพิ่มขึ้น/สร้างจิตสำนึกในทางที่ดีตั้งแต่เด็ก การหล่อหลอมด้วยคุณธรรมและจริยธรรมให้เด็กเรียนรู้คู่คุณธรรม และให้ครูสำนึกในหน้าที่ของตนเอง

 

 

The purposes of this research were to: 1) study the circumstances of problems and factors affecting educational quality development which are congruent with the localities of the eastern part 2) decide the educational quality development direction which is congruent with the localities of the eastern part. The researcher used mixed methods of quantitative research and qualitative research. The population of this study were educational personnels working in 8 eastern provinces, namely: Chonburi, Chachoengsao, Nakhonnayok, Prachinburi, Srakaew, Rayong, Chanthaburi, and Trad. The sample used for qualitative research was comprised of 450 educational personnels obtained by simple random sampling. The tool used for quantitative data collection was a 5 levels rating scale questionnaire. The statistics used for data analysis were mean and standard deviation. On the other hand, the sample for qualitative research were comprised of 12 educational administrators, school administrators, and teachers. The tool used for qualitative data collection was a series of in-depth interviews.

The results of the study were as follows:

1)       The findings of quantitative research revealed that the circumstances of

problems and factors affected educational quality development which were congruent with the localities of the eastern part were as follows: a. Pertaining to communities and parents aspect, = 3.07, S.D. = 0.45. The opinions were at a high level. The highest mean of parents participation with school activities was 3.61. b. Pertaining to administrators/teachers aspect, = 3.29, S.D. = 0.51. The opinions were at a high level. The highest mean of teachers’ activities organizing aimed at enhancing students creativity was 3.81.  c. Pertaining to students aspect, = 3.05, S.D. = 0.53. The opinions were at moderate level. The highest mean of teachers’ loving kindness towards students was 3.84.  d. Pertaining to media/ educational technologies, = 3.08, S.D. = 0.49. The opinions were at a high level. The highest mean of the application of technologies aimed at dynamic teaching/learning development was 3.42.  e. Pertaining to the aspect of the education system, = 3.05, S.D. = 0.66. The opinions of the respondents were at a high level. The highest mean of participation in communities was 3.44.  f. Pertaining to ethics and morality, = 3.48, S.D. = 0.69. The opinions of the respondents were at a high level. The highest mean of teachers being good models for students was 3.83.

On the other hand, The findings of qualitative research revealed that the circumstances of problems and factors affected educational quality development which were congruent with the localities of the eastern provinces were as follows: a. Pertaining to communities and parents aspect, the parents income were not sufficient. Most parents had some debt and had not enough time to take care their children since they had to go to works outside their homes. b. Pertaining to teachers/administrators, teachers and administrators had a lot of work to do. There were too many meetings and training. Apart from that, teachers had not enough time for teaching their students since they had a number of personal works, especially preparing academic paper for their own advancement. Moreover, teachers did not teach all the subjects they had been assigned to teach, and did not teach according to their major subjects.  c. Pertaining to students, they felt that there was no love and commitment in their families. The parents were young and unable to teach their own offspring. In addition, poor intellectual capabilities of students’ parents brought about educational inequalities. d. Pertaining to technological application, a number of students were not mature enough to choose the computer games or programs which were suitable for them and could not attain useful information which would enhanced their self development.  e. Pertaining to education system, the policy of the Ministry of Education had often changed and had no fixed stand point. In addition, whenever there were some changes on the education system at the national level, there would be some problems occurred at the local level and caused more problems on teacher training. f. Pertaining to ethics and morality, administrators/teachers, and students, as a whole, lacked ethics and morality, and did not accordingly follow religious teachings. Consequently, there was no real happiness in societies.

2) The direction of educational quality development which was in congruent with the localities of the eastern part were as follow: a. Pertaining to communities/parents, there should be organization development aiming at the promotion of new value creation and popularity among parents. Apart from that, schools should organize more activities and enhanced more participation with communities by means of providing vocational development programs for communities and parents. b. Pertaining to administrators/teachers, there should be systematic development for administrators and teachers aiming at the promotion of professionalism/ethics and morality/responsibility and professional commitment. In addition, there should be teachers for all required subjects. c. Pertaining to students, parents should pay more attention for their children and help them to participate more in activities of their schools and communities. In addition, there should be more projects of studies and training on ethics and moralities for students. d. Pertaining to the application of technology, there should be instruction and training on various technological application for students and help them to realize on positive and negative aspects of educational technology. e. Pertaining to education system, there should be organizing of teaching and learning system which is appropriate for students. Apart from that, there should be clarification of goals or objectives from the top level administrators. Moreover, there should be more organizing of seminars aiming at giving more information/knowledge on education and curriculum development which is congruent with the localities in the eastern part, and f. Pertaining to ethics and morality, there should be more teaching and practice on Buddhism aiming at student formation towards being integrated persons i.e. the man of good conscience and morality. In addition, there should be teacher formation aiming at profession commitment.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

ศิริวัฒน์ จิระเดชประไพ

คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ จังหวัดฉะเชิงเทรา

จำรูญ บริสุทธิ์

นักปฏิบัติการช่าง 6  บริษัท ที โอ ที จำกัด (มหาชน) ชุมสายโทรศัพท์ชัยพฤกษ์  จังหวัดกรุงเทพมหานคร

ประนอม สุขสวัสดิ์ สุขสวัสดิ์

ผู้จัดการ บริษัท ทริพเพิล เอช เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด  จังหวัดฉะเชิงเทรา

ยุพิน หงษ์วะชิน

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ  สำนักงานสาธารณสุข  จังหวัดฉะเชิงเทรา

สุวัฒน์ เรืองศิลป์

ผู้จัดการ บริษัท ไทย-ทักษิณ แมททีเรียล แอนด์ โปรดักส์ จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ

References

เจริญ กาญจนะ. (2554). วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มีนาคม หน้า 91.

พัทธนันท์ หรรษาภิรมย์โชค. (2556). แนวทางการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็กในชุมชน.

มณีรัตนา โนนหัวรอ. (2557). การพัฒนารูปแบบการประเมินเสริมพลังอำนาจเพื่อเพิ่มสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการศึกษาของครูประจำการ สังกัดสำนักงานเขนพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2. ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการทดสอบและวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-เมษายน 2554.

รายงานประจำปี ๒๕๕๘ ANNUAL REPORT 2015. (2558). สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กรุงเทพฯ หน้า 25.

ศักดิ์ดา ศรีผาวงศ์. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสำหรับพัฒนาครูสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นโดยใช้การจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบองค์รวม.

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล, โครงการวิจัยคุณลักษณะและกระบวนการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมในประเทศไทย, รายงานวิจัย, (ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม : สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้, 2552), หน้า 35.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). รายงานการวิจัยและพัฒนา เรื่อง รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). รายงานการวิจัย “แนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับการเตรียมความพร้อมสู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (อภิวัฒน์การเรียนรู้สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย) http://seminar.qlf.or.th/Archive/View/32.

อภิณห์พร สถิตย์ภาคีกุล, มลิวัลย์ สมศักดิ์, อารี สาริปา, และคนอื่นๆ. (2556). รายงานการวิจัยการวิจัยและพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษาแบบใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนขนาดเล็ก ระยะที่ 2 : กรณีศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

Krejcie, R.V. & Morgan. D.V. (1970). Determining sample size for research acivities, Educational and Psychological Measurement. n.p.

Maslow Abraham, Motivation and Personnality, (New York : Harper and Row Publishers,1987), pp. 15-23.

http://www.geographylks.ob.tc/page14.htm

http://wiki.stjohn.ac.th/groups/poly_econocimlandscape/wiki/253c0/

https://www.gotoknow.org/posts/17754 แนวทางการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาแนวใหม่ https://www.gotoknow.org/posts/17754 ยุทธศาสตร์การพัฒนาครูแนวใหม่ http://www.nidtep.go.th/plan

http://www.edreform.moe.go.th http://school8.education.police.go.th/technical/technical05.html)

http://www.commonsenseforpubliceducation.org Post on 25/09/2014

GotoKnow โดย นาย วีระชัย จิวะชาติ