ปัจจัยการบริหารสถานศึกษาที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนมาตรฐานสากล จังหวัดลำปาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 35

Main Article Content

หัสรินทร์ ดอนดี

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับปัจจัยการบริหารสถานศึกษาในโรงเรียนมาตรฐานสากล จังหวัดลำปาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 35 เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลใน           การปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนมาตรฐานสากล จังหวัดลำปาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 35  และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนมาตรฐานสากล จังหวัดลำปาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 35 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครูปฏิบัติการสอนในโรงเรียนมาตรฐานสากล จังหวัดลำปาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35 จำนวน 259 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Pearson Product-Moment Correlation Coefficient) ผลการวิจัย พบว่าระดับปัจจัยการบริหารสถานศึกษาในโรงเรียนมาตรฐานสากล จังหวัดลำปาง โดยรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ระดับประสิทธิผลใน        การปฏิบัติงานของครู โดยรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันระดับสูงในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

 

The purposes of this research were to study level of school management determinants in world-class standard schools under Secondary Educational Service Area Office (SESAO) 35, study effectiveness level of teachers’ performance, and study a correlation between school management determinants and effectiveness level of teachers’ performance. The number of 259 samples consisted of directors and teachers from the world-class standard schools under SESAO 35. The instrument for data collection was a questionnaire with a statistical treatment through frequency, percentage, mean, standard deviation and correlation testing by Pearson Product Moment Correlation Coefficient. The results were indicated that the overall level of school management determinants was at a high value. The effectiveness level of teachers’ performance was also at a high value. The school management determinants and effectiveness of teachers’ performance were high in a positive correlation at significant level of .01

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

หัสรินทร์ ดอนดี

หลักสูตรศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต  สาขาวิชาการบริหารการศึกษา  มหาวิทยาลัยเนชั่น

จังหวัดลำปาง

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน : ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กษมาพร ทองเอื้อ. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมาตรฐานสากล. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.(การบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ขวัญใจ สุดรัก. (2553). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

นัยนา กวนวงค์. (2552). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

นิเลาะ แวอุเซ็ง. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ศุภชัย สว่างภพ. (2555). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับประสิทธิภาพการสอนของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ช่วงชั้นที่ 3 จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารการวัดผลการศึกษา, 17 (1), 293-303.