การจัดการที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน : กรณีศึกษา ตำบลพืชอุดม อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

ดรุณศักดิ์ ตติยะลาภะ
เจด็จ คชฤทธิ์

Abstract

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย ‘ศึกษาการสร้างตัวแบบการจัดการที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน ตำบลพืชอุดม อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี’ มีวัตถุประสงค์เฉพาะบทความ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาภูมิหลังและสภาพปัญหาที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินของชุมชนตำบลพืชอุดม อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อศึกษาการจัดการที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินด้วยตนเองของชุมชนตำบลพืชอุดม อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล 4 วิธี คือ 1) การรวบรวมและทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง 2) การสังเกตการณ์ภาคสนาม 3) การสัมภาษณ์เชิงลึก และ 4) การจัดเวทีประชาคม ผลการศึกษา พบว่า  ชุมชนตำบลพืชอุดม อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินมาตั้งแต่ยุคเริ่มแรกของประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ราว รัชกาลที่ 5 คือ กรรมสิทธิ์ที่ดินบริเวณนี้ ส่วนใหญ่เป็นของเจ้านายเชื้อพระวงศ์ พ่อค้าหรือนายทุน เกษตรกรไม่สามารถครอบครองกรรมสิทธิ์ที่ดินได้เพราะมีราคาสูง ปัจจุบันเกษตรกรก็ยังเผชิญกับปัญหาขาดแคลนที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยอยู่ โดยรวมแล้ว มีหมู่บ้านที่ประสบปัญหาทั้งสิ้น 9 หมู่บ้าน จำนวนผู้เดือดร้อน รวม 873 ราย ในด้านการจัดการที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินนั้น พบว่า ชุมชนอาศัยการทำงานแบบรวมกลุ่ม มีแกนนำและคณะกรรมการดำเนินงานอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม สอดประสานกับนโยบายภาครัฐ เปิดรับความช่วยเหลือสนับสนุนจากองค์กรภาคีเครือข่ายทั้งภายในและภายนอก มีกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบระเบียบ มีขั้นตอน เริ่มจากร่วมกันก่อตั้งเป็นกองทุนสวัสดิการชุมชน แล้วขับเคลื่อนผ่านการดำเนินงานของสภาองค์กรชุมชน ผลักดันโครงการที่ดินที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน จนสามารถจัดตั้งกองทุนที่ดิน และการรวบรวมสมาชิกจดทะเบียนเป็นสหกรณ์เคหสถาน จำกัด เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาด้วยตนเองอย่างยั่งยืนจากความร่วมมือของสมาชิกในชุมชน

 

 

This article was part of the research project ‘the search for model on living and arable land Phuetudom subdistrict, Lamlukka District, Pathumthani Province. The specific objectives of this article were 1) to study background and problems related to living and arable land of Phuetudom subdistrict, Lamlukka District, Pathumthani Province 2) to study community’s self-management on living and arable land in Phuetudom subdistrict, Lamlukka District, Pathumthani Province. Data were collected by 4 methods 1) reviewing of related literatures 2) field observation 3) in-depth interviewing and 4) organizing the community meeting. The research found that the community of Phuetudom subdistrict, Lamlukka District, Pathumthani Province have experienced the problems related to living and arable land since the time of the King Rama V, the problem was that most of the land belonged to the members of the royal family, merchant, or capitalist, therefore the agriculturalist could not own the lands because they were too expensive. In present, agriculturalists are still experiencing shortage of arable and living lands. In the overall aspect, there are 9 villages that are experiencing problem, the total people who were affected by this problem were 873. Regarding the management of living and arable land, communities relied on group working, with leader and operating commission that is clearly and concretely defined. By this mechanism, they can act along the public policy and accept helps and supports from networks, both internal and external ones, establish their working processes. These processes start with the foundation of community’s welfare fund, then operate it through the community council, propose projects related to living and arable land until they can found the land fund and can call together the members to found “the Habitat Co-op Limited” in order to solve problem for themselves sustainably, through community’s collaboration.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

ดรุณศักดิ์ ตติยะลาภะ

อาจารย์ประจำหลักสูตรสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

เจด็จ คชฤทธิ์

นักวิชาการอิสระและอาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

References

โครงการที่ดินที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินตำบลพืชอุดม. (ม.ป.ป.). เอกสารอัดสำเนา. ปทุมธานี : คณะกรรมการจัดตั้งสหกรณ์ที่อยู่อาศัยที่ดินทำกินพืชอุดม.

เจด็จ คชฤทธิ์. (2552). ระบบเศรษฐกิจไทยภายใต้เศรษฐกิจเชิงระบบโลก. เอกสารรวมบทความ วิถีไทย : สังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม. ปทุมธานี : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

ดรุณศักดิ์ ตติยะลาภะ.(2560). การศึกษาสร้างตัวแบบสภาพลเมืองจังหวัดปทุมธานีสู่ความเข้มแข็งประชาธิปไตยไทย.วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม-เดือนเมษายน พ.ศ. 2560.

พลิกวิถีชาวนาจากข้านายเงินตำบลพืชอุดมสู่นายตนเอง. (ม.ป.ป.). เอกสารอัดสำเนา. ปทุมธานี : คณะกรรมการจัดตั้งสหกรณ์ที่อยู่อาศัยที่ดินทำกินพืชอุดม.

รันทม แหสมุทร. สัมภาษณ์. วันที่ 9 มีนาคม 2560 ณ ที่ทำการชั่วคราวสหกรณ์ที่อยู่อาศัยที่ดินทำกินพืชอุดม.

ศูนย์ข้อมูลตำบลไทย ตำบลพืชอุดม. (2560). ตำบลพืชอุดม. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 จาก www.pathumthani.kapook.com.

สุนทรี อาสะไวย์. (2530). ประวัติคลองรังสิต การพัฒนาที่ดินและผลกระทบต่อสังคม พ.ศ.2431 – 2457. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สุบรรณ เอี่ยมวิจารณ์. (2557). นโยบายการกำหนดราคาข้าวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวนาไทย. วารสารเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ประจำเดือน กุมภาพันธ์-กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สุวัฒน์ คงแป้น. (2557). 12 กรณีศึกษาสู่ความมั่นคงในที่ดิน พื้นที่รูปธรรมการจัดการที่ดินแนวใหม่ ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง. กรุงเทพฯ : สำนักสื่อสารการพัฒนา สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สาขาวิชาการผังเมือง คณะสถาปัตยกรรมและการผังเมือง มหาวิทยาลัยรังสิต และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน

(องค์การมหาชน). (2556). สื่อนิทรรศการโครงการความร่วมมือแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินตำบลพืชอุดม 4 มีนาคม 2556 ณ มัสยิด ยามีอุ้ลคอยรียะห์. ปทุมธานี : คณะทำงานโครงการความร่วมมือแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินตำบลพืชอุดม

อารีวรรณ คูสันเทียะ. (2557). การไร้ที่ดินของเกษตรกร. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2560 จาก www.landactionthai.org.