การจำแนกประเภทของการตีความเชิงอรรถศาสตร์ของวิเศษณานุประโยค: มุมมองจากนวนิยายภาษาอังกฤษ

Main Article Content

อภินันท์ วงศ์กิตติพร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาการจำแนกประเภทของการตีความเชิงอรรถศาสตร์ของวิเศษณานุประโยคจากนวนิยายภาษาอังกฤษ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องก่อนหน้านี้ให้ความสำคัญกับการจำแนกประเภทการตีความเชิงอรรถศาสตร์
ของวิเศษณานุประโยคในงานเขียนของนักเรียนที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ ตำราอาหารภาษาอังกฤษและหนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษ (Durant, Brenchley & Clarkson, 2020; Wongkittiporn, 2021) เพื่อนำเสนอมุมมองที่แตกต่างออกไป  การศึกษาการจำแนกประเภทการตีความเชิงอรรถศาสตร์
ของวิเศษณานุประโยคในงานวิจัยครั้งนี้จึงให้ความสำคัญกับนวนิยายภาษาอังกฤษ ชุดข้อมูลเก็บรวบรวมมาจาก Robinson Crusoe (Defoe, 2013), Naked Lunch (Burroughs, 2016) Wide Sargasso Sea (Rhys, 2016) และ The War of the Worlds (Well, 2018) ซึ่งเป็นนวนิยายขายดี จำนวนประมาณ 200,000 คำของชุดข้อมูลจากนวนิยาย 4 เล่มประกอบด้วย 50 ตัวอย่างวิเศษณานุประโยค การวิเคราะห์ข้อมูลวิเศษณานุประโยคทำตามแบบของ Swan (2016) ซึ่งจำแนกประเภทของวิเศษณานุประโยคออกเป็นแปดประเภทคือวิเศษณานุประโยคที่เกี่ยวกับเวลา วิเศษณานุประโยคที่เกี่ยวกับความขัดแย้ง วิเศษณานุประโยคเชิงจุดประสงค์ วิเศษณานุประโยคที่เกี่ยวกับสถานที่ วิเศษณานุประโยคที่เกี่ยวกับลักษณะ วิเศษณานุประโยคเชิงเหตุผล วิเศษณานุประโยคเชิงเปรียบเทียบและวิเศษณานุประโยคที่เกี่ยวกับเงื่อนไข หลังจากการวิเคราะห์ข้อมูล นักภาษาศาสตร์จำนวนสามท่านดำเนินการตรวจสอบการวิเคราะห์ข้อมูลวิเศษณานุประโยคเพื่อความถูกต้องและแม่นยำ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าวิเศษณานุประโยคที่เกี่ยวข้องกับเวลาในนวนิยายภาษาอังกฤษปรากฏในความถี่ที่สูงซึ่งคิดเป็นร้อยละ 68
ซึ่งสามารถอธิบายได้โดยหลักการของลำดับเหตุการณ์และหลักการน้ำหนักปลาย ผู้วิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่างานวิจัยครั้งนี้จะมีตัวอย่างเกี่ยวกับวิเศษณานุประโยคเพิ่มมากขึ้นเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศและผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองในการประยุกต์ใช้โครงสร้างวิเศษณานุประโยคในนวนิยายภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Al-Gharabally, M. (2015). The writing difficulties faced by L2 learners and how to minimize

them. International Journal of English Language and Linguistics Research, 3(5), 42-49.

Altenberg, B., & Tapper, M. (2014). The use of adverbial connectors in advanced Swedish

learners' written English. Bengt Altenberg & Marie Tapper (ed.). In Learner English

on computer (pp. 80-93). Routledge.

Burroughs, W. S. (2016). Naked Lunch. Penguin Classics.

Defoe, D. (2013). Robinson Crusoe. Penguin Classics.

Diessel, H. (2008). Iconicity of sequence: A corpus-based analysis of the positioning of

temporal adverbial clauses in English. Cognitive Linguistics, 19(1), 475-482.

Durant, P., Brenchley, M., & Clarkson, R. (2020). Syntactic development across genders in

children’s writing: The case of adverbial clauses. Journal of Writing Research, 12(2),

-452.

Eitelmann, M. (2016). Support for end-weight as a determinant of linguistic variation and

change. English Language & Linguistics, 20(3), 395-420.

Kim, J. S. (2005). The effects of a constructivist teaching approach on student academic

achievement, self-concept, and learning strategies. Asia Pacific Education Review,

(1), 7-19.

Larsen-Freeman, D., Celce-Murcia, M., Frodesen, J., White, B., & Williams, H. A. (2016).

The grammar book: Form, meaning, and use for English language teachers. National

Geographic Learning.

Li, T. (2020). Application of iconicity to English teaching. Higher Education Studies,

(2), 13-23.

Melchers, G., & Shaw, P. (2013). World Englishes. Routledge.

Promsupa, P., Varasarin, P., & Brudhiprabha, P. (2017). An analysis of grammatical errors in English

writing of Thai university students. Hrd Journal, 8(1), 93-104.

Radford, A. (2009). An introduction to English sentence structures. Cambridge University Press.

Rhys, J. (2016). Wide Sargasso Sea. Penguin Classics.

Ryan, R. M., & Deci, E. L. (2017). Self-determination theory: Basic psychological needs in

motivation, development, and wellness. Guilford Publications

Savignon, S. J. (2018). Communicative competence. The TESOL Encyclopedia of English

Language Teaching, 1-7.

Seo, Y., & Kim, C. (2020). The Use of Short Fiction in a Writing Class: Pedagogical Suggestions for

Secondary Level Teachers in EFL Settings. English Teaching, 75(1), 119-139.

Siahaan, J. (2013). An analysis of students’ ability and difficulties in writing descriptive

texts. Journal of English and Education, 1(1), 114-121.

Sæbø, K. J. (2012). Adverbial clauses. K. von Heusinger, C. Maienborn & P. Portner (eds.), In

Semantics: An International Handbook of Natural Language Meaning (pp. 1420–1441). Mouton de Gruyter.

Swan, A. (2016). Practical English usage. Oxford University Press.

Syvak, O. (2018). Importance of grammar in ESP. Science and Education a New Dimension.

VI(54), 50-52.

Wells, H. G. (2018). The war of the worlds. Penguin Classics

Wongkittiporn, A. (2021). Adverbial clauses in English cookbooks. Thoughts, 2021(1), 72-104.