บทบาทของครูต่อการป้องกันภาวะโภชนาการเกินของนักเรียน ระดับประถมศึกษา อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

นนทรี สัจจาธรรม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษา 1) ความสัมพันธ์ระหว่างแรงสนับสนุนทางสังคมจากผู้บริหารโรงเรียน กับการปฏิบัติของครูที่มีต่อบทบาทการป้องกันภาวะโภชนาการเกินของนักเรียน  ระดับประถมศึกษา อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี 2) ปัจจัยแรงสนับสนุนทางสังคมที่สามารถพยากรณ์การปฏิบัติของครู ต่อบทบาทการป้องกันภาวะโภชนาการเกินของนักเรียน 3) ภาวะโภชนาการของนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือครู 10 โรงเรียน ใน อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี 125 คน และ นักเรียน  31 คน เครื่องมือคือแบบสอบถาม และ แบบประเมินภาวะโภชนาการของนักเรียน ใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสหสัมพันธ์เพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) แรงสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติของครูที่มีต่อ บทบาทการป้องกันภาวะโภชนาการเกินของนักเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทุกด้าน คือ การปฏิบัติตามระบบป้องกันภาวะโภชนาการเกินของนักเรียน r= 0.520 ที่ระดับ 0.05 การเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของนักเรียน r= 0.333 ที่ระดับ 0.05 งานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ r=0.466 ที่ระดับ 0.05 แรงสนับสนุนทางสังคม กับการจัดอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน r= 0.304 ที่ระดับ 0.05 และ 2) ตัวแปรพยากรณ์แรงสนับสนุนทางสังคมต่อการปฏิบัติของครูที่มีต่อระบบการป้องกันภาวะโภชนาการเกินของนักเรียน R= 0.526 สามารถอธิบายการผันแปรตัวแปร การปฏิบัติของครู ที่มีต่อระบบการป้องกันภาวะโภชนาการเกินของนักเรียน ร้อยละ 27.7 (R2 = 0.277) และ ตัวแปรพยากรณ์แรงสนับสนุนทางสังคมที่มีต่อการปฏิบัติงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ R= 0.505 สามารถอธิบายการผันแปรตัวแปรการปฏิบัติงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ร้อยละ 22.5 (R2=0.255) และ 3) นักเรียนมีภาวะอ้วน และท้วม ร้อยละ 19.4

Article Details

บท
บทความวิจัย