ปัจจัยทางด้านการบริหารจัดการเรียนร่วมตามโครงสร้างซีทที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงาน

Main Article Content

เปมิกา สุขสำราญ
ทินกร พูลพุฒ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารจัดการเรียนร่วมตามโครงสร้างซีท, 2) ศึกษาประสิทธิผลการดำเนินงาน, 3) หาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการเรียนร่วมตามโครงสร้างชีทกับประสิทธิผลการดำเนินงาน และ 4) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์การบริหารจัดการเรียนร่วมตามโครงสร้างชีทต่อประสิทธิผลการดำเนินงาน  กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนของโรงเรียนที่จัดการเรียนร่วมในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 จำนวน 306 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (r)  (Pearson,s Product Moment Correlation Coefficient) การถดถอยพหุคุณ (Multiple Regression) โดยวิธี Enter


            ผลการศึกษาพบว่า 1) การบริหารจัดการเรียนร่วมตามโครงสร้างชีทของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 โดยรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิผลการดำเนินงานของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3) การบริหารจัดการเรียนร่วมตามโครงสร้างชีทมีความสัมพันธ์ทางลบกับประสิทธิผลการดำเนินงาน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งมีค่าเท่ากับ -0.11 และ 4) ตัวแปรด้านนักเรียน (X1), ด้านสภาพแวดล้อม (X2), ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน (X3) และด้านเครื่องมือในการบริหารจัดการ (X4) มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ 0.28 ค่าอำนาจในการพยากรณ์ (R2) ร้อยละ 8.0 ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในรูปคะแนนดิบ (b) เท่ากับ 0.08, 0.06, -0.22 และ -0.14 และมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน (β) เท่ากับ 0.11, 0.08, -0.25 และ -0.15 สร้างสมการพยากรณ์ได้ ดังนี้


            สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ  คือ  = 0.08 (X1) + 0.06 (X2) - 0.22 (X3) - 0.14 (X4)


            สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ y =  0.11 ZX1  + 0.08 ZX2   - 0.25ZX3   - 0.15 ZX4


 

Article Details

บท
บทความวิจัย