ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมการตั้งเป้าหมายทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตแห่งหนึ่ง

Main Article Content

ศรสลัก นิ่มบุตร
ฐาศุกร์ จันประเสริฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมการตั้งเป้าหมายทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตแห่งหนึ่ง วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental) แบบ One Group Pretest Posttest Design กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีผลการเรียนเฉลี่ยในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ต่ำกว่า 2.00 ของโรงเรียนสาธิตแห่งหนึ่ง จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมการตั้งเป้าหมายทางการเรียน        มีทั้งหมด 11 กิจกรรม กิจกรรมละ 60 นาที แบบวัดการตั้งเป้าหมายทางการเรียน และแบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย t-test โดยใช้ Paired sample t-test ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่เข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมการตั้งเป้าหมายทางการเรียนมีคะแนนการตั้งเป้าหมายทางการเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมฯ (t=-2.67, P ≤ .05) และมีคะแนนการรับรู้ความสามารถของตนเองเพิ่มมากขึ้นกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมฯ (t=-2.67, P ≤ .01) ดังนั้นการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมการตั้งเป้าหมายทางการเรียนช่วยเพิ่มพฤติกรรมการตั้งเป้าหมายทางการเรียนให้กับนักเรียน จึงชี้ให้เห็นว่าการพัฒนาให้นักเรียนตั้งเป้าหมายทางการเรียนนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ที่ต้องปลูกฝังหรือเสริมสร้างไว้ นอกจากการรับรู้ความสามารถของตนเองแล้ว การรู้จักตนเอง และการเห็นคุณค่าเป็นตัวแปรที่น่าสนใจที่จะส่งเสริมให้นักเรียนเห็นเป้าหมายทางการเรียนของตนเองมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bandura, A. (1977). Social Learning Theory. Englewood Cliffs.NJ: Prentice-Hall.
Bandura, A. (1991). Social cognitive theory of self-regulation. Organizational Behavior and Human Decision Processes, 50(2), 248-287.
Bruhn, A. L., Fernando, J., McDaniel, S., & Troughton, L. (2017). Putting Behavioral Goal-Setting Research Into Practice. Beyond Behavior, 26(2), 66-73.
Locke and Latham. (1990). A Theory of Goal Setting & Task Performance. New Jersey: Prentice Hall.
Rosen, J. G., EJ.; Dalton, BW.; Lennon, JM.; Bozick, RN.,. (2010). Noncognitive skills in the classroom: New perspectives on educational research. RTI International, PO Box 12194, Research Triangle Park, NC 27709-2194.
นฤมล สุ่นสวัสดิ์. (2558). การตั้งเป้าหมายของชีวิต และการทำงาน Setting Goals of Life and Work. วารสารสารสนเทศ, ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2558.
นาฏศิลป์ คชประเสริฐ. (2557). ผลของโปรแกรมกิจกรรมแนะแนวเพื่อการตั้งเป้าหมายทางการศึกษาและอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหันคาพิทยาคม จังหวัดชัยนาท. วิทยานิพนธ์ปริญญานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วิลาวัณย์ ดาราฉาย. (2554). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ความสามารถของตนด้านการเรียนของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2-3. สารนิพนธ์ กศ.ม. สาขาจิตวิทยาพัฒนาการ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2562). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. พิมพ์ครั้งงที่ 9. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จํากัด.
อริสา ภูริวัฒน์. (2553). ผลของโปรแกรมพัฒนาการตั้งเป้าหมายในการเรียนของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3. สารนิพนธ์ กศ.ม.จิตวิทยาการแนะแนว มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.