ความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการประเมินผลการเรียนรู้ สำหรับครูในโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

กุลชาติ พันธุวรกุล
เมษา นวลศรี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินและจัดลำดับความต้องการจำเป็นด้านการประเมินผลการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดปทุมธานี ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ครูที่ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดปทุมธานี จำนวน 150 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงแบบสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้ดัชนี Modifiied Priority Needs Index (PNImodified) ในการจัดลำดับของความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการประเมินผลการเรียนรู้ โดยภาพรวมถือว่าเป็นความต้องการจำเป็นในระดับไม่เร่งด่วน (PNImodified = 0.19) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า พิสัยของดัชนีความต้องการจำเป็นมีค่าอยู่ระหว่าง    0.11 - 0.26 โดยเรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการพัฒนาเครื่องมือการวัดและประเมินผล (PNImodified = 0.26) ด้านการเลือกวิธีการวัดและประเมินผล (PNImodified = 0.25)
ด้านการบริหารการสอบ (PNImodified = 0.20) ด้านการสื่อสารและใช้ผลการประเมิน (PNImodified = 0.13) และด้านการมีจรรยาบรรณในการวัดและประเมินผล (PNImodified = 0.11) ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลย์วิสาข์ ธาราวร และกมลวรรณ ตังธนกานนท์. (2560). การประเมินความต้องการจำเป็นของครูเพื่อพัฒนาความสามารถในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา. 12(2): 370 - 384.

โชติกา ภาษีผล, ประกอบ กรณีกิจ และพิทักษ์ โสตถยาคม. (2558). การพัฒนารูปแบบแฟ้มสะสมงาน อิเล็กทรอนิกส์ที่สะท้อนข้อมูลย้อนกลับในการประเมินพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนในสังกัดสานักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย. 28(1): 1-26.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2545). กระบวนการปฏิรูปเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้: การประเมินและการประกัน. กรุงเทพฯ: วี ที ซี คอมมิวนิเคชัน.

_______. (2555). การกำหนดขนาดตัวอย่าง และสถิติวิเคราะห์ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ. ใน การนำเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ 2555 (Thailand Research EXPO 2012). วันที่ 25 สิงหาคม 2555. กรุงเทพฯ.

วรรณี แกมเกตุ. (2555). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุภมาส ชุมแก้ว. (2561). การประเมินความต้องการจำเป็นการรู้เรื่องการประเมินของครู. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 29(1): 88-94.

สุริยา ฆ้องเสนาะ. (2558). ปัญหาของโรงเรียนขนาดเล็ก. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://library2.parliament.go.th/ebook/content-issue/2558/hi2558-106.pdf.

(2564, 12 มีนาคม).

สุวิมล ว่องวาณิช. (2546). การประเมินผลการเรียนรู้แนวใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Brookhart, S. M. (2011). Educational assessment knowledge and skills for teachers.

Educational Measurement: Issues and Practice. 30(1): 3-12.

Chumkaew, S. (2018). Needs Assessment of Teachers’ Assessment Litearcy. Academic Service journal Prince of Songkla University. 29(1): 88 - 94. [in Thai]

Cohen, J. (1992). Quantitative methods in psychology: a power primer. Psychological Bulletin. 112(1): 155-159.

Jiraro, P. (2014). A Development of Measurement and Evaluation Standards and Item Bank Approach Model for Teachers in Thai Secondary Schools. ProcediaSocial and Behavioral Sciences. 116: 547-556.

Kaemkate, W. (2012). Research Methodology in Behavioral Sciences. (3rd edition). Bangkok: Department of Educational Research and Psychology, Faculty of Education, Chulalongkorn University. [in Thai]

Kanchanawasee, S. (2013). Classical Test Theory. (7th edition). Bangkok: Chulalongkorn University Press. [in Thai]

Kongsanoh, S. (2015). Problems of small schools. [Online], Available: https://library2.parliament.go.th/ebook/content-issue/2558/hi2015-106.pdf. (2021, 12 March). [in Thai]

Nunnally, J. C. (1967). Psychometric Theory. New York: McGraw-Hill.

Pasiphol, S., Koraneekij, P. & Sotthayakom, P. (2015). Development of Electronic Portfolio Model with Reflective Feedback through Assessment of Student Learning Development under The Office of The Basic Education Commission. Journal of Research Methodology. 28(1): 1-26. [in Thai]

Suknaisith, A., Wongwanich, S. & Piromsombat, C. (2014). Development of Teacher

Performance in Educational Measurements and Evaluation through Selfmonitoring Strategies. Procedia-Social and Behavioral Sciences. 116: 1683-1688.

Tharaworn, K. & Tangdhanakanond, K. (2017). A Needs Assessment of Teachers for Developing Learning Assessment of Secondary School Students. An Online Journal of Education. 12(2): 370 -384. [in Thai]

Wiratchai. N. (2002). Reform Process for Improving the Quality of Learning: Assessment and Assurance. Bangkok: VTC Communication. [in Thai]

Wiratchai. N. (2012). Determination of Sample Size and Interesting New Analytical Statistics.

In Presentation of National Research 2012 (Thailand Research EXPO 2012). 25 August 2012. Bangkok. [in Thai]

Wongwanich, S. (2003). Evaluation of New Learning Styles. Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai]

Wongwanich, S. (2019). Needs Assessment Research. (4th edition). Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai].