การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ชุมชนเพื่อสร้างเสริมสุขภาพด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ชุมชนสะลวง – ขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

สามารถ ใจเตี้ย
ฉัตรศิริ วิภาวิน
ศศิกัญญ์ นำบุญจิตต์
รัฐพรรณ สันติอโนทัย
อัจฉรา คำฟั้น

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบผสานวิธีในการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและทดสอบประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ของกิจกรรมการเรียนรู้ชุมชนเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชนสะลวง – ขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่จำนวน 34 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ชุมชนและแบบทดสอบความรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ตามเกณฑ์ร้อยละ 80 / 80 (E1 / E2) และสถิติทดสอบ paired – t  test  ผลการศึกษา พบว่า กิจกรรมการเรียนรู้ชุมชน ประกอบด้วยเทคนิคการสำรวจภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรพื้นบ้าน และการสังเคราะห์แนวทางการประยุกต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการดูแลสุขภาพ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ร้อยละ 80 / 80 (84.66 / 88.35) ส่วนผลสัมฤทธิ์กิจกรรมการเรียนรู้ชุมชนมีค่าคะแนนทดสอบความรู้เฉลี่ยหลังทดลองใช้สูงกว่าก่อนทดลองใช้กิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ≤ 0.05  (p – value = 0.048) ทั้งนี้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเสนอแนะการดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้โดยควรเพิ่มการฝึกปฏิบัติ และเวลาการดำเนินกิจกรรมในแต่ละครั้งให้มากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนิษฐา พวงศรี. (2560). ผีล้านนา อำนาจไร้รูปสู่รูปลักษณ์ในงานทัศนศิลป์. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล, 24(1), 131–140.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากร ศึกษาศาสตร์,

(1), 7–20.

บัวหลวง ใจดี, และพุฒิพงศ์ สัตยวงศ์ทิพย. (28, มีนาคม). การพัฒนากิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ

ของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตําบลหนองตะไก้ อําเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา. ใน สุรศักดิ์ วงศ์รัตนชีวิน (ประธาน). การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ [Symposium]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พเยาว์ พงษ์ศักดิ์ชาติ, ชุติมา มาลัย, นิตติยา น้อยสีภูมิ, และมนัสวี จำปาเทศ. (2562). การส่งเสริมสุขภาพตามภูมิปัญญาท้องถิ่น. วารสารพยาบาลทหารบก, 20(3), 44-53.

มุจลินทร์ แปงศิริ. (2558). การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมของชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง ตำบลบ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ .วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 16(2), 88 – 96.

สามารถ ใจเตี้ย. (2561). วัฒนธรรมสุขภาพล้านนาเพื่อการดูแลสุขภาพ. ธรรมศาสตร์เวชศาสตร์,

(2), 240–248.

สามารถ ใจเตี้ย, ณัทธร สุขสีทอง, จันจิราภรณ์ จันต๊ะ, และฉัตรศิริ วิภาวิน. (2563). ความรู้ ความต้องการการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนา องค์การบริหารส่วนตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก, 18(2), 372–379.

Demio, A. (2011). Local wisdom and health promotion: barrier or catalyst?, Asia Pacific Journal of Public Health, 23(2),127- 132.

Ebel, R.L. and Frisbie, D.A. (1986). Essentials of Educational Measurement (5 th Ed). Prentice-Hall: Englewood Cliffs.

Marlina, M., Badaruddin, B., Fikarwin, Z. and Rahayu, L. (2020). The implementation of local wisdom to improve the health and quality of life the hypertension family as a new strategy for early prevention of stroke. Global Journal of Health Science, 12(2), 51–60.

Raeburn, J., Akerman, M., Chuengsatiansup, K., Mejai, F., Oladepo, O. (2007). Community capacity building and health promotion in a globalized world. Health Promotion International, 21(Suppl 1), 84 – 90.

Wessner, DR. (2010). A review of the wisdom of whores: bureaucrats, brothels and the business

of aids. Journal of Microbiology & Biology Education, 11(2), 185 – 186.