การพัฒนาความสามารถด้านการเขียนสารคดีของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาไทย โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบค้นพบร่วมกับการสร้างแผนภูมิความคิด

Main Article Content

เชษฐา จักรไชย

บทคัดย่อ

      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแผนบริหารการสอนการเขียนสารคดีโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบค้นพบกับการสร้างแผนภูมิความคิดที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 เพื่อหาดัชนี ประสิทธิผลของแผนบริหารการสอนการเขียนสารคดีโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบค้นพบกับการสร้างแผนภูมิความคิด และเพื่อเปรียบเทียบความสามารถการเขียนสารคดีของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ก่อนและหลังการเรียนการสอน โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบค้นพบกับการสร้างแผนภูมิความคิด ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาไทย ชั้นปีที่ 2 หมู่ 1 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ที่เรียนวิชา การเขียนสารคดี ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 49 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนบริหารการสอน 6 แผน และแบบทดสอบวัดความสามารถการเขียนสารคดี ชนิดเลือกตอบแบบปรนัย 40 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Dependent Sample) ผลการวิจัยพบว่า แผนบริหารการสอนการเขียนสารคดีของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบค้นพบกับการสร้างแผนภูมิความคิด มีประสิทธิภาพเท่ากับ 78.73/80.77 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้ ส่วนการศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนบริหารการสอนการเขียนสารคดีของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบค้นพบกับการสร้างแผนภูมิความคิด พบว่า มีค่าเท่ากับ 0.5191 หมายความว่าผู้เรียนมีพัฒนาการและความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 51.91 และ ผลการเปรียบเทียบความสามารถการเขียนสารคดีของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม โดยภาพรวมพบว่า การทดสอบคะแนนของผู้เรียนมีคะแนนก่อนเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 24.00 คะแนน และมีคะแนนหลังเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 32.31 คะแนน เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนสอบทั้งสองครั้ง พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

How to Cite
จักรไชย เ. (2020). การพัฒนาความสามารถด้านการเขียนสารคดีของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาไทย โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบค้นพบร่วมกับการสร้างแผนภูมิความคิด. วิวิธวรรณสาร วารสารด้านภาษาและวัฒนธรรม, 4(3), 213–231. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wiwitwannasan/article/view/245098
บท
บทความวิชาการ/บทความวิจัย

References

Chakchai, C. (2013). Kankhian Sarakhadi (In Thai) [Feature Writing]. Maha Sarakham: Faculty of Humanities and Social Sciences, Rajabhat Maha Sarakham University.

Dhamachon, T. (2005). Kanphatthana phaenkanchat kitchakam Kanrianru phasa thai duai klumruammue baep STAD rueang kan an choeng wikhro chan prathomsueksa pithi 5 doi chai phaenphum khwamkhit (In Thai) [The development of Thai language learning management in STAD collaborative instructional model for analytical reading of prathomsueksa 5 students using mind mapping] (Master’s thesis). Maha sarakham University,

Maha Sarakham.

Honghern, Y. (2010). Kanphatthana khwamsamat kankhian sarakhadi khong nakrian chan matthayomsueksa pithi 6 doi chai laeng rianru nai chumchon (In Thai) [The development of non-fiction writing exercises using local information for Matthayomsueksa 6 students] (Master’s thesis). Khon Kean University, Khon Kean.

Hongphu, S. (2007). Phon Kanchat kitchakam kanrianru wicha phasa thai rueang kankhian riangkhwam duai kanrian baep ruammue doi chai phaenphum khwamkhit chan prathomsueksa pithi 5 (In Thai) [The effects of learning management entitled collaborative essay writing using mind mapping method on Prathomsueksa 5 students] (Master’s thesis). Mahasarakham University, Maha Sarakham.

Khaemanee, T. (2012). Sat kanson : ong khwamru phuea kanchatkrabuankan rianru thi mi prasitthiphap (In Thai) [Sciences of teaching: Principles for effective learning management]. Bangkok : Chulalongkorn University.

Khomkokkruat, S. (2004). Kanphatthana thaksa kankhian riangkhwam duai phaenphum khwamkhit wicha phasa thai chan Prathomsueksa pithi 6 (In Thai) [The development of composition writing skill using Thai language mind mapping of prathomsueksa 6 students] (Master’s thesis). Mahasarakham University, Maha Sarakham.

Mulkham, S. (2004). 21 Withi chatkan rianru : phuea phatthana krabuankan khit (In Thai) [21 learning managements for cognitive processes]. Bangkok: Phapphim.

Pholwatana, P. & Kanokudom, C. (2004). Sinlapa Kanchatkan rianru phasa thai chuang chan thi 4 (Matthayomsueksa pithi 4-6) (In Thai) [Art of Thai language learning management for the fourth level (Matayom 4-6)]. Bangkok: Ben Publishing.

Rangabtuk, W. (2002). Theknik lae kitchakam kanrianru thi nen phurian pen samkhan tam laksut kansueksa khanphuenthan phoso 2544 (In Thai) [Techniques and learning activities focusing on students centered method based on the 2001 core curriculum]. Bangkok: Phrikwan Graphic.

Rungkitleatskul, K. (2003). Kan chai laeng witthayakan nai chumchon phuea phatthana kan khian laorueang khong nakrian chan Prathomsueksa pithi 3 (In Thai) [Using community resources for improving narrative writing of pratomsuksa 3 students] (Master’s thesis), Chiang Mai University, Chiang Mai.

Songkram, N. (2014). Kansueksa nok sathanthi lae kansueksa thi samuean phuea kanrianru choengruk (In Thai) [Fieldtrip and virtual fieldtrip for active learning]. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Srisuk, W. (2010). Phon kanchatkan rianru baep khonphop thimi to khwamsamat nai kan khit wikhro khong nakrian chan Prathom sueksa pithi 6 rongrian watbanghua suea (in Thai) [The effects of discovery approach on analytical thinking of grade 6 students in Watbanghuasuea school] (Master’s thesis). Dhonburi Rajabhat University, Bangkok.

Suntornroj. W. (2012). Nawattakam tam naeokhit baep backward design (In Thai) [Learning Innovation in backward design]. Mahasarkham : Mahasarakham University Press.

Susuaruj, P. (2008). Kan phatthana kankhit (In Thai) [Thinking development]. Bangkok: 9119 Technique Printing.

Tatphumee, W. (2013). Kan phatthana khwamsamat dan kankhian sarakhadi thongthin doi chai phaenphum khwamkhit prakopkanson baep khonphop (in Thai) [The development of local non-fiction writing skill using mind mapping and discovery learning method integration] (Master’s thesis). Mahasarakham University, Maha Sarakham.