การศึกษาเปรียบเทียบการออกเสียงวรรณยุกต์เสียงสามในภาษาจีนกลาง(上声) ของผู้เรียนชาวไทยและชาวจีนเจ้าของภาษา

Main Article Content

่จุมพล ถาวรชอบ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการออกเสียงวรรณยุกต์เสียงสามภาษาจีนกลาง(上声)จากกลุ่มศึกษาเปรียบเทียบ 2 กลุ่มคือ นักศึกษาวิทยาลัยศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยรังสิต ชั้นปีที่1 ที่ผ่านการเรียนการสอนวิชา CHN115ระบบเสียงในภาษาจีนกลางมาแล้วจำนวน 45 ชั่วโมง เพศหญิง จำนวน 23 คนและอาจารย์ชาวจีนเจ้าของภาษา เพศหญิง จำนวน 3 คน ด้วยวิธีการบันทึกไฟล์เสียงการออกเสียงวรรณยุกต์ภาษาจีนเสียงสามพยางค์เดี่ยวจำนวน 3 คำจากนั้นนำไฟล์เสียงที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่มดำเนินการบันทึกค่าความถี่ทั้งช่วงต้น ช่วงกลางและช่วงปลายของการออกเสียงวรรณยุกต์เสียงสามและวิเคราะห์เปรียบเทียบรูปแบบคลื่นเสียงวรรณยุกต์ที่ได้จากโปรแกรมการวิเคราะห์เสียง Praat Version 6.1.29 ผลการศึกษาเปรียบเทียบที่ได้คือ การออกเสียงวรรณยุกต์ภาษาจีนเสียงสามของผู้เรียนชาวไทยมีความแตกต่างจากเจ้าของภาษาชาวจีนดังเช่น 1.รูปแบบคลื่นเสียงวรรณยุกต์แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเจน 2.ค่าเฉลี่ยความถี่จุดต่ำสุดของการออกเสียงวรรณยุกต์ผู้เรียนชาวไทยมีค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยคลื่นความถี่จุดต่ำสุดของเจ้าของภาษาและ3.ค่าเฉลี่ยขอบเขตการออกเสียงวรรณยุกต์ของผู้เรียนชาวไทยมีค่ามากกว่าค่าเฉลี่ยของเจ้าของภาษาเป็นต้น  

Article Details

How to Cite
ถาวรชอบ ่. (2022). การศึกษาเปรียบเทียบการออกเสียงวรรณยุกต์เสียงสามในภาษาจีนกลาง(上声) ของผู้เรียนชาวไทยและชาวจีนเจ้าของภาษา. วิวิธวรรณสาร วารสารด้านภาษาและวัฒนธรรม, 6(2), 99–112. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wiwitwannasan/article/view/254441
บท
บทความวิชาการ/บทความวิจัย

References

Liu Xun .(2010). The Principle of Chinese as a second Languages (14th Ed.)

Beijing. High Education Publishing. (In Chinese)

Liu Yu. (2015). An Experimental Phonetic Research on Teaching Mandarin Tones to Thai

Students. Chinese Studies Journal, Kasetsart University, 8 (1), 24-37. (In Thai)

Nie Jin. (2017). Discuss how to train students the correct pronunciation of mandarin tones

in Thailand. Chinese Studies Journal, Kasetsart University, 10 (1), 218-227. (In Chinese)

Prapin M. (2002). Chinese Mandarin Grammar (2nd Ed.). Bangkok: The Project of

Academic forum, Faculty of Arts, Chulalongkorn University. (In Thai)

Ren Jingwen. (2008). Chinese Grammar Parallel Thai-Chinese Grammar. Bangkok.

Amarin Printing & Publishing. (In Thai)

Sunee L. (2016). A Comparative Study of Thai and Chinese Phonology for the Use

of Basic Thai Language Teaching as A Foreign Language. Suthiparithat Journal,

(93), 33-46. (In Thai)

Shi Feng. (2009). Exploration of Experimental Phonology. Beijing: Beijing

University Publishing. (In Chinese)

Tulyanusorn C. & Qu Xiaohong. (2017). Error Analysis in Chinese Pronunciation of Business

Chinese Students, International College, Chiang Mai Rajabhat University. Journal of Graduate Research, 8 (1), 115-124. (In Thai)

Wang Tiansong. (2018). The Research About Teaching Thai Students Chinese Pronunciation. Journal of Humanities and Social Sciences Valaya Alongkorn, 13 (1), 253-261. (In Chinese)

Worrawan S. (2013). Linguistic of Thai (2nd. Ed.). Nontaburi: Sampanchanya Publication.Yang Quan, Hathai Sae jia. (2020). A Study of Chinese Phonetic Errors and Chinese Phonetic Teaching for the First Year Undergraduates of Chinese major Srinakharinwirot University .Manutsart Paritat: Journal of Humanites, 42 (2), 39-58. (In Chinese)

Yang Zhitong. (2018). Research on errors made by elementary Thai students in Chinese pronunciation falling rising tone: Based on Attwit Commercial Technical School’s students (Master’s thesis). Lanzhou University. China PRC. (In Chinese)