การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนเค้าโครงการวิจัยทางภาษาและวรรณกรรมไทย สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาไทย

Main Article Content

เชษฐา จักรไชย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนเค้าโครงการวิจัยทางภาษาและวรรณกรรมไทย สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาไทยให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนเค้าโครงการวิจัยทางภาษาและวรรณกรรมไทย ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาไทย ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาไทย ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนเค้าโครงการวิจัยทางภาษาและวรรณกรรมไทย กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ชั้นปี 3 ที่เรียนรายวิชาระเบียบวิธีวิจัยทางภาษาและวรรณกรรมไทย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 กลุ่มวิชาเอกภาษาไทยเพื่ออาชีพ จำนวน 35 คน กำหนดกลุ่มเป้าหมายโดยการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 5 ชุด แบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนเค้าโครงการวิจัยทางภาษาและวรรณกรรมไทย จำนวน 1 ชุด และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาไทย ที่มีต่อการเรียนเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ t-test (Dependent Sample) ผลการวิจัยพบว่า ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนเค้าโครงการวิจัยทางภาษาและวรรณกรรมไทย สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาไทย มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 76.71/77.71 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 75/75 การเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนเค้าโครงการวิจัยทางภาษาและวรรณกรรมไทย พบว่า คะแนนก่อนเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 13.49 คะแนน และคะแนนหลังเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 23.31 คะแนน สรุปว่าคะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาไทย มีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนเค้าโครงการวิจัยทางภาษาและวรรณกรรมไทยอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52  

Article Details

How to Cite
จักรไชย เ. (2022). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนเค้าโครงการวิจัยทางภาษาและวรรณกรรมไทย สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาไทย. วิวิธวรรณสาร วารสารด้านภาษาและวัฒนธรรม, 6(1), 141–156. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wiwitwannasan/article/view/254478
บท
บทความวิชาการ/บทความวิจัย

References

Chakchai, C. (2017). Academic writing. Maha Sarakham, Thailand: Rajabhat Mahsarakham University.

Fongyoy, S. (2003). The development of class research proposal writing of teachers in Ban Mhad School, Chiangkwan district, Roi-et Province (Master thesis). Mahasarakham University. Mahasarakham, Thailand.

Kornhavech, B. (2000). Education innovation. Bangkok, Thailand: Chulalongkorn University.

Lintalug, S. (2018). The development of research-based learning management using digital intellectual repository to develop research proposal writing ability of graduate students (Master thesis). King Mongkut's University of Technology North Bangkok. Bangkok, Thailand.

Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. (2019). Acts of Administration, Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. Retrieved 15 January 2022 from https://www.mhesi.go.th/images/2563/pusit/legal-all/2p562.pdf.

Promprapai, P. (2019). The development of exercises of Thai language reading comprehension for grade 2 lower high school students (Master thesis). Naresuan University. Pitsanulok, Thailand.

Proongprong, P. (2006). The development of exercise of proposal writing for school administrators (Master thesis). Ubon Rachathani Rajabhat University. Ubon Rachathani, Thailand.

Raksamani, K. (2013). Research on literature. Bangkok, Thailand: Department of Western Languages, Faculty of Archelogy, Silpakorn University. Bangkok, Thailand.

Sayjeen, J. (2018). Learning activity package on professional learning community concept in Thai language subject for primary 6 students (Master thesis). Rajamangala University of Technology Thanyaburi. Prathumthani, Thailand.

Sinlarat, P. (2007). Research-based learning. In P. Sinlarat (ed.) Professional instructors: Principles, instruments, and development (pp.16-28). Bangkok, Thailand: Chulalongkorn University Press.

Srikarat, W. (2020). The development of a learning activity package for enhancing poetry writing ability based on Synectic instructional model and cooperative learning for mathayomsuksa 1 students (Master thesis). Sakon Nakhon Rajabhat University. Sakon Nakhon, Thailand.

Suktrakul, W. (2018). A development of an instructional package using PQ4R to enhance analytical reading skills for grade VII students (Master Thesis). Naresuan University. Pitsanulok, Thailand.

Theerawit, P. (2016). The construction of learning activity developed morals and ethics for honesty of university students in the eastern region of Thailand by employing teaching and learning strategies based on constructionism theory (Doctoral thesis). Burapha University. Chonburi, Thailand.

Wongsaphan, M. (2020). Basic knowledge in research on curriculum and teaching. Mahasarakham, Thailand: Sarakhamkarnpim.