วัจนกรรมการแสดงความรู้สึกที่ปรากฏในเรื่อง อิเหนา : ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

Main Article Content

ประยุทธ จิตราช

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มุ่งศึกษาการใช้วัจนกรรม  การแสดงความรู้สึกที่ปรากฏในเรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง โดยใช้เกณฑ์การวิเคราะห์วัจนกรรมตามเจตนาของการสื่อสารโดยใช้แนวคิดของ John R. Searle ซึ่งเสนอหลักการวิเคราะห์ที่เรียกว่าเงื่อนไขวัจนกรรม ผลการศึกษาพบว่า วัจนกรรมการแสดงความรู้สึกในเรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง มีอยู่ 2 ลักษณะ คือ การแสดงความรู้สึกด้านบวก และ การแสดงความรู้สึกด้านลบ การแสดงความรู้สึกด้านบวก พบ 7 ด้าน ได้แก่  ความรู้สึกดีใจ ความรู้สึกรัก ความรู้สึกคิดถึง ความรู้สึกเป็นห่วง ความรู้สึกขอบคุณ  ความรู้สึกจงรักภักดี ความรู้สึกสำนึกผิด การแสดงความรู้สึกด้านลบ พบ 8 ด้าน ได้แก่  ความรู้สึกโศกเศร้า  ความรู้สึกสลดใจ  ความรู้สึกโกรธ ความรู้สึกน้อยใจ ความรู้สึกประชด ความรู้สึกเย้ยหยัน ความรู้สึกหนักใจ ความรู้สึกกลัว  วัจนกรรมที่แสดงความรู้สึกด้านบวกที่พบมากที่สุด คือ การแสดงความรู้สึกเป็นห่วงและวัจนกรรมที่แสดงความรู้สึกด้านลบที่พบมากที่สุด คือ การแสดงความรู้สึกโกรธ

Article Details

How to Cite
จิตราช ป. (2024). วัจนกรรมการแสดงความรู้สึกที่ปรากฏในเรื่อง อิเหนา : ตอน ศึกกะหมังกุหนิง . Journal of Variety in Language and Literature, 8(1), 147–167. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wiwitwannasan/article/view/266394
บท
บทความวิชาการ/บทความวิจัย

References

Angkurasinthana. N. (2008). A comparative study of indirect speech in conversations in different Thai novels Period: according to the Pragmatics [Master's thesis]. Kasetsart University. (In Thai)

King Rama II. (1978). Inao. Bangkok: Bangkok: SKSC Printing House, Lat Phrao. (In Thai)

Ministry of Education. (2008). Textbook for the course on Basic Thai Language and Literature. (11th ed.). Bangkok: SKSC Printing House, Lat Phrao. (In Thai)

Phio-on, C. & KhrutMueang, S. (2017). Analysis of Erotic Sentiment that appears in Inao: the Dramatic writings of His Majesty King Buddha Lertla Napalai. Ganesha Journal, 2 (13), 1– 17. (In Thai)

Royal Institute. (2002). Royal Institute Dictionary, A.D. 2011. (2nd ed.). Bangkok : Nammeebooks Publishing. (In Thai)

Sukwisit. W. (2004). invective speech in the Thai language [Master's hesis]. Chulalongkorn University. (In Thai)

Sinthuwanik, S. (2016). Inao: Hero, Lover and Warrior. Nakhon Phanom University Journal, 6 (1), 134-142. (In Thai)

Thanachai. K. (2008). “When Inao, being extremely sad to Busaba”: Sunthon Phu and creating emotional feelings in Nirat Inao. Journal of Humanities, 15 (2), 17-27. (In Thai)