Editorial Note

Main Article Content

Bunsanoe Triwiset

Abstract

บทบรรณาธิการ


กลอนสุภาพ


ขอเชิญยลแก่นงานวิชาการบท               ที่ปรากฏในวิวิธวรรณสาร


เล่มยี่สิบสองมั่นคงออกตรงกาล             มีให้อ่านทั้งสิบเรื่องประเทืองปัญญา


 


ร่ายยาว


บทความหนึ่ง "การศึกษาคำกริยานุเคราะห์ภาษาจีนในแบบเรียนภาษาจีนสำหรับผู้เรียนชาวไทย"  วัตถุประสงค์ให้ได้วิเคราะห์เปรียบเทียบเรียบเรียงออกแบบเนื้อหา  คำกริยานุเคราะห์ภาษาจีนในแบบเรียนภาษาจีนกลางพื้นฐาน  สำหรับผู้เรียนเขียนอ่านชาวเหล่าคนไทย  โดยผู้วิจัยกำหนดขอบเขตการศึกษา  จำนวนสี่เล่มเต็มพบว่า กริยานุเคราะห์ (hui) พบมากที่สุด  ในแบบเรียนมีคำอธิบายหมายชี้จุดกริยานุเคราะห์เป็นภาษาอังกฤษนี้มีเสริมโครงสร้างปฏิเสธ  ประโยคที่ใช้นัยบอกเหตุนั้นคือประโยคบอกเล่า  แบบฝึกหัดคัดเข้านิยมใช้ได้จากรูปภาพ  งานวิจัยเสนอให้ทราบโครงสร้างทั้งปริมาณ  เกณฑ์มาตรฐานนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ศึกษา


บทความสอง "การละหน่วยไวยากรณ์ในข่าวที่เสนอผ่านทวิตเตอร์"  มุ่งนำเสนอวัตถุประสงค์ตรงจำเพาะ  เพื่อวิเคราะห์และจำแนกประเภทการละหน่วยไวยากรณ์ในข่าวที่เสนอ  ผ่านทวิตเตอร์วิจัยนี้เป็นเชิงคุณภาพ  เก็บข้อมูลข่าวภาษาไทยให้ทราบผ่านทวิตเตอร์แปดบัญชี  ผลการวิจัยบ่งชี้มีการละคำนาม กริยา สรรพนาม คำเชื่อมครบ  การละวลีพบการละนามวลี กริยาวลี ปริมาณวลี บุพบทวลี  ทั้งยังมีการละอนุประโยค พบการละนามานุประโยค คุณานุประโยค วิเศษณานุประโยคสาธกมา  จากการวิจัยยังพบว่าการละหน่วยไวยากรณ์แบ่งเป็นการละหน่วยเดิมที่เคยปรากฏรูปภาษา  และการละหน่วยที่ไม่เคยปรากฏรูปภาษาในข้อความ โดยการละคำพบตามทั้งสองวิธี  


บทความสาม "บทเทวมาตรในกวีนิพนธ์ซีไรต์กัมพูชา" ประเด็นมุ่งศึกษาสองประการอันบ่งชี้  เพื่อศึกษาเทวมาตรในกวีนิพนธ์ซีไรต์กัมพูชา  และเพื่อศึกษาศิลปะการประพันธ์กวีนิพนธ์ที่ประพันธ์ด้วยบทเทวมาตรที่สร้างสรรค์  ต่อยอดจากบทมูลฐานหรือฉันทลักษณ์หลักพื้นฐาน  เทียบคำชานกับคำว่า กลบทรจนา เป็นสิ่งแสดงแจ้งลีลาชั้นเชิงของกวี


บทความสี่ "การศึกษาการสร้างคำภาษาถิ่นเหนือในนวนิยายเรื่อง กลิ่นกาสะลอง ของเนียรปาตี"  บทความนี้ชี้ผลการศึกษาว่าที่ทำ  พบการสร้างคำภาษาถิ่นเหนือสามวิธีมีการสร้างคำใหม่สองร้อยยี่สิบแปดคำ  ได้เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยเชิงปริมาณ 


บทความห้านี้มีให้อ่าน  "ภาพสะท้อนวัฒนธรรมจีนจากรวมเรื่องสั้น ด้วยรักและผุพัง ของ นริศพงษ์  รักวัฒนานนท์"  บทความนี้ชี้ผลการศึกษา  วิเคราะห์เรื่องสั้นทั้งนั้นมาสิบเอ็ดเรื่อง  พบภาพสะท้อนวัฒนธรรมจีนสืบเนื่องด้านภาษาแสดงเชื้อชาติมาตรผูกพัน  ของชนชาติเดียวกันหนึ่งเดียวนี้  สองค่านิยมพบว่ามีเกี่ยวกับชายเป็นใหญ่นัยประจักษ์  การรักลูกหลานผู้ชายกว่าหญิงจริงนักทั้งสังคมอาวุโสผู้ชรา  สามนั้นว่าการไหว้เทพเจ้า แขวนโคมแดง สวมชุดกี่เพ้าอั่งเปาให้ลูกหลาน


บทความหก "การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านห้องเรียนเสมือนจริงตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ โดยใช้ google site รายวิชา การออกแบบและผลิตสื่อการศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย"  บทความวิจัยเพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ผลการวิจัยเขียนพบว่าผลนั้นสูงกว่าก่อนเรียนมีนัยสำคัญ และอยู่ในระดับมากที่สุดดังกล่าวมา 


บทความเจ็ด "การพัฒนาทักษะการจำคำศัพท์ภาษาจีนโดยใช้เกมช่วยจำศัพท์ของนักศึกษา โปรแกรมวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย"  มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมช่วยจำคำศัพท์กับนักศึกษาให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์แปดสิบแปดสิบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลสถิติ ร้อยละค่าเฉลี่ย เบี่ยงเบนมาตรฐานดำเนินผลมาให้  ผลการวิจัยพบว่าสูงกว่าเกณฑ์เห็นกำหนด ก่อนเรียนหลังเรียนแตกต่างกันหมดด้วยหลังเรียนมีค่าสูงกว่า แสดงให้เห็นว่าการใช้แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมช่วยพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนสูงขึ้นนี้อย่างมีนัยสำคัญ


บทความแปดนั้น "บ่วงเสน่หากับความเป็นชายในนวนิยายเรื่อง ธำมรงค์เลือด ของพงศกร" วิเคราะห์นวนิยายมีนัยบทตอนถึงอำนาจผู้หญิงครอบงำผู้ชาย มาจากความสามารถจริตมารยาหมายผู้ชายติดในบ่วง  เป็นผู้สยบยอมลุล่วงทุกช่วงบท ตัวละครหญิงถูกกำหนดถูกครอบงำด้วยความรัก  ตัวละครอมนุษย์ถูกสร้างลักษณะเหมือนมนุษย์  เป็นบุรุษที่มีรูปลักษณ์งดงาม สง่างามมีเสน่ห์มีความเป็นลูกผู้ชาย  ทำหน้าที่ที่มุ่งหมายปกป้องผู้หญิง วิธีคิดที่ใจไร้อาฆาต  สิ้นพยาบาทรู้จักให้อภัยได้ปล่อยวาง  พยายามแก้ไขในหนทางที่ผิดพลาด  ให้ถูกต้องดังมุ่งมาดปรารถนา  นำเสนอภาพลักษณ์ความเป็นชายออกมาว่าให้เป็น ยังแสดงให้เห็นว่าเพศมีส่วนกำหนดคุณความดีวิธีคิด


บทความเก้าได้ลิขิต "กระบวนทัศน์ใหม่และวิธีวิทยา  จากมุมมองภาษาศาสตร์เชิงนิเวศ"  ชี้สังเคราะห์เหตุกระบวนทัศน์ใหม่และระเบียบวิธีมุมมองภาษาศาสตร์เชิงนิเวศดั่งนี้ หนึ่งชี้สัมพันธ์ระหว่างภาษากับระบบนิเวศนั้นทางกายภาพ  องค์ประกอบสำคัญนั้นให้ทราบกับความรู้  ที่เชื่อมโยงลงมาสู่ภาษากับนิเวศวิทยาว่าดังนี้  การเปลี่ยนแปลงทางนิเวศวิทยาที่เกี่ยวข้องกับภาษา  สู่สิ่งแวดล้อมธรรมชาติกระบวนทัศนาภาษาศาสตร์ โดยคำนึงถึงมนุษยชาติไม่เพียงแต่ส่วนหนึ่งของสังคม  แต่เป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศอันอุดมที่ใหญ่กว่า การดำรงชีวิตมาอย่างอิสระอยู่ร่วมกันเป็นระบบมา  แนวคิดนิเวศวิทยามีปฏิสัมพันธ์กับของสิ่งอื่นและสิ่งแวดล้อมย่อมเห็นได้ ภาษาศาสตร์สามารถใช้แก้ไขปัญหา สิ่งแวดล้อมระบบนิเวศวิทยาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไป  การสูญเสียความปลอดภัยทางชีวภาพตลอดจนความยุติธรรม


บทความสิบ "วัจนกรรมการแสดงความรู้สึกที่ปรากฏในเรื่องอิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง"  ชี้เห็นจริงเรื่องวัจนกรรมคำพูดหมาย  โดยใช้เกณฑ์เห็นอภิปรายวิเคราะห์  วัจนกรรมจามเจตนาการสื่อสาร โดยใช้แนวคิด John R Searle เสนอหลักการเงื่อนไขวัจนกรรม ผลการศึกษาพบคำแสดงความรู้สึกด้านบวกนี้มีเจ็ดด้าน ดีใจ รัก คิดถึง เป็นห่วง ขอบคุณ จงรักภักดี  รู้สึกผิด  ส่วนด้านลบขบคิดแปดด้านนั้นปรากฏ ความรู้สึกโศกสลด โกรธ  น้อยใจ ประชด เย้ยหยัน หนักใจ และรู้สึกกลัว  วัจนกรรมด้านบวกพบมากที่สุดทั่วคือเป็นห่วง วัจนกรรมด้านลบพบมากทั้งปวงโขคือโกรธา


กาพย์ยานี


สิบเรื่องสืบเนื่องอ่าน                 ล้วนหลักฐานสรรศึกษา


วิวิธวรรณมั่นอักษรา                 พาผู้คนด้นเดินทาง


 


บุณยเสนอ ตรีวิเศษ


บรรณาธิการ

Article Details

How to Cite
Triwiset, B. . (2024). Editorial Note. Wiwitwannasan Journal of Language and Culture, 8(1). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wiwitwannasan/article/view/273444
Section
Editorial Note

References

-