การพัฒนาอัตลักษณ์เสื่อกกชุมชนเสม็ดงาม ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

สมปอง มูลมณี
อภิสรา โคตรโยธา
วุฒินันท์ สุพร

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการพัฒนาอัตลักษณ์เสื่อกกชุมชนเสม็ดงาม ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอัตลักษณ์การทอและลวดลายเสื่อกก 2) พัฒนาอัตลักษณ์เสื่อกกเสม็ดงามด้วยกระบวนการแบบมีส่วนร่วม และ 3) พัฒนาผลิตภัณฑ์จากลวดลายอัตลักษณ์เสื่อกกจันทบูร ให้แก่ชุมชนเสม็ดงาม ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี การวิจัยในครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพหรือการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยวิเคราะห์ข้อมูล ระยะที่ 1 ใช้กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วมสัมภาษณ์และจัดการสนทนากลุ่ม โดยเก็บข้อมูลจากสมาชิกกลุ่มสตรีทอเสื่อกกจันทบูร ชุมชนเสม็ดงาม จำนวน 50 คน โดยจำแนกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ สมาชิกผู้ทอเสื่อกก จำนวน 20 คน สมาชิกช่างตัดเย็บ แปรรูปเสื่อ จำนวน 10 คน และสมาชิกผู้ผลิตเส้นกก ปอ และสมาชิกทั่วไป จำนวน 20 คน  โดยการสุ่ม/เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า การวิจัยระยะที่ 2 กระบวนการสร้างอัตลักษณ์ใหม่ลายเสื่อกกและสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ด้วยกระบวนการแบบมีส่วนร่วมจัดประชุมสมาชิกกลุ่มผู้ทอเสื่อเสม็ดงาม  จำนวน 25 คน เพื่อปฏิบัติการค้นหาอัตลักษณ์ใหม่ นำอัตลักษณ์ใหม่เข้าสู่การออกแบบลาย การทอ และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบ


 ผลการวิจัยพบว่า อัตลักษณ์ของการทอเสื่อกกบ้านเสม็ดงามมีอัตลักษณ์ดั้งเดิม 2 ลักษณะได้แก่ อัตลักษณ์กกน้ำกร่อยเรียกว่ากกจันทบูร และอัตลักษณ์การทอลายเสื่อเสม็ดงาม ผลการพัฒนาอัตลักษณ์เสื่อกกบ้านเสม็ดงามด้วยกระบวนการแบบมีส่วนร่วม ทำให้ได้ลวดลายใหม่ 5 ลาย และนำไปใช้ต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบทั้งหมด ได้แก่ กระเป๋าสตรี และกระเป๋าแฟชั่น

Article Details

How to Cite
มูลมณี ส., โคตรโยธา อ. . ., & สุพร ว. (2024). การพัฒนาอัตลักษณ์เสื่อกกชุมชนเสม็ดงาม ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี. วิวิธวรรณสาร วารสารด้านภาษาและวัฒนธรรม, 8(3), 423–442. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wiwitwannasan/article/view/276067
บท
บทความวิชาการ/บทความวิจัย

References

Apinya, F. (2000). Identity: A review of theories and frameworks. National Research Council of Thailand, Office of the National Research Council of Thailand. (In Thai)

Chaikulap, I. (2018). The Process of Creating Identities for the Product Development Community in Loei Province (Master’s thesis). Naresuan University. (In Thai).

Kaewvorasoot, T. (2011). The development of pattern and product design from Kok woven case study Ban Nonn Nok Ho Amnatcharoen Province (Master’s thesis). Ubon Ratchathani University. (In Thai).

Krorket, P., Wihoosana, S., & Peeranut, L. (2022). Existence factors of Chantaboon reed mats. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology, 7 (3), 1-16. (In Thai).

Monthon, C. (2008). Factors of marketing communication affecting tourist destination selection: A case study of Koh Mook, Trang Province (Master's thesis). King Mongkut's Institute of Technology, Ladkrabang.

Prapphanpong, C. (2008). The meaning of participation. Pathum Thani: Valaya Alongkorn Rajabhat University.

Ramrit, S., Khiaomang, K. & Kim Sung-hee. (2019). The Development of Buriram’s Silk Identity to Commercial Product Design. Journal of Humanities & Social Sciences (JHUSOC), 17 (2), 1-20. (In Thai).

Royal Institute. (2011). Royal Institute Dictionary 2011 Edition. Retrieved from https://dictionary.orst.go.th/. (In Thai).

Songwut, E., & Thongchai, Y. (2016). Study and development of bamboo furniture products based on the weaving wisdom in Khaen Dong District, Buriram Province. Department of Architectural Education and Design, Faculty of Industrial Education, King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang.

Tin, P. (1995). Organizational theory (3rd ed.). Bangkok: Thai Watthanapanich.

Wipatcha, P. & Pangkesorn, A. (2022). Developing Hand- Woven Fabric Production Through the Participation Among Producers, Designers, Distributors and Consumers in Mukdahan Province. The 13th Hatyai National and International Conference. (pp.2836-2849). Songkhla: Hatyai University. (In Thai).