ภูมิปัญญาด้านวัฒนธรรมอาหารประเภทกะละแมในประเพณีสงกรานต์ของชาวมอญตำบลบางตะไนย์ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาการทำกะละแมของชาวมอญ ตำบลบางตะไนย์ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยมีขั้นตอนการศึกษาดังนี้ การรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามผ่านการสัมภาษณ์และการสังเกต และใช้แนวคิดจากอังกูล สมคะเนย์กับสุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์มาเป็นกรอบแนวคิดในการวิเคราะห์ข้อมูล จากผลการศึกษาพบว่าการกระบวนการทำกะละแมและวัตถุดิบที่นำมาใช้ยังคงเป็นแบบดั้งเดิม คือ กะละแมของชาวมอญบางตะไนย์เป็นกะละแมเม็ด ที่ทำจากข้าวเหนียวและกะทิที่นำมาคั้นน้ำกะทิเองเพื่อความเข้มข้นของรสชาติและให้ได้กะละแมที่มีคุณภาพ แม้ว่าในปัจจุบันอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้จะเปลี่ยนไปตามสภาพสังคม เช่น มีการใช้เตาแก๊สแทนเตาฟืน มีการใช้เครื่องจักรเข้ามาช่วยในกระบวนการผลิตแต่ยังคงรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนชาวมอญบางตะไนย์ การศึกษากระบวนการผลิตการทำกะละแม ทำให้พบภูมิปัญญาท้องถิ่น 3 ประการ ได้แก่ 1. ภูมิปัญญาด้านคติความเชื่อที่เชื่อว่ากะละแมเป็นขนมหวานที่นำความสุขและความหวานชื่นมาสู่ชีวิต 2. ภูมิปัญญาด้านการประกอบอาชีพที่พบว่ามีการนำกะละแมที่เคยทำในช่วงเทศกาลมาต่อยอดเป็นอาชีพของครอบครัว 3. ภูมิปัญญาด้านการสร้างสรรค์ ชาวมอญบางตะไนย์ได้นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาเป็นเครื่องมือในการช่วยผลิตและนำพลาสติกมาเป็นบรรจุภัณฑ์แทนใบตองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความสะดวกในการจัดจำหน่าย
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ของบทความเป็นของวารสาร การพิมพ์ซ้ำจะต้องได้ร้บการอนุญาตจากบรรณาธิการวารสาร
References
Adsakul, S. (1999). Maintaining the cultural identity of the Mon people: a case study of the Ban Muang Mon community, Ban Muang Subdistrict, Ban Pong District, Ratchaburi Province (Research Report). Chulalongkorn University, Bangkok. (In Thai)
Ampai, M . (2009a). Project to preserve and revive the Mon language by creating literature. For Mon youth, Ban Pong District, Ratchaburi Province. Bangkok: Office of the Science Promotion Board, Research and innovation. (In Thai)
Ampai M. (2009b). Project to preserve and revive the Mon language by creating literature for Mon youth, Ban Pong District, Ratchaburi Province (Complete report). Office of the Science Promotion Commission Research and innovation. (In Thai)
Bunpuek, P. (2022). Mon’s Cultural Heritage in Thailand (1st ed.). Nonthaburi: Learning Center Project for the Multiple Intelligence Community Information Library Office Sukhothai Thammathirat Open University. Retrieved from https://library.stou.ac.th (In Thai)
Bunjoon, O. (2011). Songkran Kalamae (Kwan Hakor). Arts and Culture, 32 (4), 42–45. (In Thai)
Chamnong T. (2010). Transmitting local cultural wisdom regarding local food of the Bang Kradi community (Doctoral dissertation). Bansomdejchaopraya Rajabhat University. (In Thai)
Dongsombat, S., Meethaisong, T., & Bangperg, K. (2019). Adaptation to the Change in the Culture and Belief of the Community of Tamyae Village, Khaen Sub-District, Wapi Pathum District, Maha Sarakham Province. KKU International Journal of Humanities and Social Sciences, 9 (3), 144–164.
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/KKUIJ/article/view/209670/158163 (In Thai)
Mai Krue Kaew, S., Chantharo, P., Apirattanusorn S., & Sutham P. (2017). Local food cultural wisdom and spatial relationships, Surat Thani Province. Area Based Development Research Journal, 9 (4), 274–296. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/abcjournal/article/view/106377 (In Thai)
Wasina C. (2006). Reversing the legend of Thai folk food - Raman. Bangkok: Superior Printing House. (In Thai)
Samet Subdistrict Municipality (n.d.). Local Wisdom - Knowledge Transfer on Cooking - (Kalamae). Retrieved from https://www.samedcity.go.th/attachments/3185.pdf (In Thai)
Sukhapirom, P. (2022). The Roles of Mon Cuisine Culture in Ban Pong District, Ratchaburi Province. Journal of Humanities and Social Sciences, Burapha University, 29, (3), 54-75. (In Thai)