การสร้างสรรค์ศิลปกรรมเมืองเชียงแสนบนพื้นฐานประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อรองรับมหกรรมศิลปกรรมร่วมสมัยนานาชาติไทยแลนด์ เบียนนาเล่ เชียงราย 2023

Main Article Content

สมหวัง อินทร์ไชย
อาภิสรา พลนรัตน์

บทคัดย่อ

           งานวิจัยฉบับนี้ มีจุดประสงค์ คือ เพื่อศึกษาวิเคราะห์และสังเคราะห์ประวัติศาสตร์เมืองเชียงแสน และเพื่อสร้างสรรค์งานศิลปกรรมร่วมสมัยจากข้อมูลประวัติศาสตร์เมืองเชียงแสน มีขั้นตอนการศึกษา ประกอบด้วย ศึกษาประวัติศาสตร์เมืองเชียงแสนจากเอกสารปฐมภูมิประเภทตำนาน พงศาวดาร และเอกสารทุติยภูมิประเภทงานประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์ นำข้อมูลประวัติศาสตร์ที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อจัดทำภาพจิตรกรรมประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองเชียงแสน ตรวจสอบข้อมูลโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ศิลปิน นักวิจัย และนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ โดยวิธีการประชุมแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัย พบว่า


          ประวัติศาสตร์เมืองเชียงแสนที่ผ่านการวิเคราะห์และสังเคราะห์ สำหรับจัดทำภาพจิตรกรรมประวัติศาสตร์เมืองเชียงแสน เริ่มตั้งแต่ยุคราชวงศ์ลวจักราช พ.ศ. 1181 ถึง ปัจจุบัน โดยแบ่งออกเป็น 5 ช่วงตามยุคสมัย ได้แก่ ช่วงที่ 1 ยุคราชวงศ์ลวะจักราช พ.ศ. 1181 - 1802 จำนวน 6 ภาพ, ช่วงที่ 2 ยุคราชวงศ์มังราย พ.ศ. 1802 - 2100 จำนวน 26 ภาพ, ช่วงที่ 3 ยุคเป็นเมืองขึ้นของพม่า พ.ศ. 2101 -  2317 จำนวน 4 ภาพ, ช่วงที่ 4 ยุคเป็นส่วนหนึ่งของสยาม 2347 ถึงยุคการเปลี่ยนการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พ.ศ. 2475 จำนวน 8 ภาพ, ช่วงที่ 5 ยุคหลังการประกาศการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2476 ถึงปีสิ้นสุดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2539 จำนวน 3 ภาพ และช่วงที่ 6 ยุคประวัติศาสตร์ร่วมสมัย พ.ศ. 2540 ถึงปัจจุบัน จำนวน 3 ภาพ


          แนวทางการคัดเลือกเรื่องราวในประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองเชียงแสน มาจัดทำภาพจิตรกรรม สัมพันธ์กับแนวคิดกระบวนการสร้างสรรค์องค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์ 4 ประการ คือ 1) เป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเมืองเชียงแสนทั้งโดยตรงและโดยอ้อม 2) เป็นข้อมูลที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์รองรับและสามารถอธิบายให้คำตอบได้ 3) เป็นข้อมูลที่ตอบจุดมุ่งหมายงานวิจัย และ 4) เป็นข้อมูลที่สัมพันธ์กับวัฒนธรรมและแหล่งศิลปกรรมเมืองเชียงแสน


          การจัดทำภาพจิตรกรรมประวัติศาสตร์เมืองเชียงแสน ได้จัดทำ 2 รูปแบบ คือ 1) เทคนิคสีอะคริลิคบนผ้าใบ ขนาด 45 x 60 ซม. เป็นงานศิลปะร่วมสมัย ใช้สีที่หลากหลายตามเรื่องราวที่ปรากฎ โดยมีศิลปินผู้สร้างสรรค์เพียงคนเดียว 2) เทคนิคสีอะคริลิคบนผ้าใบ ขนาด 42 x 86 ซม. เป็นงานศิลปะลายคำล้านนาร่วมสมัย คือ ใช้สีพื้นผ้าใบเป็นสีแดงเลือดนก ภาพเป็นสีทอง โดยมีศิลปินผู้สร้างสรรค์หลายคน รูปแบบภาพจิตรกรรมที่เหมาะสมกับลักษณะการเล่าเรื่อง ศิลปินนำภาพต้นแบบไปวาดบนกำแพงในเขตพื้นเมืองเชียงแสน และการสร้างสรรค์โดยศิลปินหลายคน คือ ภาพจิตรกรรมแบบศิลปะลายคำล้านนาร่วมสมัย จึงเป็นรูปแบบที่ได้รับการคัดเลือกสำหรับจัดทำภาพจิตรกรรมทั้ง 50 ภาพ


          การนำภาพจิตรกรรม จำนวน 50 ภาพ และข้อมูลประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองเชียงแสนคืนสู่ชุมชนในรูปแบบนิทรรศการทางศิลปะ จึงเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และก่อให้เกิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์แก่ชุมชน มีจุดหมายปลายทางที่ผลประโยชน์ด้านธุรกิจท้องถิ่น และความรุ่มรวยของชุมชน

Article Details

How to Cite
อินทร์ไชย ส., & พลนรัตน์ อ. (2024). การสร้างสรรค์ศิลปกรรมเมืองเชียงแสนบนพื้นฐานประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อรองรับมหกรรมศิลปกรรมร่วมสมัยนานาชาติไทยแลนด์ เบียนนาเล่ เชียงราย 2023. วิวิธวรรณสาร วารสารด้านภาษาและวัฒนธรรม, 8(3), 409–422. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wiwitwannasan/article/view/278131
บท
บทความวิชาการ/บทความวิจัย

References

Chopyot, S. (2019). Local history for the development of a strong and sustainable local foundation. Journal of the Institute of Public Administration,17 (2),115 – 138. (In Thai)

Chuwan, Y. (2008). Local History of Thailand. Bangkok: Thailand Research Fund. (In Thai)

Eawsriwong, N. & Phattiya, A. (1982). Historical Evidence in Thailand. Bangkok: Bannakit Trading. (In Thai)

Ongsakun, S. (2018). History of Lanna. (12th ed.). Bangkok: Amarin Printing and Publishing. (In Thai)

Phra Rattanapanya thera. (1967). Jinakalamalipakarana. (S. Monwitoon, Trans). (2nd ed.). Mitnara Printing House. (In Thai)

Phraya Prachakitkarajak, (C. Bunnag). (1973). Yonok Chronicles. (7th ed.) Bangkok: Khlangwitthaya Publishing House. (In Thai)

Pidokrat, N. (2019). Theory of Art Creation. Academic Journal of Faculty of Humanities and Social Sciences, Nakhon Sawan Rajabhat University, 6, (2), 234 – 248. (In Thai)

Ruangkhan, S. (1970). Tourist Guide of Ancient Objects in Chiang Saen District. Bangkok: n.p. (In Thai)

Sirichai, A. (2018). The essential archaeological features of Chiang Saen. Chiang Rai: Lo Lanna. (In Thai)

Sunthoraphet, S. (2005). Anthropology and History. (2nd ed.) Bangkok: Muang Boran. (In Thai)

Suphattraivorapong, B., Saengchaiya, A., & Suphattraivorapong, P. (2019). Painting: Figures and Symbols in Rural Life. Maha Sarakham: Faculty of Humanities and Social Sciences, Maha Sarakham Rajabhat University. (In Thai)

Thammapreechakorn, P. (1996). Chiang Saen City. Bangkok: Department of Fine Arts, Ministry of Education. (In Thai)

Valliphodom, S. (2002). Tourism and Management of Ancient Sites and Artistic Environment. Chiang Mai: Social Research Institute, Chiang Mai University. (In Thai)