การเห็นคุณค่าในตนเอง: พลังแห่งความคิดเชิงบวกของตัวละครเยาวชน ในวรรณกรรมรางวัลแว่นแก้ว

Main Article Content

ปาริชาต โปธิ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพลังแห่งความคิดเชิงบวกด้านการเห็นคุณค่าในตนเองของตัวละครเยาวชนในวรรณกรรมรางวัลแว่นแก้ว วิธีวิจัยเริ่มจากรวบรวมข้อมูลเกี่ยวข้อง ได้แก่ ข้อมูลตัวบทวรรณกรรม นวนิยายสำหรับเยาวชนที่ได้รับรางวัลแว่นแก้ว จำนวน 4 เรื่อง และข้อมูลแนวคิดทฤษฎี คือ แนวคิดการคิดเชิงบวก และแนวคิดการเห็นคุณค่าในตนเอง จากนั้นจึงเก็บข้อมูลในตัวบทด้วยกระบวนการอ่านคร่าว ๆ อ่านเก็บความคิด และอ่านละเอียด แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยการจัดระบบ ตีความ และสังเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ตัวละครเยาวชนสะท้อนพลังการเห็นคุณค่าในตัวเองด้านการคิดเชิงบวก 4 ด้าน ได้แก่ 1) ความมั่นใจและการมองโลกในแง่ดีสู่การรับรู้ว่าตนมีความสามารถ 2) ความเชื่อมั่นและศรัทธาสู่การรับรู้ว่าตนมีความสำคัญ 3) ความกล้าหาญและมุ่งมั่นสู่การรับรู้ว่าตนมีอำนาจ และ 4) ความยึดมั่นในคุณธรรมสู่การรับรู้ว่าตนมีคุณความดี ในภาพรวมสะท้อนให้เห็นว่าวรรณกรรมเยาวชนรางวัลแว่นแก้วมีกลวิธีนำเสนอพัฒนาการทางความคิดของตัวละครทำหน้าที่เป็นเครื่องมือชี้แนะเยาวชนเกี่ยวกับการค้นหา “ตน” เพื่อ “พบตน” เพราะเยาวชนจะเกิดพัฒนาการทางความคิดเชิงบวกจากการค้นหาตนเอง การเข้าใจตนเอง และการเห็นคุณค่าในตนเอง ผ่านอิทธิพลและวิธีค้นหาตนเองจากสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และสถาบันสังคม เพื่อให้เยาวชนมองสถานการณ์ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงอย่างมีสติ ทำให้ต่อสู้อุปสรรคต่าง ๆ จนประสบความสำเร็จ และเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสุขในชีวิตได้

Article Details

How to Cite
โปธิ ป. (2024). การเห็นคุณค่าในตนเอง: พลังแห่งความคิดเชิงบวกของตัวละครเยาวชน ในวรรณกรรมรางวัลแว่นแก้ว . วิวิธวรรณสาร วารสารด้านภาษาและวัฒนธรรม, 8(3), 353–368. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/wiwitwannasan/article/view/278565
บท
บทความวิชาการ/บทความวิจัย

References

Assavavirulhakarn, P. (2019). “Unit 11 beliefs and religion and thai society” in Teaching documents for Thai Studies. Nonthaburi: Office of the Sukhothai Thammathirat Open University Press. (In Thai)

Chandransi. (2018). Birthday of khao mong. Bangkok: Nanmeebooks. (In Thai)

Coopersmith, S. (1981). The Antecedents of Self-Esteem (2nd ed.). Consulting Psychologist Press.

Ekarun. (2020). Golden seahorse (2nd ed). Bangkok: Nanmeebooks. (In Thai)

Kaeokangwan, S. (2002). Lifespan human development (8th ed.) Bangkok: Thammasat University Press. (In Thai)

Kaeokangwan, S. (2018). Personality psychology theory (know us, know them) (17th ed.). Bangkok: Doctor Publishing. (In Thai)

Liaotianchai, W. (2020). Contemporary youth problems in Wankaew awarded in young adult fiction during 2015-2018 (Master’s thesis). Chulalongkorn University. (In Thai)

Muangkaew, P. (2016). The development of guidance activities model with contemplative education for enhancing self-esteem for mathayomsuksa 3 students. Journal of Education Naresuan University, 18 (2), 50-59.

Paniem, P. (2011). The analysis of wankaeo award winning literature for youth in the 2010 (Master’s thesis). Silpakorn University. (In Thai)

Phra Phrom Kunaporn (P.A. Payutto). (2008). Dictionary of Buddhism (17th ed.). Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (In Thai)

Qiubo, H. (2021). Reflections of Thai Society in Wankaew Award Novels for Young Adults, during 2015 - 2018 (Master’s thesis). Huachiew Chalermprakiet University. (In Thai)

Sujeera, S. (2008). The top secret. Bangkok: Amarin Dhamma. (In Thai)

Thammabut, M. (2007). The power of positive thinking. Journal of KhruChandrasan, 1 (1), 58-64.

Thongyoo, D. (2014). Guideline for developing adolescent self-esteem based on self-efficacy theory. Valaya Alongkorn Review Journal, 4 (2), 179-190.

Ventrella, S.W. (2001). The Power of Positive Thinking in Business: Ten Traits for Maximum Results. Free Press.

Wiboonphat, K. (2020). Thank you for being together. Bangkok: Nanmeebooks. (In Thai)

Wongubon, T. (2020). The boy who ordered time to stop. Bangkok: Nanmeebooks. (In Thai)

Yan, L. (2017). Literary Techniques and Ideas in Young Adult Novels Winning 2014 Wankaew Award (Master’s thesis). Huachiew Chalermprakiet University. (In Thai)