ความป่วยไข้ของเพศหญิงในนวนิยายเรื่อง หนึ่งนับวันนิรันดร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความป่วยไข้ของเพศหญิงในนวนิยายเรื่อง หนึ่งนับวันนิรันดร บทประพันธ์ของ กิตติศักดิ์ คงคา ที่เชื่อมโยงกับระบบคิดแบบชายเป็นใหญ่ โดยแบ่งเป็น 4 ประเด็นได้แก่ 1) ความป่วยไข้ของเพศหญิงกับเรื่องเหนือธรรมชาติ 2) ความป่วยไข้ของเพศหญิงกับการบำบัด 3) ความป่วยไข้ของเพศหญิงในฐานะกลวิธีการเล่าเรื่อง 4) ความป่วยไข้ การเมือง ความเป็นอื่น ผลการศึกษาพบว่า ตัวบทนำเสนอให้เพศหญิงผู้ป่วยไข้เชื่อมโยงกับเรื่องเหนือธรรมชาติผ่านปรากฏการณ์การเดินทางข้ามเวลาและวิญญาณสวมร่าง เมื่อพิจารณาการบำบัดอาการป่วยไข้ของเพศหญิงพบว่า ตัวบทนำเสนอการใช้ยาและการไม่ใช้ยาควบคู่กันไป ซึ่งการบำบัดดังกล่าวไม่ได้ทำให้อาการป่วยไข้ของเพศหญิงดีขึ้น น่าสนใจคือผู้เขียนนำมุมมองของตัวละครที่ป่วยไข้มาใช้เป็นกลวิธีการเล่าเรื่อง โดยการเล่าเรื่องผ่านสายตาของผู้ป่วยทำให้เรื่องราวขาดช่วง ไม่ปะติดปะต่อ เสมือนการรับรู้ของผู้ป่วยด้วยโรคทางสมอง นอกจากนั้น ตัวบทยังเชื่อมโยงตัวละครเพศหญิงผู้ป่วยไข้กับการแสดงทัศนะทางการเมืองและความเป็นอื่นในระบอบชายเป็นใหญ่ ซึ่งโดยสรุปแล้ว บทความเรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่า ความป่วยไข้ของเพศหญิงไม่ใช่เพียงความผิดปกติทางร่างกายแต่ยังได้รับการนำเสนอภายใต้วิธีคิดแบบชายเป็นใหญ่
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ของบทความเป็นของวารสาร การพิมพ์ซ้ำจะต้องได้ร้บการอนุญาตจากบรรณาธิการวารสาร
References
Beard, M. (2020). Women Power. (N. Pathommawat, Trans). Bangkok: Bookscape. (In Thai)
Chaisinwattana, Y. (2016). Short Story: Analysis. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (In Thai)
Jennifer M. C. (1993). Illness and the Construction of Femininity in the English Novel,1840-1870 (Doctoral Dissertation). University of Canterbury.
Khongkha, K. (2022). Nueng Nap Wan Nirandon. Bangkok: 13357. (In Thai)
Kittimahacharoen, S. (2021). Invisible Enemy in 1937-1945 : Citizen’s Sickness in Modern Thai Literary work. Journal of Humanities Graduate School, 10 (2), 114-131. (In Thai)
Louiyapong, K. (2023). Saeng-Krasue: Gendered Ghost, Disease and Otherness in the Politics of Sexuality and the Real World. Journal of Journalism, Thammasat University, 16 (1) pp. 51-81. (In Thai)
Panha, M. (2015). Dracula : Orality and Animality in Urban Space. In Din, Nam, Lom, Fire, That, Universe: Toxic from Humanities Aspect. (pp. 203-254). Bangkok: Siampanya. (In Thai)
Pindasiri, N. (2023). Nueng Nap Wan Nirandon: When Love and Illness Resist Time. (In Thai)
Pragatwutisarn, C. (2020). The Fatal Female in the Beauty Body: Femininity and crisis of modernity in Thai Society. Bangkok: Project of Publication of Textbook, Faculty of Arts, Chulalongkorn University. (In Thai)
Wongwilas, R. (2020). The representation of sick man and woman and social transformation in modern Chinese literature. Research of Chinese Study Center, Institute of East Asian Studies,Thammasat University. (In Thai)