การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และนำเสนอรูปแบบการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี รูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามที่มีค่า
ความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.952 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุในเขตพื้นที่
ของเทศบาลตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีโรงเรียนผู้สูงอายุในจังหวัดจันทบุรี จำนวน 390 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 รูปหรือคน
โดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาและการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน
เพื่อยืนยันโมเดลหลังจากการสังเคราะห์ข้อมูลผลการวิจัยพบว่า
1. การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2. ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี พบว่า การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสวัสดิการผู้สูงอายุผ่านหลักไตรสิกขา 3 ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรีร้อยละ 40
3. รูปแบบการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี พบว่า การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
- มีปัจจัยพื้นฐาน 2 ประการ คือ การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสวัสดิการผู้สูงอายุ โดยบูรณาการหลักไตรสิกขา 3 มาใช้เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2563). ข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดจันทบุรี. เรียกใช้เมื่อ 2 ตุลาคม 2563 จาก http://chanthaburilocal.go.th/public.
โกนิฏฐ์ ศรีทอง และคณะ. (2546). การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวพุทธศาสตร์: กรณีศึกษาวัดอัมพวันจังหวัดสิงห์บุรี. ใน รายงานการวิจัย คณะสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ประมวล คิดคินสัน. (2555). วัยท้าย วัยทอง. กรุงเทพมหานคร: แพร่พิทยา.
ปรีชญา เทพละออง. (2561). ปแบบการพัฒนาสุขภาวะองค์รวมเชิงพุทธสาหรับชมรมผู้สูงอายุ. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 14(ฉบับพิเศษ), 206-217.
พระมนตรี กิจฺจสโร (วิโรจะ). (2561). การปรับใช้หลักไตรสิกขาเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนโรงเรียนศรีวิไลวิทยา อำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ. วารสารธาตุพนมปริทรรศน์, 2(2), 99-100.
พระสุนทรกิตติคุณ. (2560). หลักพุทธธรรมกับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมในผู้สูงอายุ. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 3(1), 11-25.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รศรินทร์ เกรย์ และคณะ. (2556). มโนทัศน์ใหม่ของนิยามผู้สูงอายุ: มุมมองเชิงจิตวิทยาสังคมและสุขภาพ. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล.
ศากุล ช่างไม้. (2550). สังคมไทยกับสถานการณ์ผู้สูงอายุในปัจจุบันและอนาคต. กรุงเทพมหานคร: มติชน.
สมโภชน์ อเนกสุข. (2548). รูปแบบการดำรงชีวิตของผู้สูงวัยอายุเกิน 100 ปี จังหวัดชลบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์, 17(1), 95-107.