รูปแบบการพัฒนาทางการเมืองเพื่อสร้างความเป็นธรรม และลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมในจังหวัดเลย

Main Article Content

พัชรี สายบุญเยื้อน
เติมศักดิ์ ทองอินทร์
สุรพล สุยะพรหม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพทั่วไปและปัญหา อุปสรรค ความเหลื่อมล้ำทางสังคมในจังหวัดเลย 2) เพื่อศึกษากระบวนการส่งเสริมการแก้ไข ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมในจังหวัดเลยและ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการ การแก้ปัญหาความเหลื่อล้ำในสังคมจังหวัดเลยโดยบูรณาการหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัย เชิงผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยโดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบเจาะจงผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 17 รูป/คน และการวิจัยเชิงปริมาณโดยสุ่มตัวอย่างจาก ประชาชนในพื้นที่จังหวัดเลย 14 อำเภอที่มีสิทธิในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร


ผลการวิจัยพบว่า


1. วิเคราะห์สภาพทั่วไปและปัญหา อุปสรรค ความเหลื่อมล้ำทางสังคมในจังหวัดเลย จังหวัดเลยเป็นจังหวัดชายแดนและอยู่ห่างไกล ทำให้ยากต่อการพัฒนาและประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการเมืองที่ถูกต้อง นิยมในระบบอุปถัมภ์


2. การพัฒนาความรู้ความเข้าใจทางการเมืองเพื่อสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำจังหวัดเลย พบว่า การพัฒนาทางการเมืองจำเป็นต้องสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมทางการเมืองให้กับประชาชนและ ความเป็นธรรมทางสังคมให้กับประชาชนด้วยความเสมอภาคและเท่าเทียม รวมทั้งการความเหลื่อมล้ำทางสังคมโดยเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงสวัสดิการ การเข้าถึงทางการศึกษา ความยุติธรรมและโอกาสทางการเมือง ภาพรวมอยู่ในระดับมาก


3. นำเสนอรูปแบบการพัฒนาความรู้ความเข้าใจทางการเมืองเพื่อสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำโดยบูรณาการการหลักสารณียธรรม 6 มาปรับใช้ในการพัฒนาทางการเมืองเพื่อสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมจังหวัดเลยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พระธนบูลย์ สุวณฺโณ (หันมนตรี). (2563). การนำหลักสาราณียธรรมมาส่งเสริมการอยู่ร่วมกันของชุมชนทุ่งละอองตำบลบางวัน อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(1), 57-68.

ยงยุทธ บุราสิทธิ์. (2556). ชุมชนคนอีสานกับปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมในกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษาชุมชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. วารสารภาษาและวัฒนธรรม, 32(1), 67-91.

ศิริพงษ์ อรุณเดชาชัย และคณะ. (2560). สถานีสาราณียธรรม : พื้นที่บ่มเพาะความรู้ชุมชน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11(1), 183-195.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). รายงานสถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ในระดับภาคของประเทศ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สิริยา รัตนช่วย และโกวิทย์ พวงงาม. (2558). แนวทางการสร้างความเป็นธรรมในการเข้าถึงและรับประโยชน์จากแหล่งเงินทุนในชุมชนและปัจจัยที่จะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ด้อยโอกาสโดยเลือกเอาอำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารการเมืองการปกครอง: การจัดการบ้านเมืองที่ดี/นโยบาย (Good Governance / Policy), 5(2), 130-143.

สุปรียา หวังพัชรพล และคณะ. (2560). ชุดโครงการวิจัยความเหลื่อมล้ำและคนจนเมือง. ใน รายงานการวิจัย. สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พช.).

อรรฆพร ก๊กคำพล และคณะ. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเหลื่อมล้ำทางสังคมในพื้นที่การ ท่องเที่ยวโดยชุมชน ประเทศไทย. มนุษยศาสตร์สาร, 21(3), 214-236.

อารยะ ปรีชาเมตตา และคณะ. (2555). พลวัตการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจไทยในเชิงพื้นที่กับปัญหาความเหลื่อมล้ำ. ใน รายงานการวิจัย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

อำไพ แสนหมื่น. (2556). โครงการวิจัยเพื่อการพัฒนาและการแก้ไขความเหลื่อมล้ำทางสังคม กรณีชุมชนคาลเท็กซ์. วารสารวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 36(1), 29-48.

Cingranelli, D. L. (1981). Race, politics and elites: Testing alternative models of municipal service distribution. American Journal of Political Science, 25(4), 664-692.

Suwanmolee, S. (2017). Inequality Pathway of Rawai Sea Gypsies in Phuket Province (in Thai). Walailak Journal of Social Sciences, 10(1), 89-135.