การธำรงรักษาบุคลากรที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กร ในโรงเรียนนานาชาติภาคใต้
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการธำรงรักษาและความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรในโรงเรียนนานาชาติภาคใต้ 2) ศึกษาการธำรงรักษาบุคลากรที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรในโรงเรียนนานาชาติภาคใต้ และ 3) เสนอแนวทางการธำรงรักษาบุคลากรที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรในโรงเรียนนานาชาติภาคใต้ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัย เชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรคนไทย ที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนการศึกษา (Supporting Staff) ผู้บริหารและครูผู้สอน (Teaching Staff) ในโรงเรียนนานาชาติภาคใต้ จำนวน 12 โรงเรียน จำนวน 155 คน และมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ บุคคลที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยมีคุณสมบัติตามที่ผู้วิจัยกำหนดไว้ คือ มีประสบการณ์การทำงานในโรงเรียนในระบบ ประเภทนานาชาติเป็นระยะเวลาเกิน 10 ปี จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผ่านการทดสอบค่าความเชื่อมั่น มีค่าเท่ากับ 0.975 และแบบสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยระบบออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า
1. การธำรงรักษาบุคลากรในโรงเรียนนานาชาติภาคใต้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ความผูกพันต่อองค์กรในโรงเรียนนานาชาติภาคใต้โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. การธำรงรักษาบุคลากรที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรในโรงเรียนนานาชาติภาคใต้ พบว่า มีจำนวน 4 ตัวแปร คือ ด้านการจูงใจ ด้านการบริหารค่าตอบแทน ด้านบุคลากรสัมพันธ์ และด้านวินัยและการลงโทษส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5
3. แนวทางการธำรงรักษาบุคลากรที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรในโรงเรียนนานาชาติภาคใต้ พบว่า "การร่วมคิด ร่วมทำ" เสริมสร้างความรู้สึกที่ดี ความรู้สึกของการมีส่วนร่วม ทำให้นักเรียนและบุคลากรเกิดความรู้สึกพอใจ ภูมิใจ อบอุ่นใจ รู้สึกในความเป็นเจ้าของ รักศรัทธา มีทัศนคติที่ดีต่อองค์กรและอยากอยู่กับองค์กรให้ได้นานที่สุดแม้มีความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2556). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นภาวรรณ ธนะแก้ว. (2562). สภาพและแนวทางการเสริมสร้างความผูกพันในองค์กรของครูตามทัศนะ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในอำเภอเชียงของ สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 4. ใน ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยพะเยา.
บุณญาภา ปกิระสัง. (2559). แนวทางการสรรหาคัดเลือกและธำรงรักษาครูชาวต่างชาติของโรงเรียนนานาชาติในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิชิต เทพวรรณ์. (2554). การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์: แนวคิดและกลยุทธ์เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
มณฑิชา เป้าบุญปรุง. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันกับองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร, 11(1), 99-112.
รอฮานี หีมมิหน๊ะ. (2559). ผลกระทบของแรงจูงใจในการทำงานต่อผลปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
รัชนีพร ไชยมิ่ง. (2558). การพัฒนากลยุทธ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการคงอยู่ในงานของอาจารย์วุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอก วิทยาลัยพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 8(4), 94-95.
รัตน์สินี รื่นนุสาน. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของครูโรงเรียนประจำ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสกสรร เมฆไตรรัตน์. (2550). การศึกษาการธำรงรักษาพนักงานที่มีศักยภาพสูงโดยใช้กลยุทธ์การบริหารค่าตอบแทน กรณีศึกษา บริษัท เอฟเอ็มพี กรุ๊ป (ประเทศไทย) ชลบุรี. ใน การศึกษาอิสระการจัดการมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.
อนงค์ศิริ โรจนโสดม. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของครูโรงเรียนสังกัดองค์กรบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
อนุพงษ์ หมื่นชัยยะ. (2561). แนวทางการธำรงรักษาบุคลากรระดับปฏิบัติการของโรงแรม 4 ดาว ในจังหวัดภูเก็ต. ใน วิทยานิพนธ์หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
อัญชนา คำสอด. (2559). เรื่องความผูกพันต่อองค์กรของครูโรงเรียนในกลุ่มศรีราชา 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี.
Mowday, R.T., & Steers, R.M. (1983). Employee organization linkages: The psychology of commitment, Absenteeism, and turnover. New York: Academic Press.
Robert J. Vance. (2006). Employee Engagement and Commitment SHRM Foundation. Printed in the United States of America.
Solomon Markos. (2010). mployee Engagement: The Key to Improving Performance. International Journal of Business and Management, 5(12), 89-94.