ความพึงพอใจของผู้ปกครองเกี่ยวกับการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก กลุ่มบางบ่อ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2

Main Article Content

อัญชลี ทัตตะรุจิ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองเกี่ยวกับการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก กลุ่มบางบ่อ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ปกครองเกี่ยวกับการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก กลุ่มบางบ่อ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา และอายุ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนขนาดเล็ก กลุ่มบางบ่อ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 9 โรงเรียน จากการเปิดตารางสำเร็จรูปของโคเฮนได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 241 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่ผ่านการทดสอบค่าดัชนีความสอดคล้องมีค่าอยู่ระหว่าง 0.8-1.0 ค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.29-0.92 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว โดยวิธีการของเชฟเฟ่


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ผู้ปกครองมีความพึงพอใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก กลุ่มบางบ่อ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการบริหารวิชาการ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านการบริหารทั่วไป

  2. ผู้ปกครองที่มีเพศ ระดับการศึกษา อายุต่างกันมีความพึงพอใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก กลุ่มบางบ่อ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชุติมา แพนกุดเรือ. (2556). ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการบริหารงานของโรงเรียนเทศบาลวัดลุ่มมหาชัยชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดระยอง. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

นากเกสร แก้วตา. (2551). ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการบริหารงานโรงเรียนศิริมาตย์เทวี อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. ใน การศึกษาอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ผ่องพักตร์ สุดสวาท. (2254). ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนวัดสุทธาวาส อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ผุสดี แสงหล่อ. (2555). ศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการบริหารงานของโรงเรียนสวนป่าอุปถัมภ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภูผา เค้างิ้ว. (2559). ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อการบริหารงานของโรงเรียนบ้านตูม (นพด.15 กรป. กลางอุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

มานิตย์ หมัดซาและ. (2560). ความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชน อิสลาม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. จังหวัดฉะเชิงเทรา.

ราชบัณฑิตสถาน. (2542). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คพับลิเคชั่น.

วรรณี แกมเกตุ. (2555). วิธีวิทยาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ (Research methodology in behavioral sciences). กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิก.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สุนทรี เตียงกูล. (2559). การศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนวัดศรีประชาราม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุภาวดี พันรินทร์. (2560). คุณลักษณะของผู้บริหารโรงเรียนที่พึงประสงค์ตามความคิดเห็นของผู้ปกครอง นักเรียนโรงเรียนบ้านสำนักทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยองเขต 1. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

อนัญญา ชมโฉม. (2560). ความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีต่อการบริหารจัดการโรงเรียนบ้านห้วยกะปิ จังหวัดชลบุรี. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

อนุชา ภูมิสิทธิพร และคณะ. (2561). การศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่มีต่อการรับบริการของศูนย์การศึกษาพิเศษที่มีต่อการรับบริการของศูนย์การศึกษาพิเศษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 12(2), 367-387.

Cohen, L. et al. (2011). Research methods in education (7th ed.). New York: Routledge.

Homb. (2000). Tales full of sound and fury: A cultural approach to family therapeutic work and research in rural Scandinavia. Family Process, 39(3), 285-306.

Quirk, M. F., & Norton, B. W. (1987). The relationship between the cobalt nutrition of ewes and the vitamin B12 status of ewes and their lambs. Australian Journal of Agricultural Research, 38(6), 1071-1082.

Wolman, A., et al. (1999). On the scale and performance of cooperative web proxy caching. CM SIGOPS Operating Systems Review, 33(5), 16-31.