โครงสร้างทางภาษาของส่วนของประโยคที่ปรากฏคำบอกจำนวนในหนังสือเรื่องเจ้าชายน้อย

Main Article Content

จันทรรัตน์ เรืองคณะ
จอมขวัญ สุทธินนท์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้มุ่งนำเสนอผลการศึกษาในประเด็นโครงสร้างทางภาษาของส่วนของประโยคที่ปรากฏคำบอกจำนวนในหนังสือเรื่องเจ้าชายน้อย ของสำนักพิมพ์จินด์ (ต้นฉบับพิมพ์ปี ค.ศ. 1943) โดยมีแหล่งข้อมูล คือ ประโยคที่ปรากฏคำบอกจำนวนในหนังสือเรื่องเจ้าชายน้อย (2565) กำหนดขอบเขตตัวอย่างที่ใช้วิเคราะห์โดยการเลือกแบบเจาะจง (purposive selection) เฉพาะประโยคที่ปรากฏคำบอกจำนวนที่ไม่มีนัยความหมายที่แสดงถึงคำบอกจำนวน 1 หรือ หนึ่ง และ เดียว จำนวนทั้งสิ้น 156 ประโยค


ผลการวิจัยพบว่า


โครงสร้างทางภาษาของส่วนของประโยคที่ปรากฏคำบอกจำนวน 4 แบบ ได้แก่ 1) คำบอกจำนวน จำนวน 9 โครงสร้าง พบมากที่สุด 129 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 82.70 2) คำบอกจำนวนที่ปรากฏร่วมกับคำหน้าจำนวน จำนวน 6 โครงสร้าง พบรองลงมา 23 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 14.74 3) คำบอกจำนวนที่ปรากฏร่วมกับคำหลังจำนวน จำนวน 2 โครงสร้าง พบน้อยที่สุด 2 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 1.28 ซึ่งเท่ากับแบบที่ 4) คำบอกจำนวนที่ปรากฏร่วมกับคำหน้าจำนวนและคำหลังจำนวน จำนวน 2 โครงสร้าง พบน้อยที่สุด 2 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 1.28 ผลการวิจัยดังกล่าวแสดงให้เห็นโครงสร้างของคำบอกจำนวนตามแนวคิดภาษาศาสตร์โครงสร้าง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กฤตวรรณ สาหร่าย. (2565). วรรณกรรมเจ้าชายน้อยกับการพัฒนาคุณธรรมของนักศึกษา คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสารสังคมภิวัฒน์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 13(1), 67-78.

คุณบรรจบ พันธุเมธา. (2562). ลักษณะภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 24). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จอมขวัญ สุทธินนท์ และจอมใจ สุทธินนท์. (2563). ความสัมพันธ์เชิงหน้าที่ของหน่วยทางภาษากรณีการขึ้นต้นพาดหัวข่าวเกี่ยวกับเรือสำราญในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, 3(2), 169-190.

จุฑารัตน์ เบญจฤทธิ์. (2552). "เจ้าชายน้อย" (Le Petit Prince): ภาพสะท้อนของผู้ประพันธ์ อองตวน เดอ แซงเต็กซูเปรี. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 31(1), 115-135.

ฐิติวรรณ ชีววิภาส. (2557). การศึกษาปริมาณของโครงสร้าง "คำบอกจำนวน + คำลักษณนาม (+คำนาม) " ที่มีคำกริยาวิเศษณ์ทำหน้าที่ขยายในภาษาจีนสมัยใหม่. วารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 7(2), 118-150.

ธัช มั่นต่อการ และคณะ. (2562). การศึกษาวิเคราะห์กริยาวลีในจารึกพะเยา. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย, 10(1), 67-76.

นววรรณ พันธุเมธา. (2527). ไวยากรณ์ไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์.

นิตยา กาญจนะวรรณ และคณะ. (2562). ลักษณะและการใช้ภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ราตรี ธันวารชร และอนันต์ เหล่าเลิศวรกุล. (2561). ประโยค. ใน วิจินตน์ ภาณุพงศ์ และคณะ (บ.ก.), บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 3: ชนิดของคำ วลี ประโยคและสัมพันธภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 2). (หน้า 91-116). กรุงเทพมหานคร: สถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

วิจินตน์ ภาณุพงศ์ และอนันต์ เหล่าเลิศวรกุล. (2561). ชนิดของคำ. ใน วิจินตน์ ภาณุพงศ์ และคณะ (บ.ก.), บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 3: ชนิดของคำ วลี ประโยคและสัมพันธภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 2). (หน้า 16-90). กรุงเทพมหานคร: สถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

วิจินตน์ ภาณุพงศ์ และอนันต์ เหล่าเลิศวรกุล. (2561). วลี. ใน วิจินตน์ ภาณุพงศ์ และคณะ (บ.ก.), บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 3: ชนิดของคำ วลี ประโยคและสัมพันธภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 2). (หน้า 66-90). กรุงเทพมหานคร: สถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

วิภาวี รัตนานุกูล และจอมขวัญ สุทธินนท์. (2561ก). การศึกษาหน่วยกรรมในวรรณกรรมแปลเรื่อง "เจ้าชายน้อย". การประชุมวิชาการระดับชาติเครือข่ายวิจัยสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ครั้งที่ 12 "สานพลังเครือข่ายอุดมศึกษา เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน". มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เครือข่ายอุดมศึกษาภาคใต้ตอนล่าง และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.).

วิภาวี รัตนานุกูล และจอมขวัญ สุทธินนท์. (2561ข). หน่วยกรรมในประโยคที่แสดงเจตนาต่าง ๆ จากวรรณกรรมแปลเรื่องเจ้าชายน้อย. การประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 1 "มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์: พลังปัญญาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน". คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

อองตวน เดอ แซงเตกซูเปรี. (2556). เจ้าชายน้อย [Le Petit Prince] (อำพรรณ โอตระกูล, แปล). เชียงใหม่: จินด์.

อุปกิตศิลปสาร, พระยา. (2545). หลักภาษาไทย: อักขรวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ ฉันทลักษณ์ (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร: ไทยพานิช.

Sarakadeelite. (2563). เจ้าชายน้อย เด็กหนุ่มผมสีทองจากดาว B612 วรรณกรรมคลาสสิกโดยนักบินชื่อ แซงเตกซูเปรี. เรียกใช้เมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2565 จาก https://www.sarakadeelite.com/faces/the-little-prince-history/

The Momentum. (2562). "เจ้าชายน้อย" ของอองตวน เดอ แซงเตกซูเปรี. เรียกใช้เมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2565 จาก https://themomentum.co/something-between-saint-exupery-and-the-little-prince/