การดำเนินชีวิตตามหลักพละ 5 ของผู้ต้องขังเรือนจำกลางสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยการดำเนินชีวิตตามหลักพละ 5 ของผู้ต้องขังเรือนจำกลางสงขลาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการดำเนินชีวิตตามหลักพละ 5 ของผู้ต้องขังเรือนจำกลางสงขลา 2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการดำเนินชีวิตตามหลักพละ 5 ของผู้ต้องขังเรือนจำกลางสงขลา การวิจัยเป็นแบบการวิจัยผสม ผสาน (Mixed methodology research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ผู้ต้องขังเรือนจำกลางสงขลา เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ จำนวน 359 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เชิงคุณภาพได้ สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงลึกแบบมีโครงสร้าง จำนวน 3 คน จากแบบสอบถาม - แบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์ข้อสรุป
ผลการวิจัยพบว่า
1. การดำเนินชีวิตตามหลักพละ 5 ของผู้ต้องขังเรือนจำกลางสงขลาผู้ต้องขังเรือนจำกลางสงขลามีการดำเนินชีวิตตามหลักพละ 5 มีค่าแปลผลโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากทุกด้านเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านสมาธิ ความตั้งใจมั่น มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านวิริยะ ความเพียรต่อมาด้านศรัทธา ความเชื่อต่อมาด้านสติ ความระลึกได้ และด้านปัญญา ความรอบรู้ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด
2. ข้อเสนอแนะการดำเนินชีวิตตามหลักพละ 5 ของผู้ต้องขังเรือนจำกลางสงขลา แบ่งเป็นปัญหาและแนวทางการส่งเสริม ปัญหาที่มีข้อเสนอแนะส่วนใหญ่ด้านปัญญา ความรอบรู้ และควรจัดกิจกรรมอบรม ให้ความรู้เรื่องศีลธรรมจริยธรรมหรือรณรงค์เกี่ยวกับการใช้หลักธรรมให้แก่ผู้ต้องขังเรือนจำมากขึ้น เพื่อให้เข้าใจหลักพละ 5 ที่ถูกต้อง และสามารถนำไปเป็นหลักในการดำเนินชีวิตได้
ผลการศึกษาข้อมูลจากการสัมภาษณ์ พบว่า ทุกท่านให้ความเห็นตรงกันว่าหลักธรรมพละ 5 นั้นเป็นหลักธรรมที่ผู้ต้องขังสามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตภายในเรือนจำเรือนจำกลางสงขลาได้จริง มีประโยชน์โดยตรงต่อผู้ต้องขัง ควรสนับสนุนส่งเสริมหลักธรรมพละ 5 และอาจมีการจัดโครงการอบรมให้ความรู้ในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านการพัฒนาอุปนิสัย ด้านการฝึกอาชีพ เพื่อเป็นประโยชน์ของตัวผู้ต้องขังเอง เพื่อนร่วมสังคม เจ้าหน้าที่รวมถึงเรือนจำ สามารถดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันเป็นสังคมที่ปกติ สงบสุข ภายใต้กฎหมาย การควบคุมของบ้านเมืองและยังส่งผลไปยังการนำไปใช้หลังจากผู้ต้องขังพ้นโทษกลับไปสู่สังคมปกติได้อีกด้วย
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กนิษฐา แสนสมบัติ. (2552). การพัฒนาแนวทางการจัดกิจกรรมส่งเสริมจริยธรรมผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดเลย. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
นภษร รัตนนันทชัย และคณะ. (2563). กระบวนการการพัฒนาสันติภาวะของผู้ต้องขังกระทำผิดซ้ำ: กรณีศึกษาเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(3), 889.
พระกิตติ กิตฺติสาโร (จ่ามเงิน). (2560). การบรรเทาอกุศลมูลด้วยพละ 5. ใน วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2555). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย (พิมพ์ครั้งที่ 32). กรุงเทพมหานคร: ผลิธัมม์.
พระมหาชยาวุธ จิรวฑฺฒโน (สมัพันธสิทธิ์). (2562). ศึกษาวิเคราะห์การบริหารงานตามหลักพละ5ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเลย. ใน วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง. มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.
พระวีระศักดิ์ วีรปญฺโญ (อินทรวิเศษ). (2561). ศึกษาวิเคราะห์การดำเนินชีวิตด้วยเบญจธรรมตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท. ใน วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระสมุห์บุญฤทธิ์ มหาปุญโญ (ศรีวิชัย). (2563). หลักธรรมพละ 5 (ศรัทธาพละ) กับการเกื้อหนุนการปฏิบัติพระกรรมฐาน. Journal of Roi KaensarnAcademi, 5(2), 169.
แม่ชีวรนุช พงศ์ชนะชัย. (2560). ศึกษาพละ 5 ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาตามแนวสติปัฏฐาน 4. ใน สารนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รัชนีภรณ์ แก้วไพรวัลย์. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อการกระทำผิดวินัยของผู้ต้องขังหญิงกรณีศึกษา: เรือนจำจังหวัดสมุทรสาคร. ใน ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารงานยุติธรรม. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศุภวรรณ ธนุภาพรังสรรค์ และมาลีวัล เลิศสาครศิริ. (2559). ผลของการใช้รูปแบบการฝึกสมาธิโดยบูรณาการฯ. วารสาร ว. พยาบาลสงขลานครินทร์, 36(ฉบับพิเศษ), 23.
สุดารัตน์ กาญจกานนท์. (2561). บทความวิจัยการจัดการการใช้ชีวิตของผู้ต้องขังหญิงในทัณฑสถานหญิงสงขลา. ใน ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.