การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่

Main Article Content

กิตติศักดิ์ กุมารน้อย
รัฐพร กลิ่นมาลี
นพรัตน์ ชัยเรือง

บทคัดย่อ

        การประเมินโครงการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อประเมินบริบทของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ 3) เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ และ 4) เพื่อประเมินผลลัพธ์ของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครู จำนวน 14 คน ผู้ปกครอง จำนวน 28 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 108 คน รวมทั้งสิ้น 154 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ โดยใช้แบบตารางขนาดของกลุ่มตัวอย่างของเครซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


        ผลการวิจัยพบว่า


        การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดจำนวน 3 ข้อ ระดับมากจำนวน 1 ข้อ โดยเรียงจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านบริบท ด้านผลลัพธ์ และด้ากระบวนการ
มีรายละเอียดดังนี้


        1. ด้านบริบทของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด


        2. ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด


        3. ด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก


        4. ด้านผลลัพธ์ของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

ขวัญนภา อุณหกานต์. (2559). การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนสวนแตงวิทยา จังหวัด สุพรรณบุรี. สุพรรณบุรี: โรงเรียนสวนแตงวิทยา.

ธงชัย เหมเกียรติกุล. (2559). การประเมินผลโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริในโรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ. ศรีสะเกษ: โรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา.

พระมหาเกียรติศักดิ์ เทศบุตร. (2553). การนำนโยบายแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติในสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร เขตปทุมวัน. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ราชกิจจานุเบกษา. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. เล่ม 136 ตอนที่ 57 ก. 1 พฤษภาคม 2562.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). แนวทางการขันเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ปีการศึกษา 2556. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2561). บทบัญญัติด้านการศึกษาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. เรียกใช้เมื่อ 30 กันยายน 2565 จาก http://www.parliament.go.th/library

โสภณ ทองจิตร. (2559). การประเมินโครงการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนน้ำรอบวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11. สุราษฎร์ธานี: โรงเรียนน้ำรอบวิทยา.

Best, John W. (1993). Research in Education. Boston MA.: Allyn and Bacon.

Stufflebeam, D. L., & Shinkfield, A. J. (2007). Evaluation theory, models and applications. San Francisco, CA: Jossey-Bass.