บทบาทครูสังคมศึกษากับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในศตวรรษที่ 21
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความก้าวเจริญหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดการสื่อสารไร้พรมแดน การเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ก็สามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลา ผู้สอนและผู้เรียน จึงจำเป็นจะต้องมีการพัฒนาขีดความสามารถในการสอนและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ต้องเป็นผู้ไม่หยุดแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอ ในยุคปัจจุบันจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการและวิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องและเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและเทคโนโลยี ในอดีตกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน มักมาจากครูผู้สอนหรือผู้ถ่ายทอดเป็นผู้กำหนด ครูผู้สอนต้องปรับเปลี่ยนบทบาทจากการบรรยาย กำหนดเนื้อหาสาระมาเป็นผู้ชี้แนะวิธีการค้นคว้าหาความรู้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้และประยุกต์ใช้ทักษะต่าง ๆ เพื่อสร้างความเข้าใจได้ด้วยตนเอง กิจกรรมการเรียนการสอนแบบเดิมที่อาศัยครูอาจารย์ผู้สอนด้วยวิธีการ อธิบาย หรือบอกเล่า ซึ่งไม่สามารถตอบโจทย์ของผู้เรียนและไม่สามารถจะพัฒนาผู้เรียนให้นำองค์ความรู้ที่ได้จากการเรียนในชั้นเรียนไปปฏิบัติได้จริง การเรียนรู้ที่ผู้เรียนลงมือปฏิบัติติเองเรียกว่า การเรียนรู้แบบเชิงรุก คือ กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ หรือการลงมือทำ ความรู้ที่เกิดขึ้นก็เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ และกระบวนการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่ผู้เรียนต้องได้มีโอกาสลงมือกระทำมากกว่าการฟังครูผู้สอนเพียงอย่างเดียว ผู้เรียนจะได้ใช้ทักษะและกระบวนการคิดขั้นสูง คือ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินค่า นั้นด้วย
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.