ระบบการสอนเป็นทีมแบบอิงประสบการณ์ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

Main Article Content

พระมหาโยธิน มหาวีโร (มาศสุข)
พระมหาสมบูรณ์ สุธมฺโม
พระวิเทศพรหมคุณ

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบการสอนเป็นทีมแบบอิงประสบการณ์ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช 2) ทดสอบประสิทธิภาพระบบการสอนเป็นทีมแบบอิงประสบการณ์ และ 3) รับรองระบบการสอนเป็นทีมแบบอิงประสบการณ์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน จำนวน 13 คน 2) นักศึกษาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช จำนวน 70 คน การทดลองใช้ระบบการสอนที่พัฒนาโดยเป็นการทดสอบประสิทธิภาพเบื้องต้น แบบเดี่ยว 3 คน แบบกลุ่ม 9 คน และแบบภาคสนาม 30 คน รวมจำนวน 42 คน และทดลองสอนจริงกลับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 28 คน เพื่อหาประสิทธิภาพของระบบการสอน 3) ประเมินรับรองประสิทธิภาพของระบบจากผู้ทรงคุณวุฒิ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย จำนวนร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา การหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนของแบบวัดความสามารถ สถิติที่ใช้ทดสอบประสิทธิภาพของระบบ


ผลการวิจัยพบว่า


1. ระบบการสอนเป็นทีมแบบอิงประสบการณ์ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช ประกอบด้วย 1) วิเคราะห์บริบท 2) ปัจจัยนำเข้า 3) กระบวนการ 4) ผลลัพธ์ และ 5) ผลย้อนกลับ


2. ผลการทดสอบประสิทธิภาพระบบการสอนเป็นทีมแบบอิงประสบการณ์ แบบภาคสนาม พบว่า มีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 84.07/85.46 ซึ่งมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 85/85


3. ผลการรับรองคุณภาพ ผู้ทรงคุณวุฒิรับรองการประเมินระบบการสอนเป็นทีมแบบอิงประสบการณ์ พบว่า ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.43 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับ มากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2523). ระบบสื่อการสอน. ใน ในชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา เล่ม 1 หน่วยที่ 1-5. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2545). การวางแผนการสอนและเขียนแผนการสอน. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาวิทยาการการสอน หน่วยที่ 8-15 (พิมพ์ครั้งที่ 7). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัย

ธรรมาธิราช.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2545). การวางแผนการสอนและเขียนแผนการสอน. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาวิทยาการการสอน หน่วยที่ 8-15 (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัย

ธรรมาธิราช.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อและชุดการสอน. วารสารศิลปากร ศึกษาศาสตร์วิจัย, 7-19.

ทิศนา แขมมณี. (2547). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: ด่านสุธา.

นงนุช เสือพูมี และคณะ. (2560). การจัดการเรียนรู้แบบประสบการณ์ทางการพยาบาล. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 27(1), 12-21.

พิชาติ แก้วพวง. (2563). ศาสตร์การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยงยุทธ เกษสาคร. (2541). ภาวะผู้นำและการจูงใจ. กรุงเทพมหานคร: เอส แอนด์ จี กราฟิก.

สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2550). หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูกรุงเทพมหานครมีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะสายงานการสอน. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2562). พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562. เรียกใช้เมื่อ 20 มิถุนายน 2565 จาก

chromeextension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/https://www.mhesi.go.th/images/2563/pusit/legal-all/1p2562.pdf

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2552). คู่มือสมรรถนะหลักคำอธิบายและพฤติกรรมบ่งชี้. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

Honey, P., & Mumford, A. (1992). The manual of learning styles (2 ed.). Maidenhead, K: Peter Honey and Alan Mumford.

Kolb, A. Y., & Kolb, D. A. (2005). Learning styles and learning spaces: Enhancing experiential learning in higher education. Academy of Management Learning & Education, 4(2), 193-212.

Parker, G. M. (1990). Team player and team work: The new compettitive business strategy San Francisco. Calif.: Jossey-Bass.