การพัฒนาครูมืออาชีพกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

พระมหาคณาวุฒิ อคฺคปญฺโญ (บำรุงทรัพย์)

บทคัดย่อ

       การพัฒนาครูมืออาชีพคือการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ในตัวนักเรียน ครูต้องสามารถส่งเสริมการพัฒนาความคิดเชิงวิพากษ์ ความคิดสร้างสรรค์ การสื่อสาร การทำงานร่วมกัน การตระหนักรู้ในระดับโลกและวัฒนธรรม การมีเครือข่ายมีความสำคัญมากขึ้นในการพัฒนาครูมืออาชีพ ครูควรทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานทั้งในโรงเรียนของตนเองและที่อื่น ๆ เพื่อแบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดและเรียนรู้จากกันและกัน นอกจากนี้ ครูควรทำงานร่วมกับผู้ปกครอง ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัวของนักเรียน สิ่งนี้จำเป็นต้องเปลี่ยนจากวิธีการสอนแบบดั้งเดิมและมุ่งไปสู่การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ซึ่งนักเรียนจะได้รับประโยชน์ให้ในการเรียนรู้นี้


       ครูคืออาชีพที่ถ่ายทอดความรู้ด้วยวิธีการสอนและการจัดการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบเพื่อให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ครูจึงเป็นกัลยาณมิตรที่ถ่ายความรู้ให้แก่ลูกศิษย์ ให้ความรักความเอาใจใส่เปรียบเสมือนบิดาและมารดาคนที่สองของศิษย์ ครูที่ดีย่อมอุทิศตนเพื่อให้ศิษย์มีอนาคตที่สดใส ให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ปลูกฝังจิตสำนึกให้เป็นคนดีเป็นบุคคลที่ดีของสังคม ดังนั้นแล้ว ผู้ที่เป็นครูย่อมต้องสามารถนำความรู้ทั้งหมดทั้งมวลที่ตนมีมาถ่ายทอดให้ศิษย์ได้ ดังนั้น ครูจึงเป็นผู้ที่มีทั้งศาสตร์และศิลป์ เป็นผู้นำทางวิญญาณ ซึ่งการเป็นครูนั้นไม่ใช่ว่าใครที่พอมีความรู้หรือท่าทางน่าเชื่อถือก็จะมาเป็นครูได้ หากแต่ผู้ที่ประสงค์จะดำเนินอาชีพนี้ต้องฝึกฝนศึกษาจนเชี่ยวชาญ จนเป็นที่ยอมรับขององค์กรวิชาชีพ ทั้งนี้เพราะครูเป็นทั้งฐานะของบุคคลและวิชาชีพที่สังคมคาดหวังว่าจะต้องมีบทบาท ความสำคัญ หน้าที่ ความรับผิดชอบ คุณลักษณะบุคลิกภาพ ค่านิยม จรรยาบรรณ และคุณธรรมที่เป็นแบบอย่างได้นั่นเอง ดังนั้นผู้ดำเนินอาชีพครูจึงต้องเป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียน และใฝ่พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง จากอดีตครูมีหน้าที่สั่งสอนศิษย์เป็นศูนย์กลางของการให้ความรู้แก่ศิษย์ แต่ในปัจจุบันครูต้องปรับบทบาทของตนเป็นผู้ออกแบบการเรียนรู้ให้เหมาะสมแก่ศิษย์ และต้องศึกษาค้นคว้าหาความรู้ใหม่ ๆ ให้ทันต่อเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมแก่ศิษย์ อาชีพครูจึงเป็นอาชีพที่มีเกียรติ เป็นผู้ที่มีความสามารถให้คำแนะนำเพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการเรียน สามารถสร้างคนให้เป็นคนดี คนเก่ง เพื่อพัฒนาประเทศชาติได้ในที่สุด

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมวิชาการ. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กฤษพงษ์ กีรติกร. (2557). การยกระดับคุณภาพครู. การประชุมคณะกรรมการปฏิรูประบบผลิตและพัฒนาครู ครั้งที่ 2/2557.

ดิเรก พรสีมา. (2554). การพัฒนาวิชาชีพครู. กรุงเทพมหานคร: เจริญผล.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2556). การเรียนรู้ในยุคสมัยหน้า: ตอนรูปแบบและทฤษฎีการเรียนรู้อนาคต. เรียกใช้เมื่อ 19 ก.พ. 2566 จาก http://thanompo.edu.cmu.ac.th

นรรัชต์ ฝันเชียร. (29 สิงหาคม 2561). แนวทางการพัฒนาตนเองสู่ครูมืออาชีพ. เรียกใช้เมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2566 จาก https://www.trueplookpanya.com/dhamma/content/68689

ประเวศ วะสี. (2553). คำบรรยายเรื่อง การศึกษาที่พาชาติออกจากวิกฤติ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (ม.ป.ป.). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 74ก วันที่ 19 สิงหาคม 2452.

พิณสุดา สิริธรังศรี. (2557). ครูในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

วรากรณ์ สามโกเศศ และ คณะ. (2553). ข้อเสนอระบบการศึกษาทางเลือกที่เหมาะสมกับสุขภาวะคนไทย. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: ตถาตา พลับลิเคชั่น จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สุมน อมรวิวัฒน์. (2555). ครุศึกษากับความเปลี่ยนแปลงที่ท้าทาย. กรุงเทพมหานคร: พัชรินทร์ พี.พี.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2553). การพัฒนาครูทั้งระบบตามยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561). แพร่: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่เขต 2.

สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. (2561). ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่21 (The Twenty-First Century Skills). เรียกใช้เมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2566 จาก https://www.trueplookpanya.com/blog/content/66054/-teaarteduteaart-teaarttea.

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2538). การบริหาร: ทักษะและการปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: สุขภาพใจ.

McKinsey. (2007). McKinsey Report on Education. Retrieved February 19, 2023, from https://www.mckinsey.com.