แนวทางการพัฒนายกระดับศักยภาพครูในยุคศตวรรษที่ 21 ตามหลักวุฒิธรรม 4 โรงเรียนสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เพื่อ 1) ศึกษาสภาพศักยภาพครูในยุคศตวรรษที่ 21 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี 2) ศึกษาวิธีการพัฒนายกระดับศักยภาพครูในยุคศตวรรษที่ 21 ตามหลักวุฒิธรรม 4 และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนายกระดับศักยภาพครูในยุคศตวรรษที่ 21 ตามหลักวุฒิธรรม 4 การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยเชิงปริมาณ และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและข้าราชการครู โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี จำนวนทั้งหมด 356 คน และกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 181 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ การสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม โรงเรียนศรีบุณยานนท์ และโรงเรียนรัตนาธิเบศร์ จำนวน 5 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพศักยภาพครูในยุคศตวรรษที่ 21 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (
=4.36)
- วิธีการพัฒนายกระดับศักยภาพครูในยุคศตวรรษที่ 21 ตามหลักวุฒิธรรม 4 โดยภาพรวม 3 ด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก (
=4.38)
- แนวทางการพัฒนายกระดับศักยภาพครูในยุคศตวรรษที่ 21 ตามหลักวุฒิธรรม 4 คือ ครูต้องเรียนรู้วิธีการสอนรูปแบบใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยการเข้าร่วมทำ PLC กับกลุ่มที่เป็นกัลยาณมิตร นำคำแนะนำไปพัฒนาตนเอง จัดอบรมความรู้ให้แก่ครูเพื่อสร้างสื่อ สารสนเทศ นำเสนอประสบการณ์ ครูเป็นแบบอย่างที่ดีตามหลักคุณธรรม จริยธรรมและเป็นกัลยาณมิตรกับผู้เรียน แนะนำแนวทางการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง มีเหตุผลในการแก้ปัญหาเรื่องส่วนตัว และส่วนรวม ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความรับผิดชอบต่อตนเอง และสังคม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
ณัฐิกานต์ ปังศรีวงศ์. (2563). การพัฒนาทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนตลาดหนองหวาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. ใน การศึกษาอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
บันเย็น เพ็งกระจ่าง. (2561). การพัฒนาครูด้านการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนสารสาสน์วิเทศ คลองหลวง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. ใน การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเกริก.
ภัทรวดี จำใบรัตน์. (2563). การพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาของโรงเรียนอนุบาลสวี (บ้านนาโพธิ์) จังหวัดชุมพร. ใน การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
รัชนี ศรีทับทิม. (2562). การบริหารจัดการโรงเรียนวิถีพุทธของโรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ พิบูลบำรุง. ใน การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิจารณ์ พานิช. (2556). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: ตถาตา พับลิเคชั่น.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนการทัศน์ใหม่ทางการศึกษา กรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: ทิพยวิสุทธิ์.
สายเพ็ญ บุญทองแก้ว. (2563). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ สำหรับนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. (2556). ข้อมูลสารสนเทศ ปีการศึกษา 2565. เรียกใช้เมื่อ 20 กรกฎาคม 2565 จาก https://main.spmnonthaburi.go.th/o7/
สุนันท์ สังข์อ่อง. (2555). หลักสูตรและการสอนสำหรับศตวรรษที่ 21. เรียกใช้เมื่อ 2565 กรกฎาคม 2565 จาก https://www.gotoknow.org.
อนุชา โสมาบุตร. (2560). แนวคิดการจัดการเรียนรู้สำหรับครูในศตวรรษที่ 21. เรียกใช้เมื่อ 20 กรกฎาคม 2565 จาก https://teacherweekly.wordpress.com>.
Krejcie R. V. & Morgan D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.