รูปแบบการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอนในยุคชีวิตวิถีใหม่ของโรงเรียนโครงการหลวงแกน้อย ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

เมษา สุงคำ
ฉัตรชัย ศิริกุลพันธ์

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการในจัดการเรียนการสอนในยุคชีวิตวิถีใหม่ของโรงเรียนโครงการหลวงแกน้อย 2) หารูปแบบการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอนในยุคชีวิตวิถีใหม่ 3) ทดลองรูปแบบการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอนในยุคชีวิตวิถีใหม่ และ 4) ประเมินผลการทดลองรูปแบบการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอนในยุคชีวิตวิถีใหม่ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย การศึกษาเอกสาร แบบสอบถามผู้เชี่ยวชาญด้วยเทคนิคเดลฟาย สถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าร้อยละเฉลี่ย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย Pair t-test และ One Sample t-test 


ผลการวิจัยพบว่า


  1. สภาพปัจจุบันและความต้องการในจัดการเรียนการสอนในยุคชีวิตวิถีใหม่ของโรงเรียนโครงการหลวงแกน้อย พบจุดที่ควรพัฒนา คือ การจัดการเรียนการสอนโดย
    ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอน

  2. รูปแบบการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอนในยุคชีวิตวิถีใหม่ที่ได้รับการเห็นชอบจากผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ 1) ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructionism) 2) กระบวนการเรียนการสอนแบบ CIPPA Model 3) เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง แพลตฟอร์มด้านเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)

  3. การทดลองรูปแบบการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอนในยุคชีวิตวิถีใหม่ รูปแบบการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอน ไปนำไปทดลองใช้ในสถานการณ์จริงกับกลุ่มเป้าหมาย ด้วยการบริหารจัดการเรียนรู้บูรณาการกับการจัดประสบการณ์เรียนรู้ในแต่ละวัน ซึ่งมีกระบวนการดำเนินงานด้วยวงจรคุณภาพ “PDCA”

  4. การประเมินผลการทดลองรูปแบบการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอนในยุคชีวิตวิถีใหม่ ผลเปรียบเทียบประสิทธิภาพของผลการใช้รูปแบบการบริหารงานด้านการจัดการเรียนการสอนในยุคชีวิตวิถีใหม่ โดยวัดจากประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนรู้ในยุคชีวิตวิถีใหม่ ก่อนการทดลองและหลังการทดลอง โดยใช้สถิติ paired t-test ดังนี้ ค่าสถิติ =1.96 SD=85, ค่า t=4.687 df=134 มีนัยสําคัญทางสถิติที่ .000 ซึ่งมีค่าน้อยกว่า .05 (Sig.< .05) แสดงว่ามีคะแนนเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นฐาน พ.ศ. 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมการเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ดวงฤทัย ล่องอำไพ. (2562). การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่องข้อมูลและการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5. ใน สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

นิตยา พงษ์เกษม. (2559). ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการบริหารวิชาการโรงเรียนบ้านเนินพลับหวาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. ใน งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2542, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก. หน้า 18.

มนต์ชัย เทียนทอง. (2548). สถิติและวิธีการวิจัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

รุ่งฤดี นนทภา. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอนโรงเรียนเทศบาล 1 กาฬสินธุ์พิทยาสิทธิ์. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารจัดการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎสารคาม.

วรนิษฐา คำยศ. (2564). รูปแบบการบริหารงานวิชาการด้วย 3P-R Model ของโรงเรียนชุมชนบ้านทุ่ง (อินมีอุปถัมภ์). วารสารครุทรรศน์ (Online) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 1(2), 31-51.

วิทยา วาโย และคณะ. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19: แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 14(34), 285-298.

วิภวานี ชาญวิรัตน์. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคกลุ่มแข่งขัน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยบูรพา .

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล. (2564). การใช้งานเทคโนโลยี Blockchain สำหรับภาครัฐ (Blockchain for Government Services) (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์กรมหาชน).