การประเมินโครงการห้องเรียนพิเศษภาษาจีน โรงเรียนเบญจมราชูทิศ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลโครงการห้องเรียนพิเศษภาษาจีน โรงเรียนเบญจมราชูทิศ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร คณะกรรมการดําเนินงาน ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองในโครงการ โดยการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 267 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามผู้บริหาร 2) แบบสอบถามคณะกรรมการดำเนินงาน 3) แบบสอบถามและการสนทนากลุ่มครูผู้สอนและนักเรียนในโครงการ 4) แบบสอบถามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาจีนและการสนทนากลุ่มนักเรียนในโครงการ 5) แบบสอบถามผู้ปกครองนักเรียนในโครงการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
- การประเมินระบบโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ วัตถุประสงค์ของโครงการ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ สภาพทั่วไปของโครงการ
- การประเมินการวางแผนโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ คุณสมบัติของนักเรียนในโครงการ
- การประเมินการดำเนินโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ กิจกรรมเพิ่มศักยภาพ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การวัดและประเมินผล
- การประเมินการปรับปรุงโครงการ พบว่า จุดเด่นของโครงการ คือ นักเรียนผ่านการสอบเข้าเรียนทุกคน ข้อบกพร่อง ปัญหา และอุปสรรคของโครงการ คือ ห้องเรียนของโรงเรียนที่มีค่อนข้างจำกัดไม่สามารถจัดเป็นห้องประจำสำหรับนักเรียน
- การประเมินการยอมรับโครงการ พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาจีนของนักเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษภาษาจีน ในภาพรวมแล้วอยู่ในเกณฑ์ที่ดี 2) ผลการประเมินผู้เรียนตามสมรรถนะสำคัญของหลักสูตรอยู่ในระดับดี และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองต่อโครงการอยู่ในระดับมาก สรุปว่าการประเมินการยอมรับโครงการผ่านเกณฑ์การประเมิน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร. คุรุสภาลาดพร้าว.
นิมิตร ธิยาม. (2558). การประเมินโครงการห้องเรียนพิเศษ เอ็ม อี พี โรงเรียนจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. ใน การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พลภัทร์ ศรีวาลัย. (2561). การประเมินโครงการห้องเรียนพิเศษ (English Program) ของโรงเรียนสิริรัตนาธร โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินโครงการแบบ CSE ของอัลคิน. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พิยะภา ใจซื่อสมบูรณ์. (2563). การประเมินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธของโรงเรียนวัดใหญ่บ้านบ่อ (บ้านบ่อราษฎรบำรุง). ใน การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รุ้งลาวัณย์ จันทรัตนา และคณะ. (2561). การประเมินโครงการจัดตั้งห้องเรียนพิเศษโปรแกรมวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ Science and Mathematics Program (SMP) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 13(2), 203-215.
วิทวัฒน์ บูระพันธ์. (2562). การประเมินโครงการห้องเรียนพิเศษ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนราชวินิตมัธยม โดยใช้การประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model). ใน วิทยานิพนธ์ปครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการเรียน การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566-2570. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.
Alkin, M.C. (1969). Evaluation Theory Development. New York: Russail Sage Foundtion.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Education and Phychological Measurment. New York: Minisota University.