การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคทุ่งสง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยประมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคทุ่งสง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินปฏิกิริยาของผู้เข้ารับการอบรม 2) ประเมินการเรียนรู้ของผู้เข้ารับการอบรม 3) ประเมินพฤติกรรมของผู้เข้ารับการอบรม 4) ประเมินผลลัพธ์ของผู้เข้ารับการอบรม กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาประกอบด้วย ครู 16 คน และนักศึกษา 214 คน รวมทั้งหมด 230 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบสอบถามเพื่อประเมินปฏิกิริยา พฤติกรรม และผลลัพธ์ของผู้เข้าอบรม แบบทดสอบเพื่อประเมินการเรียนรู้ของผู้เข้าอบรม และแบบสัมภาษณ์เพื่อประเมินผลลัพธ์ของผู้เข้าอบรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
- การประเมินปฏิกิริยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณารายข้อ ข้อที่ค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือวิทยากรมีความเหมาะสม รองลงมาคือโครงการมีผลลัพธ์เหมาะสม ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือเวลาในการอบรมเหมาะสม
- การประเมินการเรียนรู้ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้หลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และด้านเจตคติมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดใน
ทุกประเด็น - การประเมินพฤติกรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ ข้อที่ค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือนักศึกษามีมนุษยสัมพันธ์ดีและกิริยาสุภาพ รองลงมาคือนักศึกษามีความประหยัด ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือนักศึกษามีความสามัคคี
- การประเมินผลลัพธ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ ข้อที่ค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ การจัดการอบรมส่งผลให้นักศึกษามีวินัย มีความกตัญญู ละเว้นอบายมุข รองลงมาคือนักศึกษามีจิตอาสา ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือนักศึกษามีความรู้เรื่องคุณธรรมจริยธรรมและการประยุกต์ใช้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.
จิระพงษ์ สุริยา. (2563). การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนสรรพวิทยาคม. วารสารคุรุสภาวิทยาจารย์, 1(3), 68-78.
ชูชาติ แปลงล้วน. (2560). การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนในโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology, 5(7), 379-393.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2549). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
นฤมล วิทยาวุฒิรัตน์. (2562). การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม โรงเรียนคลองเมืองพิทยาคม. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2(4), 97-98.
นาซีฟะ เจ๊ะมูดอ. (2560). การวิจัยเชิงประเมินโครงการเสริมศักยภาพครูสอนตาดีกาในโรงเรียนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยใช้รูปแบบการประเมินของเคิร์กแพทริค. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและประเมินผลการศึกษา. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ประภาศรี สีหอําไพ. (2550). พื้นฐานการศึกษาทางศาสนาและจริยธรรม. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระศรชัย วังคำ. (2553). การประเมินผลสัมฤทธิ์หลักสูตรฝึกอบรมคุณธรรม “ค่ายพุทธบุตร-พุทธธรรม”. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ยุพิน รอดประพันธ์. (2561). การประเมินโครงการโรงเรียนคุณธรรมโดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิป (CIPP Model) โรงเรียนบ้านห้วยธารทหาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3. นครสวรรค์: โรงเรียนบ้านห้วยธารทหาร.
สุวิมล ติรกานันท์. (2547). การประเมินโครงการแนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อดิศักดิ์ จินดานุกูล. (2545). รายงานผลการอบรมหลักสูตรการอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพมหานคร: หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา.