หลักทิฏฐธัมมิกัตถะ: เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตในยุคบริโภคนิยม

Main Article Content

พระมหาอภิพงค์ คำหงษา
พระมหาวัฒนา ขันทะชา
พระสิทธิชัย รินฤทธิ์
สุรีพร ชาบุตรบุณฑริก
แสงสุรีย์ ทองขาว

บทคัดย่อ

        หลักทิฏฐธัมมิกัตถะเป็นหลักธรรมและคติปรัชญาทางพระพุทธศาสนาซึ่งมีสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลในยุคที่มีความเจริญทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ เทคโนโลยี การคมนาคมตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์ เพราะมนุษย์คือผู้สร้างความอยากหรือความปรารถนาขึ้นมาเองที่เรียกกันว่า “บริโภคนิยม” และถูกมองเรื่องดี กลายเป็นการก้าวข้ามคุณธรรมและจริยธรรม อันเป็นเหตุนำมาซึ่งความทุกข์ เพราะไม่พอใจทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนเองมี โดยมุ่งเดินตามความเจริญทางด้านวัตถุที่รุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว ควบคู่ไปกับความอยากที่เพิ่มขึ้นแต่คุณค่าทางด้านจิตใจเสื่อมโทรมลงจนกลายเป็นเห็นแก่ตัว การนำหลักทิฏฐธัมมิกัตถะมาปฏิบัติช่วยสร้างพื้นฐานทางจิตใจให้แข็งแรง และสร้างความสุขในชีวิต ช่วยพัฒนาทักษะในการคิด การวิเคราะห์ และการประเมินสถานการณ์อย่างมีสติ ลดความเห็นแก่ตัว โดยบทความนี้ผู้เขียนมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อให้ประชาชนมีหลักในการยึดถือปฏิบัติโดยการนำหลักธรรมสอนของพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน และ 2) เพื่อให้รู้เท่าทันสังคมยุคบริโภคนิยมและใช้ชีวิตอย่างมีสติ พอใจทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนเองมีตามสภาพความเป็นจริง ดังนั้นการตระหนักถึงคุณธรรมจริยธรรมอันดีงามของมนุษย์ ตลอดถึงความสุขของสังคม ลดความทะยานอยากโดยใช้หลักธรรมทางศาสนาที่ชื่อว่า “หลักทิฏฐธัมมิกัตถะ” เป็นหลักธรรมที่ทำให้ทุกคนเกิดความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน ไม่มุ่งแสวงหาผลกำไร หรือหาประโยชน์ เพื่อความสุขสบายที่ตอบสนองความอยากของตนเอง เมตตาต่อผู้อื่น สร้างความสัมพันธ์ที่ดีและเป็นกันเองกับคนรอบข้าง ทำให้เราสามารถให้ความรักและสงบสุขให้กับผู้อื่นได้อย่างเต็มที่ 

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ชลวิทย์ เจียรจิตต์. (2560). ศาสนากับการพัฒนา. นนทบุรี: ดีไซน์ ดีไลท์.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2548). คำวัด. กรุงเทพมหานคร: เลี่ยงเซียง.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2547). ธรรมนูญชีวิต (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2545). ธรรมนูญชีวิต. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กรมศาสนา.

พระมหาอภิพงค์ ภูริวฑฒโน (คำหงษา). (2566). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาศาสนาเพื่อการพัฒนา. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราขวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง.

พระมหาอภิพงค์ ภูริวฑฺฒโน (คำหงษา). (2566). ระบบการสอนเศรษฐศาสตร์อิงหลักทิฏฐธัมมิกัตถะ เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในการดำรงชีพพอเพียง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนพระปริยัติธรรมภาคตะวันออก: กรณีศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดโสธรวราราม. ใน ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำราญ อิ่มจิตต์. (2547). เศรษฐปรัชญาในพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: ธนาเพรส.

Alexander H. Shand. (1990). Free Market Morality: The Political economy of the Austrian. London: Routledge.