การพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาโดยใช้เทคนิคสื่อประสม หน่วยการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนคำเที่ยงอนุสสรณ์

Main Article Content

กนกดารา มณีลดา
ชนินทร์ ยาระณะ
วารุณี โพธาสินธุ์

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนในหน่วยการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์โดยใช้เทคนิคสื่อผสม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนคำเที่ยงอนุสสรณ์ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทักษะการคิดแก้ปัญหาก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน โดยมีขอบเขตด้านประชากร จำนวน 96 คนและรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 32 คน เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนคำเที่ยงอนุสสรณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าร้อยละ


ผลการวิจัยพบว่า


1. สามารถพัฒนาบทเรียนในหน่วยการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์โดยใช้เทคนิคสื่อผสมกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อยู่ในระดับมากที่สุด


2. ผลสัมฤทธิ์ทักษะการคิดแก้ปัญหาก่อนเรียนและหลังเรียน คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01


2. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจ พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนคำเที่ยงอนุสสรณ์ ที่มีต่อการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม หน่วยการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์โดยใช้สื่อประสม ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

ชนิกา บัวเผียน. (2556). การสร้างสื่อประสมเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง สารในชีวิตประจําวัน สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

ศศิณิส์ภา พัชรธนโรจน และคณะ. (2562). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นพร้อมสื่อประสม เรื่อง การจัดการเรียนรู้การแกะสลักไม้ สำหรับชุมชนและโรงเรียนในอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่. เรียกใช้เมื่อ 15 กรกฎาคม 2564 จาก http://cmruir.cmru.ac.th: http://cmruir.cmru.ac.th

สมชาย แก้วเจริญ. (2556). การใช้สื่อประสมเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านทำนองเสนาะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and Arts), 2(6), 1-13.