บุพปัจจัยที่ส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงพุทธในจังหวัดฉะเชิงเทรา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่องนี้มุ่งศึกษาและพัฒนาบุพปัจจัยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธ นำไปสู่กระบวนการสร้างบุพปัจจัยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธในจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยวิธีวิจัยแบบผสมผสานระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประชากรคือประชาชนในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทราโดยการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก จำนวน 397 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ เชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญจำนวน 12 รูป/คน โดยวิเคราะห์เนื้อหา เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ได้แก่เชิงพรรณนาและเชิงอนุมาน
ผลการวิจัยพบว่า:
- ความคิดเห็นด้านการสร้างอัตลักษณ์มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือด้านการสร้างนวัตกรรมและด้านการสร้างเครือข่าย ทุกด้านอยู่ในระดับมาก
- แนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนา พบว่า ด้านการสร้างอัตลักษณ์ การสร้างอัตลักษณ์ของแต่ละวัดมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน โดยเน้นเอกลักษณ์เด่นในหลายมิติ เพื่อกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวอยากกลับมาเยือนซ้ำ ด้านการสร้างนวัตกรรม การสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ โดยใช้เทคโนโลยีและสื่อโซเชียลมีเดียเพื่อตอบสนองความต้องการนักท่องเที่ยวและกระตุ้นการกลับมาเยือนซ้ำ และด้านการสร้างเครือข่าย วัดส่วนใหญ่ขาดเครือข่ายการท่องเที่ยวเนื่องจากงบประมาณจำกัด ขาดบุคลากรและการสนับสนุนจากภาครัฐ การจัดกิจกรรมมักได้รับความร่วมมือจากท้องถิ่น เช่น อบต. และชุมชน
- กระบวนการการพัฒนาฯ คือ 1) จัดประชุมทำความเข้าใจปัญหาอย่างถ่องแท้ผ่านการสังเกตและสัมภาษณ์ 2) ระบุปัญหาที่ต้องแก้ไข 3) ระดมสมองหาความคิดใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการนักท่องเที่ยว 4) สร้างและทดสอบแอพพลิเคชั่น "เที่ยววัด" เพื่อตรวจสอบความพึงพอใจของผู้ใช้งาน 5) ทดสอบกระบวนการออกแบบเพื่อมั่นใจว่าแอพตอบสนองความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ.
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กฤช วิศิษฏ์สิน. (18 สิงหาคม 2566). ความคิดเห็นเกี่ยวกับบุพปัจจัยที่ส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงพุทธในจังหวัดฉะเชิงเทรา. (พระมหาสหาย กนฺตธมฺโม (จำปาแก้ว), ผู้สัมภาษณ์)
จุฑาภรณ์ หินซุย และสถาพร มงคลศรีสวัสดิ์. (2557). แนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธกรณีศึกษาวัดประชาคมวนาราม อำเภอศรีสมเด็จ. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 10(1), 50-58.
ดนุวัศ สุวรรณวงศ์ และภัทรพงษ์ เกริกสกุล. (2559). การพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนในเขตพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) กับการเชื่อมต่อพื้นที่การท่องเที่ยวใน 4 รัฐ (กลันตัน เปรัค เคดาห์ และเปอร์ลิส) ประเทศมาเลเซีย. ใน รายงานวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
ทัศนีย์ ปิยะเจริญเดช และพระพงษ์ศักดิ์ สนฺตมโน (เกษวงศ์รอด)และกรกต ชาบัณฑิต. (2564). อัตลักษณ์การท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนา: ตัวชี้วัดและแนวปฏิบัติเพื่อความยั่งยืนตามวิถีพุทธ. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 15(2), 264-273.
ธราพงษ์ จั่นแก้ว. (18 สิงหาคม 2566). ความคิดเห็นเกี่ยวกับบุพปัจจัยที่ส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงพุทธในจังหวัดฉะเชิงเทราด้านการสร้างอัตลักษณ์. (พระมหาสหาย กนฺตธมฺโม (จำปาแก้ว), ผู้สัมภาษณ์)
นภัสกร ช่วยชัย. (18 สิงหาคม 2566). ความคิดเห็นเกี่ยวกับบุพปัจจัยที่ส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงพุทธในจังหวัดฉะเชิงเทราด้านการสร้างนวัตกรรม. (พระมหาสหาย กนฺตธมฺโม (จำปาแก้ว), ผู้สัมภาษณ์)
ปรเมษฐ์ ดำชู. (2563). ปัจจัยที่นำไปสู่การสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับธุรกิจการท่องเที่ยว เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ และการสื่อสาร, 15(1), 87-100.
สำนักงานจังหวัดฉะเชิงเทรา. (2567). แผนพัฒนาจังหวัดฉะเชิงเทรา (พ.ศ. 2566-2570) ฉบับทบทวน ประจำปงบประมาณ พ.ศ. 2567. (2567). ฉะเชิงเทรา: กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดฉะเชิงเทรา.
พระครูสุตธรรมาภรณ์. (18 สิงหาคม 2566). ความคิดเห็นเกี่ยวกับบุพปัจจัยที่ส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงพุทธในจังหวัดฉะเชิงเทรา. (พระมหาสหาย กนฺตธมฺโม (จำปาแก้ว), ผู้สัมภาษณ์)
ศุภลักษณ์ อัครางกูร. (2555). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.