การประเมินโครงการพัฒนาสื่อเทคโนโลยีสร้างสรรค์ เสริมสร้างทักษะทางทัศนศิลป์ โรงเรียนวัดพระมหาธาตุ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินและเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาโครงการพัฒนาสื่อเทคโนโลยีสร้างสรรค์เสริมสร้างทักษะทางทัศนศิลป์ โรงเรียนวัดพระมหาธาตุ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model ประกอบด้วยการประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียน รวมทั้งสิ้น 205 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า:
ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งปรากฏผลการประเมิน ดังนี้
- ด้านบริบท โดยรวมอยู่ในระดับมาก พบว่า วิธีการดำเนินโครงการเป็นระบบขั้นตอน สามารถปฏิบัติได้ตรงตามกำหนดเวลา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการกำหนดวัตถุประสงค์ และวิธีดำเนินโครงการ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
- ด้านปัจจัยนำเข้า โดยรวมอยู่ในระดับมาก พบว่า กิจกรรมเหมาะสมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์โครงการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และสื่อการเรียนการสอนมีความทันสมัยเหมาะสมเหมาะสมกับสภาพสังคมในยุคปัจจุบัน สอดคล้องตามยุทธศาสตร์การพัฒนาการจัดการศึกษาของประเทศ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
- ด้านกระบวนการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด พบว่า มีการนำผลการประเมินมาใช้ปรับปรุงพัฒนาโครงการอย่างต่อเนื่อง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และมีการดำเนินกิจกรรมเป็นไปตามแผนงานโครงการทุกขั้นตอนตามที่ได้กำหนดไว้ในโครงการ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
- ด้านผลผลิต โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะสูงขึ้น มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สื่อเทคโนโลยีสร้างสรรค์ ช่วยให้นักเรียน สร้างความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). ความก้าวหน้าปฏิรูปการศึกษาในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ. เรียกใช้เมื่อ 28 ธันวาคม 2565 จาก https://www.moe.go.th/moe/th/news/.
______. (2559. แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
______. (2560). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กวินธร รัฐอาจ. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านด้วยคลังรายวิชาออนไลน์แบบเปิด. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 10(พิเศษ), 68-69.
ชนิศกานต์ ลภะวงศ์. (2556). การประเมินโครงการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กต้นแบบการจัดการเรียนการสอน แบบคละชั้นของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.
ปนัดดา วงค์จันตา. (2563). การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมความสามาถทางศิลปะสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน โรงเรียนเศรษฐเสถียรในพระราชูปถัมภ์. วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ, 9(2), 16-28.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1. (2565). รายงานสรุปผลการดำเนินงานสถานศึกษาในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 ประปีการศึกษา 2563-2655. นครศรีธรรมราช: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1.
สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). กรอบทิศทางแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2574. กรุงเทพมหานคร: สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา.
อริยพร คุโรตะ (2561). การพัฒนามาตรฐานหลักสูตรและการสอนสาขาวิชาศิลปศึกษา ระดับปริญญาบัณฑิต ในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อำไพ ตีรณสาร. (2559). วิธีการสอนศิลปะศึกษา. เรียกใช้เมื่อ 28 ธันวาคม 2565 จาก http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~tampai1/ampai/cont3.htm
เอกอมร ภัทรกิจพงศ์. (2564). ศิลปะภาพถ่าย: อัตลักษณ์บนเรือนร่าง. ใน วิทยานิพนธ์ ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต. คณะศิลปกรรมศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Arts Education Partnership and National Association of Elementary School Principals. (2018). What school leaders can do to increase arts education. Denver. CO: Arts Education Partnership.
ARTSEDGE. (2018). Arts Education Is a Gateway to Your Child’s Future: High School Learn how to support your child in the arts at school. Retrieved April 8, 2018, From https://artsedge.kennedy-center.org/families/at-school/cae/high-school.
Caldwell, B., & Vaughan, T. (2012). Transforming education through the arts. New York: Routledge.
Haroutounian, J. (2014). Arts talent ID a frame work for the Identification of talented students in the arts. New York: Royal Fireworks Publishing.
Hope, E.W. (2009). Meeting the Needs of Talented Artists in Elementary School. Retrieved September 9, 2022, form http://www.moe.go.th/moe/upload/
news20/FileUpload/41611-3669. pdf
National Art Education Association. (2016). NAEA strategic vision. (2015-2020). Alexandria. VA: National Art Education Association.
Ontario Ministry of Education. (2009). The Ontario Curriculum, Grades 1-8: The Arts. Toronto. ON: Queen’s Printer for Ontario.
Preston, T. (2018). How to Increase Arts Education. Arlington VA: Phi Delta Kappan.
Seifter, H., & Ted B. (.2010). Special issue: Creatively intelligent companies and leaders: Arts-based learning for business. Journal of Business Strategy, 31(4), 8-20.
Stufflebeam, D.L. and Sinkfield, A.J. (2007). Evaluation Theory, Models and Applications.San Francisco. CA: John Wiley and Sons.Inc.
The National Art Education Association. (2012). NAEA Research Commission’s research vision statement. Alexandria. VA: National Art Education Association.
Upitis, R. (2011). Arts Education for the Arts Education for the Development of the Whole Child. Toronto, Elementary Teachers’ Federation of Ontario.
Weinberger, D. (2011). Too Big to Know. NY: Basic Books.