การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูภาษาอังกฤษในการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้าง ทักษะการคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

วนิดา แสวงผล
ธีรชัย เนตรถนอมศักดิ์
เฉลิมพล สวัสดิ์พงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ข้อ คือ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมครู ภาษาอังกฤษในการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างทักษะการคิด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีท่ี 6 2) เพื่อศึกษา ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรมครูภาษาอังกฤษในการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างทักษะ การคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาบริบท สภาพปัญหา ความต้องการจ าเป็นในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม ด้วยวิธีวิเคราะห์เอกสาร สอบถามครู และสนทนากลุ่ม ผู้เกี่ยวข้อง ระยะที่ 2 สร้างและพัฒนาหลักสูตร ตรวจสอบคุณภาพและสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญวิพากษ์ หลักสูตร จ านวน 9 คน ระยะที่ 3 น าหลักสูตรไปใช้ กับครูจ านวน 30 คน ด้วยวิธีวิจัยปฏิบัติการแบบใช้ โรงเรียนเป็นฐาน ประเมินประสิทธิภาพโดยเปรียบเทียบผลการทดสอบความรู้ความเข้าใจของครูก่อนและหลัง การฝึกอบรม และประเมินความสามารถของครูหลังฝึกอบรม ประเมินประสิทธิผลจากการวัดทักษะการคิด ของนักเรียนที่สอนโดยครูที่ผ่านการฝึกอบรมจ านวน 3 โรงเรียน จ านวน 51 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการเลือก แบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย คู่มือหลักสูตรฝึกอบรม คู่มือการนิเทศติดตามและ ประเมินผล แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจของครู แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครู แบบสังเกตการสอน แบบบันทึกการสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ และแบบวัดทักษะการคิดขอนักเรียน สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ̅ ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่า t (t - test Dependent) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า หลักสูตรฝึกอบรมครูภาษาอังกฤษในการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างทักษะการคิด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีองค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) จุดมุ่งหมาย 3) เนื้อหาสาระ 4) บทบาท ผู้เกี่ยวข้อง 5) วิธีการฝึกอบรม 6) การวัดและประเมินผล ผลการน าหลักสูตรฝึกอบรมครูภาษาอังกฤษไปใช้ พบว่า ผลการประเมินความรู้ ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างทักษะการคิดหลังการฝึกอบรมสูงกว่า ก่อนการฝึกอบรม อย่างมีนัยส าคัญที่ระดับ .01 และผลการประเมินความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้ ที่เสริมสร้างทักษะการคิดหลังการฝึกอบรมโดยรวมอยู่ในระดับ ดี ส่วนผลการประเมินความรู้ความสามารถ ด้านทักษะการคิดโดยรวมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนภายหลังการเรียนจาก ครูภาษาอังกฤษที่ผ่านการฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างทักษะการคิด สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยส าคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองวิจัยทางการศึกษา. การศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่มุ่งเน้นทักษะการสื่อสาร ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการ, 2546. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. การคิดเชิงวิเคราะห์. กรุงเทพฯ : ชัคเชคมีเดีย : ภาพพิมพ์, 2546 โกวิท ประวาฬพฤกษ์. การออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ. กรุงเทพฯ : สถาบนัพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พ.ว.), 2551. เฉลิมชัย พันธ์เลิศ. การพัฒนากระบวนการเสริมสมรรถภาพการชี้แนะของนักวิชาการพี่เลี้ยงโดยใช้ การ เรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ในการอบรมโดยใชโ้รงเรียนเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร ดุษฎีบัณฑิต จฬุาลงกรณ์มหาวทิยาลัย, 2549. ทิศนา แขมณี และคณะ. 2544. วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพวชิาการ, 2544. ลัดดา ศิลาน้อย, ธีรชัย เนตรถนอมศักดิ์, อังคณา ตุงคะสมติ และจรรยา บุญมปีระเสริฐ. “รูปแบบการบริหาร จัดการเพื่อพัฒนาวชิาชีพครูในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน” วารสารวิจัย มข. 16,3( มีนาคม 2554) : 13-14. วิชัย วงษ์ใหญ่. ทฤษฎีและการพัฒนาหลักสูตร. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสโุขทัยธรรมาธิราช, 2538. วัชรา เล่าเรียนดี. รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 7. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2554. ศรินทิพย์ รักษาสัตย์. การบูรณาการการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น : ภาควิชา การประถมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2545. ศิริชัย กาญจนวาสี. การวัดและประเมินความสามารถในการคิด : วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ : สถาบนัพัฒนาคุณภาพวิชาการ, 2544. สงัด อุทรานนัท์. พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มิตรสยาม, 2532.
สุริยา เหมตะศิลป. การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพในการพัฒนาหลักสูตรแบบมีฐาน มาจากระดับโรงเรียน สาหรับครูโรงเรียนมัธยมศึกษา. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดษุฎีบัณฑติ มหาวิทยาลยัศรีนครินทรวิโรฒิ, 2537. ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555 - 2559). กรุงเทพฯ : สหมิตรปริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง, 2555. ส านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. รายงานการวิจัยละพฒันารูปแบบการพฒันาครูและผบู้ริหารสถานศึกษา แบบใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนขนาดเล็ก ระยะที่ 1. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค, 2555. อัมพร ม้าคะนอง. แนวคิดและแนวปฏิบัติส าหรับครูมัธยมเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวทิยาลัย, 2544. Pamphilon, B. 2000. “ Flipping the Fish out of Water: the Role of the Educator in Development of Critical Thinking Skills ” How to Develop Thinking Skill. Bangkok: Chulalongkorn University. Paziotopoulos, A. and M. Kroll. “ Hooked on Thinking.” Journal of the Reading Teacher. 57,7(January 2004) : 672-677. Saylor Galen J., Alexander, Willium M., and Arther J Lewis. Curriculum Planning for Better Teaching and Learning. 4th ed. New York: Holt Rinchart and Winston, 1981. Taba, H. Curriculum Development: Theory and Practice. New York : Brace and World, 1962. Tyler, Raph W. Basic Principles of Curriculum and Instruction. Chicago: The University of Chicago, 1949