การพัฒนาตัวชี้วัดของสมรรถนะด้านการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของผู้เรียน

Main Article Content

สุนันทา พุฒพันธ์
สันติ วิจักขณาลัญฉ์
ชาญณรงค์ เฮียงราช

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดสมรรถนะด้านการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของผู้เรียน โดยการวิจัยนี้ได้แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนคือ ขั้นที่ 1 การศึกษาบรบิทของการจัดการเรียนการสอนการคิดแก้ปัญหา อย่างสร้างสรรค์และทฤษฎีเชื่อมโยงนิยม โดยมีกลุ่มเปูาหมายดังนี้ 1) ครูผู้สอน จ านวน 6 คน 2) นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนค้อวังวิทยาคม โรงเรียนบ้านน้ าอ้อม และโรงเรียนกุดน้ าใสจานบกน้อย จ านวน 107 คน ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงบรรยาย และขั้นที่ 2 จัดท าตัวชี้วัดสมรรถนะด้านการคิดแก้ปัญหา อย่างสร้างสรรค์ของผู้เรียน โดยมีกลุ่มเปูาหมายเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะ การคิดในวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการวัดและประเมินผล จ านวน 5 คน ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัย เชิงคุณภาพ จากการวิจัยพบว่าตัวชี้วัดสมรรถนะด้านการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของผู้เรียนมีดังนี้ 1) สามารถจ าแนก แยกแยะ และเชื่อมโยง องค์ประกอบย่อยของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ 2) สามารถสรุปประเด็นปัญหา ที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์ได้อย่างชัดเจน 3) สามารถระดมสมองเพื่อค้นหาแนวทางทางแก้ปัญหาที่แปลกใหม่ และหลากหลายแนวทางได้ 4) สามารถเปรียบเทียบและจ าแนกผลที่เกิดขึ้นได้จากแนวทางการแก้ปัญหาแบบต่างๆ เพื่อตัดสินใจเลือกแนวทางการแก้ปัญหาที่สอดคล้องกับสถานการณ์ที่ เกิดขึ้นได้ 5) สามารถวางแผนและออกแบบ การแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม 6) สามารถปฏิบัติตามแนวทางการแก้ปัญหาที่ได้ออกแบบไว้ มีการตรวจสอบ และบันทึกผลที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญญารัตน์ โคจร. การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้การคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เรื่องสารและสมบัติของ สาร ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ปริญญานพินธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลยั ศรีนครินทรวิโรฒ, 2554. ทิศนา แขมมณี และคณะ. วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ : สถาบนัพัฒนาคุณภาพวิชาการ, 2544. นพเรศวร์ ธรรมศรัณยกุล. การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนโดยประยุกต์รูปแบบ 4 ขั้นตอนของสเติร์นเบิร์ก เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานพินธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553. ภาวิณี บุญธิมา. การจัดกจิกรรมแนะแนวด้วยเทคนิคการคิดแก้ปัญหาอนาคตตามแนวคิดของทอร์แรนซ์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวทิยาลัยเชียงใหม่, 2553. ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : สุวีรียาสาสน์, 2543. สถาบนัส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. สมรรถนะการแก้ปัญหาส าหรับโลกวันพรุ่งนี้. กรุงเทพฯ : เซเว่นพริ้นติ้ง กรุ๊ป, 2549. สมเดช บุญประจักษ์. หลักการคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนคร, 2551.
132 วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
126 สำนักงานทดสอบทางการศึกษา. คู่มือประเมินสมรรถนะส าคัญของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตาม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขน้ัพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ส านักงาน พระพุทธศาสนาแห่งชาติ, 2555. Bloom, B. J. Ed. Taxonomy of Educational Objectives : Handbook/Cognitive 73 Domain. London : Longman, 1979. Osborn, A. F. Applied Imagination: Principles and Procedures of Creative Problem Solving. Charles Scribner’s Sons, 1979. Torrance E. Paul. Insights About Creative: Questioned, Reject, Ridiculed, Ignored. Educational Psychology Review, Vol.7, 1995.