คุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารสตรีในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในยุคดิจิทัล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะผู้นำที่เหมาะสมของผู้บริหารสตรีในการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล และเพื่อศึกษาคุณลักษณะผู้นำที่มีประสิทธิภาพของผู้บริหารสตรีในการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังคมในปัจจุบันเป็นสังคมที่มีความเท่าเทียมกันทางเพศ เพราะฉะนั้นผู้ที่จะมาเป็นผู้นำสามารถเป็นได้ทั้งผู้นำที่เป็นบุรุษและผู้นำที่เป็นสตรี โดยคุณลักษณะผู้นำที่เหมาะสมของผู้บริหารสตรี ควรมีลักษณะดังนี้ 1. คุณลักษณะทางกาย 2. ภูมิหลังทางสังคม 3. สติปัญญา 4. บุคลิกภาพ 5. ลักษณะที่เกี่ยวข้องกับงาน และ 6. ลักษณะต่างๆ ทางสังคม คุณลักษณะผู้นำที่มีประสิทธิภาพของผู้บริหารสตรี ควรมีดังต่อไปนี้ 1. สร้างความมั่นใจในการรับผิดชอบต่อหน้าที่การงานโดยตั้งใจทำงานอย่างจริงจัง 2. สู้และบากบั่นในการทำงาน เพื่อให้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายด้วยดี 3. รู้จักปรับปรุงตนเองเสมอ 4. ประเมินตนเองถึงระดับการศึกษา 5. หมั่นสำรวจความบกพร่องและพยายามแก้ไขด้วยตนเอง 6. เตรียมรับสถานการณ์ทำงานซึ่งประกอบด้วยกฎเกณฑ์และความยากลำบากนานาประการ 7. สร้างค่านิยมในการทำงานในด้านการให้ความสำคัญแก่สภาพทางสังคมเศรษฐกิจและมีอิสระในทางสร้างสรรค์ 8. อย่าทำงานแบบเอาแต่ใจของตนฝ่ายเดียว 9. เป็นผู้รู้จักวางแผนในการดำเนินชีวิตและเป็นผู้ที่สามารถปรับตนเองได้ทั้งในหน้าที่การงานและครอบครัว 10. สตรีควรจะปฏิรูปแนวความคิดแบบดั้งเดิมเสียใหม่ เพื่อความก้าวหน้าและเพื่อให้มีความรู้ ความสามารถอย่างเต็มที่ 11. ไม่ควรเปลี่ยนงานโดยปราศจากเหตุผล ไม่ยึดอารมณ์ตนเป็นสำคัญ มีความอดทนและอดกลั้นเพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้สตรีก้าวไปสู่ระดับผู้นำที่ดี
Article Details
References
เอกสารอ้างอิง
คุณวุฒิ คนฉลาด. (2540). การพัฒนาองค์กร. ชลบุรี. มหาวิทยาลัยบูรพา.
จิราพร แพน้อย. (2551). ภาวะผู้นา ผู้บริหารสตรีของโรงเรียนในสังกัดสา นักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 2. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธีระ รุญเจริญ. (2553). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : ข้าวฟ่าง.
เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2546). ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: เซ็นทรัลเอ็กซ์เพรส.
เบนนิส และวอร์เรน. (2545). คิดใหม่เพื่ออนาคต. แปลโดย ธันยวัชร์ ไชยตระกูล. พิมพ์ครั้ง ที่ 5. กรุงเทพฯ: นำอักษรการพิมพ์.
โยธิน นิลคช. (2561). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2018”.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา กรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุธิ์
สุรกิจ สิอิ้น. (2556). การศึกษาภาวะผู้นำ ผู้บริหารสตรีของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
เอกชัย กี่สุขพันธ์. “การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล”, โครงการสานพลังประชารัฐ, [ออนไลน์],แหล่งที่มา: http://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/52232/.html [19 มกราคม 2563]
Bass, Bernard M. and Bruce J. Avolio. (1990). Transformation Nation Leadership Development. Polo Alto, California: Consulting Psychologists Press.
Heller, Trudy. (1982). Women and Men as Leaders: in Business, Educational and Social Service Organizations. New York: Praeger.
House. Robert J., Delbeey, Ander, Taris, Toon : and De luque, & Mary Saly., (1993). Charismatic theory of Leadership : and Empirical Test of CEO’s.
Stogdill, R.M. (1974). Handbook of Leadership. New York: The Free Press.
Unger, Rhoda K. (1979). Female and Male: Psychological Perspectives. New York: Harper & Row.