การพัฒนาความรู้ความเข้าใจ และทักษะในการสร้างแบบสอบถาม โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน รายวิชาการทดสอบทางจิตวิทยาในวงการอุตสาหกรรม ของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สำนักวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

Main Article Content

กันย์ธนัญ สุชิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ และศึกษาความพึงพอใจ           ในการสร้างแบบสอบถาม โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน รายวิชาการทดสอบทางจิตวิทยาในวงการอุตสาหกรรม     ของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สำนักวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ประชากรที่ศึกษา ได้แก่นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการทดสอบทางจิตวิทยาในวงการอุตสาหกรรม 13 คน ในภาคการศึกษาที่       1/ 2562 เครื่องมือในการวิจัยคือ แบบวัดความรู้ ความเข้าใจ ความพึงพอใจ และแบบประเมินทักษะ          ซึ่งผลการวิจัย พบว่า นักศึกษาสนใจปัญหาหมอกควัน มากที่สุด และนักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะการสร้างแบบทดสอบ มากกว่าก่อนเรียน โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 73.5 ค่าเฉลี่ยทักษะในการสร้างแบบทดสอบเท่ากับ 3.75 ซึ่งทักษะทุกด้านอยู่ในระดับสูง และมีค่าเฉลี่ยก่อนการเรียนเท่ากับ 38 ค่าเฉลี่ยทักษะในการสร้างแบบทดสอบเท่ากับ 2.78 ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง นักศึกษาทั้งหมดมีคะแนนผ่านเกณฑ์คิดเป็น               100 เปอร์เซ็นต์ และนักศึกษามีความพึงพอใจในทุกๆด้านอยู่ในระดับสูง และมีความพึงพอใจโดยรวมเฉลี่ยเท่ากับ 4 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.80

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลฉัตร กล่อมอิ่ม. “การจัดการเรียนรู้แบบการใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning):
รายวิชาการออกแบบและพัฒนาหลักสูตร สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู”. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 11, 2(พฤษภาคม-สิงหาคม 2560): 179-192.
กรมควบคุมมลพิษ. มลพิษหมอกควันในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2562.
กรมวิชาการ. การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรูตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, 2545.
จิตติมา อัครฐิติพงศ์. ความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของนักศึกษาภาคปกติ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี 4 ปีสาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ประจำปีการศึกษา 2/2552. อยุธยา; สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏอยุธยา, 2553.
ซาฟีน่า หลักแหล่ง. ผลของการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมูลนิธิอาซิซสถาน จังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 2552.
เยาวลักษณ์ งามแสนโรจน์. ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียน วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. ลำปาง: มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. 2552.
รัตติกรณ์ จงวิศาล. การทดสอบทางจิตวิทยาในวงการอุตสาหกรรม. เอกสารประกอบการสอน.กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2554.
ไพศาล สุวรรณน้อย. การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. เอกสารประกอบการสอน.ขอนแก่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2558.
เลิศชาย ปานมุข. การเรียนการสอนโดยให้นักศึกษาเป็นศูนย์กลาง. (ออนไลน์) 2551 (อ้างเมื่อ 9 พฤษภาคม 2562) จาก http://www.banpraknfe.com/webboard/index.php?topic=21.0
วิชุดา วงศ์เจริญ. การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคโนโลยีเสมือนจริง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ และทักษะการคิดแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2560.
ศูนย์พัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. (ออนไลน์) 2556. (อ้างเมื่อ 9 พฤษภาคม 2562) จาก Available: http://dcil.Kbu.ac.th.
สุภาวดี ดอนเมือง. ประสิทธิผลการเรียนการสอนแบบใชปญหาเปนหลักวิชาเคหะพยาบาลของนักศึกษาชั้นปที่ 1 โรงเรียนอายุรเวท จังหวัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล, 2554.
สุรางค์ โค้วตระกูล. จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545.