The การสังเคราะห์งานวิจัยหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาสังคม สำนักวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

Main Article Content

ธนพัทธ์ จันท์พิพัฒน์พงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสังเคราะห์งานวิจัยหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาสังคม สำนักวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ประชากรคือรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ จำนวน 113 เรื่อง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปและคุณลักษณะงานวิจัย และแบบประเมินคุณภาพงานวิจัยที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย
โดยผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะทั่วไปของงานวิจัยส่วนใหญ่ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2560 มีประเด็นวิจัยในกลุ่มจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กรมากที่สุด และมีจำนวนหน้าพิมพ์ส่วนใหญ่มีน้อยกว่า 100 หน้า 2) ลักษณะงานวิจัยด้านเนื้อหาสาระส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาระดับ เปรียบเทียบและหาความสัมพันธ์ของตัวแปร มีการใช้แนวคิดทฤษฎีในการสร้างกรอบแนวคิดการวิจัย แต่ส่วนมากตั้งสมมติฐานแบบไม่มีทิศทาง และมีการใช้การอ้างอิงจากเอกสารภาษาไทยมากกว่าภาษาอังกฤษ 3) ลักษณะงานวิจัยด้านวิธีวิจัย ส่วนมากเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ที่ทั้งตัวแปรต้นและตัวแปรตามส่วนมากมี 1-3 ตัวแปร สำหรับกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นวัยทำงาน จำนวน 101-200 คน และมักใช้การเลือกแบบเฉพาะเจาะจง/ตามสะดวก เครื่องมือวิจัยส่วนใหญ่เป็นแบบวัด/แบบสอบถามที่มีการตรวจสอบความตรง มีการทดลองใช้เครื่องมือ มีการหาค่าความเชื่อมั่น แต่ไม่ค่อยมีการหาค่าอำนาจจำแนก ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลมีการใช้สถิติทั้งพรรณนาและอนุมานร่วมกันโดยส่วนใหญ่ใช้ t-test และ 4) คุณภาพของงานวิจัยส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง รองลงมาคือระดับปรับปรุง และระดับดี ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ดุจเดือน พันธุมนาวิน. หลักและวิธีการประมวลเอกสารเพื่อความเป็นเลิศในการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ บริษัท เอ.ที พริ้นติ้ง จำกัด. 2551.
ชนกนารถ บุญวัฒนะกุล และคณะ. “การสังเคราะห์งานวิจัยของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา แขนงวิชาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,” วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. 10, 2(กรกฎาคม-ธันวาคม 2560): 152-163.
ชณิชา เพชรปฐมชล, พงศ์เทพ จิระโร และสมศักดิ์ ลิลา. “การสังเคราะห์งานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อกำหนดมโนทัศน์และกลยุทธ์ส่งเสริมการทำวิจัย,” วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 10, 1(มกราคม-มิถุนายน 2561): 59-79.
ฐิติภรณ์ เกษศิริ และมนัสนันท์ หัตถศักดิ์. “การสังเคราะห์การศึกษาค้นคว้าอิสระ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระหว่างปี พ.ศ. 2554-2558,” วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 11, 3(กันยายน-ธันวาคม 2560): 202-220.
ณัฐปวีย์ บรรยงศิวกุล และจีราวิชช์ เผือกพันธ์. “การสังเคราะห์งานวิจัย หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน กลุ่มวิชาเฉพาะการสอนสุขศึกษาและพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น,” วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยของแก่น. 10, 4(ตุลาคม-ธันวาคม 2559): 48-54.
ณัฐพิพัฒน์ ยอดเทียม และสุนทรา โตบัว. “การสังเคราะห์งานวิจัยเชิงประเมินของวิทยานิพนธ์สาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและประเมินทางการศึกษา,” วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. 12, 27(มกราคม-เมษายน 2561): 70-78.
ปราณี พิพัฒน์สถิตกุล. การสังเคราะห์งานวิจัยด้านนวัตกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน: การวิเคราะห์อภิมาน. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการวิจัยและพัฒนาศักยภาพมนุษย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2556.
ปรีดา เพ็ญคาร และคณะ. “ปัจจัยที่สัมพันธ์กับจิตลักษณะและพฤติกรรม: การสังเคราะห์ปริญญานิพนธ์ของสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,” วารสารพฤติกรรมศาสตร์. 11, 1(กันยายน 2548): 121-144.
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาสังคม หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561. ข้อมูลทั่วไปของหลักสูตร. สำนักวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 2561.