การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การบริหารงานของผู้นำองค์กรในสมัยก่อนเทคโนโลยียังไม่ได้เข้ามามีบทบาทในการทำงานมากนัก การบริหารจึงเป็นไปตามระเบียบแบบแผนมีการปรับเปลี่ยนนโยบายที่ช้าไม่กล้าที่จะเปลี่ยนแปลงเพราะติดอยู่กับรูปแบบการบริหารและความสำเร็จเดิมที่เคยมี ผู้นำสมัยก่อนจะมีการวางแผนและนโยบายระยะยาวแต่เนื่องด้วยปัจจุบันที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้นทำให้ผู้นำในองค์กรต้องเกิดการเปลี่ยนแปลง เมื่อก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงที่ทุกองค์กรให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีจึงทำให้เกิดการแข่งขัน ผู้นำจึงควรให้ความสำคัญกับกระบวนการพัฒนาบุคลากรให้สามารถเรียนรู้เข้าใจ สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในระดับพื้นฐานได้ พร้อมทั้งปรับปรุงกฎระเบียบให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป รวมทั้งให้ความสำคัญกับการสร้างประสบการณ์ให้กับบุคลากรเพื่อสร้างความผูกพันและดึงคนเก่ง คนรุ่นดิจิทัลให้เข้ามาในองค์กร เมื่อมีการพัฒนาด้านบุคลากร งานต่าง ๆ ในสถานศึกษาก็จะได้รับการพัฒนาไปด้วยเช่นกัน หนึ่งในนั้นคืองานวิชาการ หลักการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในการบริหารงานวิชาการสรุปได้ดังนี้ ผู้บริหารควรที่จะอัพเดทความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีดิจิทัลอยู่ตลอดเวลา มีการปรับตัวให้พร้อมสำหรับโลกแห่งข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลระบบ Big Data ผู้นำควรเปิดใจรับฟังความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะความคิดเห็นด้านเทคโนโลยีเพราะจะช่วยสร้างความสัมพันธ์กับบุคลากรที่เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาได้ดี การเป็นที่ปรึกษาในด้านเทคโนโลยี จะทำให้ช่วยเพิ่มศักยภาพในการบริหารงานที่ดีขึ้นได้ ท้ายที่สุดผู้นำที่รู้หลายภาษาในยุคนี้จึงย่อมได้เปรียบ การบริหารงานวิชาการแต่เดิมอาจมีการทำงานในภาษาเดียวมาโดยตลอด ในยุคนี้การนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในการบริหารงาน อาจทำให้ต้องปรับเปลี่ยนการทำงานให้มีหลากหลายภาษามากยิ่งขึ้น สถานศึกษาก็จะถูกมองว่าเป็นองค์กรที่มีความน่าเชื่อถือและได้รับความไว้วางใจมากขึ้นอีกด้วย
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.
กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
กัมพล เกศสาลี. (2561). การรู้ดิจิทัลในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. ขอนแก่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สืบค้น
จาก file:///C:/Users/User/Downloads/105148-Article%20Text-435265-2-10-
%20(3).pdf
จิณณวัตร ปะโคทัง. (2561). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัล สำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ.
อุบลราชธานี : ศิริธรรมออฟเซ็ท, 2561. 306 หน้า
รุจิร์ ภู่สาระ และจันทรานี สงวนนาม. (2545). การบริหารหลักสูตรในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : บุ๊คพอยท์.
สมาน อัศวภูมิ. (2560, เมษายน-มิถุนายน). การศึกษาไทย 4.0 : แนวคิดและทิศทางใหม่ในการจัด
การศึกษาไทย. ราชธานีนวัตกรรมทางสังคมศาสตร์. 1(1), 1-11. สืบค้นจาก
http://journals.rtu.ac.th/file/JRISS_VOL1.pdf
สมบูรณ์ บูรศิริรักษ์. (2560, กรกฎาคม-ธันวาคม.) ทักษะสำหรับโลกอนาคต. วารสารบริหารการศึกษา มศว.
(27), 1-4. สืบค้นจาก https://core.ac.uk/download/pdf/228522380.pdf
สมโภชน์ นพคุณ. การบริหารงานสู่ความเป็นเลิศ. ข่าวนักบริหาร, 2558.
อภิญญา รัตนโกเมศ. (2552). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยาย
โอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 3. วารสารศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Statista Inc. Number of monthly active Facebook users worldwide as of 4th quarter
สืบค้นเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2564 จาก
https://www.statista.com/statistics/264810/number-of-monthly-active-facebook-
users-worldwide/
Tada Ratchagit. การเป็นผู้นำที่ดีในยุคดิจิตอล (How to be a good leader in Digital Age).
สืบค้นเมื่อ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2564 จาก https://th.hrnote.asia/personnel-
management/190826-good-leader-digital-age/