การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา

Main Article Content

ศดานันท์ กันทะมา
นเรศ ขันธะรี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


          การดำเนินงานของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา มีความสำคัญต่อนักเรียนเป็นอย่างมาก เนื่องจากบริบทของนักเรียนมีความจำเป็นที่จะต้องมีการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีคุณภาพ ทั้งในด้านของการส่งเสริมหรือแก้ปัญหาในด้านต่าง ๆ ที่อาจเกิดจากตัวผู้เรียน หรือเกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอก โรงเรียนไม่ได้มีหน้าที่เพียงเป็นสถานที่ให้ความรู้แก่นักเรียน แต่เป็นสถานที่ที่บ่มเพาะทั้งด้านความรู้และทักษะชีวิต ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนจึงมีส่วนสำคัญในการดูแลนักเรียนอย่างเป็นระบบ ส่งเสริมในส่วนที่ดี ป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น และแก้ไขในส่วนที่เป็นปัญหา เพื่อให้นักเรียนกลับเข้าสู่สภาวะปกติ โดยบทความนี้ได้นำเสนอถึง ความหมาย ความสำคัญ แนวคิด วัตถุประสงค์ ประโยชน์ ขอบข่ายของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน กระบวนการและขั้นตอนการดำเนินงาน บทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน รวมถึงแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ให้นักเรียน ครูที่ปรึกษา ครูประจำชั้นหรือผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าใจถึงความสำคัญในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ที่ต้องดำเนินการโดยอาศัยความร่วมมือของทุกฝ่าย ตามบริบทและความต้องการของนักเรียนอย่างแท้จริง และเพิ่มศักยภาพในการดำเนินชีวิตของนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ให้เป็นผู้ที่มีคุณภาพตามที่ตัวนักเรียนและสังคมมุ่งหวังต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, 2559.
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : เดอะบุ๊คส์, 2553.
จุติกรณ์ นิสสัย. การศึกษาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านหนองปรือ
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 2558.
ดาวรุ่ง มุกดากิจ. การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองแซง อำเภอท่าคันโท
จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยการใช้หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม, 2554.
วิชาการและมาตรฐานการศึกษา, สำนัก. เรียนรู้บูรณาการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2547.
ศรีเรือน แก้วกังวาล. จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย เล่ม1, แนวคิดเชิงทฤษฎี-วัยเด็กตอนกลาง.
กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2553.
สุขภาพจิต, กรม. คู่มือครูที่ปรึกษาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : กรมสุขภาพจิต,
2547.
อัจฉราภรณ์ ปรางโท้. แนวทางการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาส
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัญฑิต
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 2561.
Adler, A. Social Interest: A Challenge to Mankind. 2nd ed. Eastford: Martino FINE Books.
2011.
Patrikakou, E. “Relationships among parents, students, and teachers: The technology
wild card,” Joumal of Procedia - Social and Behavioral Sciences. 174 (12 February
2015): 2253 – 2258.