การบริหารจัดการกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษา

Main Article Content

ศุภโชค สาระบุตร

บทคัดย่อ

      กลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาเป็นองค์กรตามระเบียบของเขตพื้นที่การศึกษาว่าด้วยการจัดกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสังกัดขึ้น เพื่อส่งเสริม สนับสนุน ให้การบริหารจัดการศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวง ศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยรวมให้สูงยิ่งขึ้น โดยกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาเป็นการรวมตัวของสถานศึกษาหลายๆแห่ง มารวมตัวกัน เพื่อจุดมุ่งหมายในพัฒนาสถานศึกษาในรูปแบบของความร่วมมือ โดยมี เป้าหมายวัตถุประสงค์ร่วมกัน มีคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมาย โดยอาศัยความร่วมมือภายในกลุ่มเครือข่าย จากสถานศึกษาขนาดเล็ก กลายเป็นหน่วยงานขนาดใหญ่ซึ่งจะทำให้การทำงานในภาพรวมมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น มีลักษณะคือกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษามีการทำงานร่วมกันทั้งในด้านวิชาการ งบประมาณ บุคคล และทั่วไปโดยอาศัยประโยชน์ส่วนรวมที่จะเกิดขึ้นกับสมาชิกในกลุ่มเครือข่าย ซึ่งจะมีคณะกรรมการกลุ่มเครือข่ายขึ้นมาเพื่อบริหารงาน คณะกรรมการประกอบด้วย ประธาน รองประธาน คณะกรรมการกลุ่ม และเลขานุการกลุ่มเครือข่าย ได้มาโดยการคัดเลือกจากสถานศึกษาในกลุ่มเครือข่าย องค์ประกอบของกลุ่มเครือข่ายซึ่งจัดตั้งโดยระเบียบของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาต้องมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน มุมมองร่วมกัน ผลประโยชน์ร่วมกัน จากนั้นจึงจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อเป็นตัวแทนในการบริหารจัดการกิจการในกลุ่มสมาชิก และประสานงานร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่ ซึ่งคณะกรรมการกลุ่มได้มาจากการคัดเลือกภายในกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษานั้น

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

รศ.ดร.ชูศักดิ์ เอกเพชร .(2562). การบริหารจัดการกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษา. http://graduate.sru.ac.th/wp-content/uploads/2018/06/Educational-Network-
Management.pdf. สืบค้นออนไลน์ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2564.
ทนันเดช ยงค์กมล. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายสถานศึกษา ของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ . มหาวิทยาลัยพะเยา .ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา.
บุญเรียง สิทธิ์ทองสี. (2557). รูปแบบการบริหารงานกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร. สำนักหอสมุด.
ไพรสณฑ์ มะโนยานะ. (2556). คู่มือการใช้รูปแบบเครือข่ายกลุ่มโรงเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2. แพร่ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2
รัตนา เชาว์ปรีชา. (2553). การพัฒนาระบบบริหารเครือข่ายสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวคิดการบริการแบบมุ่ง ผลสัมฤทธิ์. กรุงเทพฯ : สาขาวิชาการบริหารหารศึกษา ภาควิชา นโยบาย การจัดการและการเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครูศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิชัย แสงศรี. (2552). การศึกษาวิเคราะห์และพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายสถานศึกษาในเขตพื้นที่ชนบทภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสมอ สุวรรณโค. (2558). รูปแบบเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านวิชาการของโรงเรียน ระดับประถมศึกษา. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ : ปี ที่ 16 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2558
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. (2557). ระเบียบสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 ว่าด้วยกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2557. อุบลราชธานี : สพป.อุบลราชธานี เขต 5.