การนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่กรศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๙ การนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา

Main Article Content

ธวัชชัย โพธิ์ศรี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


          หลักธรรมาภิบาลเริ่มเข้ามาเป็นประเด็นทางการเมืองและสังคมไทยตั้งแต่ ปี พ.ศ.2540 ในช่วงที่ประเทศไทยอยู่ระหว่างการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 โดยมีการวางระบบบริหารบ้านเมืองให้เป็นประชาธิปไตย เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมมากขึ้น ต่อมาได้มีระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ.2542 กำหนดให้ทุกหน่วยงานของรัฐ ดาเนินการบริหารจัดการโดยยึดหลักธรรมาภิบาล 6 หลัก ต่อมามีการตราพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ประกอบด้วยหลักธรรมาภิบาล 10 หลัก และต่อมาสานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ได้จัดกลุ่มหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีใหม่ 4 หลักการสำคัญ และ 10 หลักการย่อย ซึ่งคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2555 ได้ มีมติเห็นชอบ ประกอบด้วย 1) การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ ได้แก่ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และการตอบสนอง 2) ค่านิยมประชาธิปไตย ได้แก่ ภาระรับผิดชอบ เปิดเผย/โปร่งใส หลักนิติธรรม และความเสมอภาค 3) ประชารัฐ ได้แก่ การมีส่วนร่วม/ การพยายามแสวงหาฉันทามติ และการกระจายอำนาจ 4) ความรับผิดชอบทางการบริหาร ได้แก่ คุณธรรม/จริยธรรมผู้บริหารทุกคนต้องเป็นผู้มีความรู้หรือมีศาสตร์ทางการบริหาร และมีความสามารถในการที่จะประยุกต์ศาสตร์เหล่านั้นไปปฏิบัติได้อย่างมีศิลป์ การนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในการบริหารสถานศึกษาให้ประสบความสำเร็จนั้น สถานศึกษาต้องมีกระบวนการพัฒนาวัฒนธรรมองค์การสู่วัฒนธรรมธรรมาภิบาล 3 ขั้นตอน คือ สร้างวัฒนธรรมองค์การ พัฒนาวัฒนธรรมองค์การ และธำรงรักษาวัฒนธรรมองค์การ ทั้งนี้ต้องมีการพัฒนาผู้เกี่ยวข้องในสถานศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถ และทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติงานตามขอบข่ายของงานบริหารสถานศึกษา และการปฏิบัติตนตามหลักธรรมาภิบาล โดยผู้บริหารสถานศึกษา ปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ จึงจะส่งผลให้การบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักธรรมาภิบาลเป็นฐาน เป็นฟันเฟืองยึดเหนี่ยวซึ่งกันและกันอย่างมั่นคงตลอดไป


 


คำสำคัญ : การบริหารสถานศึกษา,หลักธรรมาภิบาล

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เอกสารอ้างอิง

จุฑารัน์สีสูงเนิน. (ออนไลน์) https://sites.google.com/site/aujutaratsisungnone/neuxha/bth-thi-5-hlak-thr-rmaphi-bal-ni-xngkhkr สืบค้นเมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔
ฉวีวรรณ โฉมอุทัย. กระบวนการปฏิบัติงานที่นาไปสู่การได้รับรางวัลธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วน ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง. รายงานการศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่นมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2552.
นฤมล ทับจุมพล. ความหมายของธรรมาภิบาล, หน้า 15-31, 2541
พระปลัดไพรวัลย์ ชาคโร (ศรีเมือง). การบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียน ประถมศึกษา สำนักการศึกษา สำนักงานเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร, วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธ ศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๘
"พระราชกฤษฎีการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546", ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120, ตอนที่ 100 ก ( 9 ตุลาคม 2546), 2.
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542
ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2556 กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา, 2556
สถาบันพระปกเกล้า. ความหมายของธรรมาภิบาล, 2544 : 7
.สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.), คู่มือการปฏิบัติงำนขององค์การมหาชนตามแนว ทางการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี(กรุงเทพฯ: สหพัฒนการพิมพ์, 2548), 12-13.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ ๑๐, ๒๕๕๐ – ๒๕๕๔
เสน่ห์ จุ้ยโต. มิติใหม่การบริหารธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ทฤษฎีและงานวิจัย. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
อำนาจ ธีระวนิช. การจัดการยุคใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัทมาเธอร์บอสแพคเก็จจิ้ง, 2553